สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา


การใช้เทคโนโลยีเพี่อพัฒนาการศึกษา

บทความ

สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา

ข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนการตัดสินใจดำเนินการ  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ไม่ว่างานนั้นจะปฏิบัติภาครัฐหรือเอกชน  งานธุรกิจหรืองานสงเคราะห์  แม้แต่งานส่วนตัว  ข้อมูลสารสนเทศมีส่วนช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล  ในทางตรงกันข้าม  หากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้บริหารไม่สนใจนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ  การปฏิบัติงานจะไม่แตกต่างจากการลองถูกลองผิดและต้องเสี่ยงต่อความผิดพลาดสูง  ในบางเรื่องที่มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ในวงจำกัดความเสียหายจะไม่รุนแรง  แต่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมาก ความเสียหายต่อสังคม และต่อประเทศชาติที่เกิดขึ้นจะขยายวงกว้างขึ้นด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.  2541 : 2)  การจัดการสารสนเทศ เป็นลักษณะที่พบเห็นทั่วไปในแวดวงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและจัดการด้านต่าง ๆ โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าการจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงาน โดยเฉพาะสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบันทึก จดหมายโต้ตอบ รายงาน เทปบันทึกการประชุม วีดีทัศน์ประกอบการนำเสนอ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลบัญชี แบบฟอร์มการลา ฯลฯ โดยสารสนเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างยิ่ง  ระบบสารสนเทศในองค์กรหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นของระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2549 : 25)

วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

                      1.  เพื่อแสดงความรับผิดชอบในผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นปีการศึกษา

                      2.  เพื่อให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป

                      3.  เพื่อให้สถานศึกษามีข้อมูลสารสนเทศ  เตรียมความพร้อมรอรับการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

ในส่วนของสถานศึกษา การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและโปร่งใส  สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้ผู้บริหารพร้อมคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ประกอบด้วย

(1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

(2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

(3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

(4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

 โดยระบบสารสนเทศแต่ละระบบเหล่านี้มีรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้

1.  ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา   ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของ ชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น รายงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา  กิจกรรมประจำวันของสถานศึกษา  ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา  เป็นต้น โดยมีตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา  ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียน  แนวทางการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการนักเรียน เป็นต้น  โดยปรากฎเป็น

 1.1    ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

1.2        สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างการบริหารและภารกิจ

1.3        ศักยภาพของสถานศึกษา

1.4        ความต้องการของสถานศึกษา

1.5       ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียน

1.6        แนวทางการจัดการศึกษา

1.7       การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา / คณะกรรมการนักเรียน

2.  ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน  ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน จำแนกเป็นรายชั้น รายปี ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน รายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน  รายงานความประพฤติ / พฤติกรรมผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคนิคการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น โดยปรากฎเป็น

2.1       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

2.2       คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

2.3       ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน

2.4       รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน/การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและการประเมิน ผลการพัฒนากิจกรรมแนะแนวและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น  การมีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน/การจัดประสบการณ์การเรียนรู้  การวัดและการประเมินผลการเรียน บรรยากาศการเรียนการสอน/การจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ความหลากหลายในวิธีการและการใช้เครื่องมือประเมิน การจัดบริการแนะแนว  ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน  การจัดทำสาระท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนใช้มากที่สุด แต่ยังขาดการพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้รักการอ่านอย่างมีชีวิตชีวา มีความสุข สะดวก และพัฒนาสุนทรียภาพ เป็นต้น โดยปรากฎเป็น

                              3.1  หลักสูตรและการเรียนการสอน/การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

                          3.2  การวัดและการประเมินผลการเรียน

                          3.3  การพัฒนากิจกรรมแนะแนว

                          3.4  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                          3.5  การวิจัยในชั้นเรียน

 4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น งานธุรการ  การเงิน  งานบุคลากร  งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก งานอาคารสถานที่  สภาพการบริหารและการจัดการ ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา เป็นต้น โดยปรากฎเป็น

4.1    สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้

4.2     ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก

4.3     การพัฒนาบุคลากร

4.4     ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

4.5     สารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนา

                      รายละเอียดสารสนเทศที่จำเป็นและข้อมูลที่ต้องการ เอกสารหลักฐาน ดังนี้

 

ขอบข่ายภารกิจ

ตัวบ่งชี้

เอกสาร/ หลักฐาน/สารสนเทศ

สารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป

 

1. ประวัติ ที่ตั้ง ขนาด จำนวนพื้นที่ ลักษณะการจัดตั้ง ระดับการศึกษาที่เปิดสอน  เขตบริการ

2. จำนวนนักเรียน จำแนกตามระดับชั้น

3. จำนวนครู/บุคลากร จำแนกตาม เพศ วุฒิ ความสามารถพิเศษ

4. จำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ

5. อัตราการย้ายเข้า-ย้ายออกของนักเรียน

6. ความเชื่อ / ปรัชญา / คำขวัญ / คติพจน์

7. อื่น ๆ

- สมุดหมายเหตุรายวัน

- ประวัติโรงเรียน/ชุมชน

- สถิติจำนวนนักเรียน

- สถิติจำนวนบุคลากร

- แผนการใช้อาคารสถานที่

- สถิติอัตราการเลื่อนไหลของนักเรียน

- ป้ายคำขวัญ

 

2.ศักยภาพของสถานศึกษา

1. จุดเด่น / ความเข้มแข็งของสถานศึกษา

2. จุดด้อย / ข้อจำกัดของสถานศึกษา

3. โอกาส / ปัจจัยเอื้อในการพัฒนาสถานศึกษา

4. ความสำเร็จ / ความภาคภูมิใจของสถานศึกษา

- ตารางวิเคราะห์สภาพโรงเรียน

- แบบสอบถาม

- แบบสำรวจ

- แบบสัมภาษณ์

3. ความต้องการของชุมชน

1. ความต้องการด้านอาชีพ

2. ความต้องการด้านการมีงานทำ

3. ความต้องการการศึกษาต่อ

ความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

- ตารางวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน

- แบบสอบถาม

- แบบสำรวจ

4. แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น

 

1. สภาพเศรษฐกิจชุมชนและผู้ปกครอง (จปฐ.) (รายได้ การมีงานทำ อาชีพ)

2. สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน (ความเชื่อ ประเพณี และการนับถือศาสนา)

3. สภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

4. จำนวนประชากรในเขตบริการ

(ก่อนวัยเรียน  วัยเรียน  วัยทำงาน  วัยสูงอายุ)<

หมายเลขบันทึก: 245091เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท