การประกันคุณภาพการศึกษา


คุณภาพการศึกษา

แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

เพื่อให้ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความยั่งยืน ทำให้สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา กฎกระทรวงยังกำหนดให้สำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุก ๓ ปี   และรายงานผลให้สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดทราบ แนวคิดพื้นฐานของการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา มีประเด็นสำคัญ ๕ - ๖ ประการ คือ 

) เพื่อช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนางานสู่มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  

) เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างยั่งยืน 

) เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาแสดงความรับผิดชอบการจัดการศึกษาต่อสาธารณะ ด้วยการรายงานผลความสำเร็จและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานทุกปี 

) เพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  

) เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งพร้อมรับการประเมินภายนอก 

) เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษามีข้อมูลสารสนเทศในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตจากการวิเคราะห์จุดเด่นจุดควรพัฒนา และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ด้วยยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า การประเมินคุณภาพเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นและการดำเนินงานบางเรื่อง เช่นการจัดระบบสารสนเทศ  การจัดทำรายงานคุณภาพประจำปี ยังต้องมีการพัฒนาอีก  จึงมีการทบทวนทำความเข้าใจ ในด้านความสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา หลักการ กระบวนการ การดำเนินการของสถานศึกษา และบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

                ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องสร้างจิตสำนึกในการพัฒนา ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และทำให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

                ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนควรเร่งพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน ที่ 4  (การคิด)  มาตรฐานที่ 5 (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) และมาตรฐานที่ 6 (นิสัยรักการอ่าน)  มีตัวอย่างกิจกรรม ให้ส่งรายงานคุณภาพประจำปีต่อเขตพื้นที่การศึกษา ภายในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

การสร้างความมั่นใจซึ่งเป็นแกนหลักของการประกันคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบ

สำคัญหลายประการอันได้แก่

1.  การวางแผนป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นของการออกแบบการกำกับดูแล ตรวจสอบและทบทวนเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในทุกขั้นตอนของการผลิตซึ่งต่างจากรูปแบบการประเมินแบบเก่าที่เน้นการตรวจจับเมื่อปัญหาสำคัญในขั้นผลผลิต ได้เกิดขึ้นแล้ว

2.  การนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยอันได้แก่รูปแบบ กรรมวิธี และ เทคนิควิธี

ที่เป็นนวัตกรรมที่มีหลักฐานทางทฤษฎีและผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือรองรับไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอน ต่างๆในกระบวนการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่า การดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ทั้งระบบจะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน่าไว้วางใจ และจะมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในวงจำกัดที่น้อยที่สุด

                ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตลอดจนเตรียมการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก คือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา   (...) โดยยึดหลักการดำเนินงานตามวงจรของเดมมิ่ง ได้แก่ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน (Check) และการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (Action)

การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1.   ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

2.   ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

3.   ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง  ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา

1.       ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

2.               ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

3.       ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

4.               กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ 

และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

5.       หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

 ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

6.       ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะ

ช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป

ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. คู่มือการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา . http://www.bv.ac.th/joomla/images/25510320dongpan.doc.

ดร.  เฉลิม  ฟักอ่อน.  แนวคิดการดำเนินการประกันคุณภาพศึกษาของสถานศึกษา.  วารสารวิชาการ  หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา  เขตการศึกษา 8. http://www.nitesonline.net/warasan/10_chalearm.doc.

นางสาวสุภาวดี  ตรีรัตน์. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา.  http://academic.obec.go.th/quality(Aom)/article/supavadee.doc

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542.

รุ่ง  แก้วแดง. ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช จำกัด 2544

 

 

หมายเลขบันทึก: 245098เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท