การจัดการความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา


การจัดการความร้ในสถานศึกษา

จากการที่ศึกษาสาเหตุและปัญหาของการประเมินภายนอกพบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  เพราะฉะนั้นจะต้องมีการจัดการความรู้ภายในสถานศึกษา      ซึ่งผู้บริหารได้รับรู้ปัญหาแล้วว่ายังมีครูและ บุคลการทางการศึกษายังไม่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  ซึ่งความรู้ดังกล่าวจัดเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง  ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้  โดยผ่านวิธีการต่างๆ  เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  ทฤษฎี  คู่มือต่างๆ  และบางครั้งเรียกว่า  ความรู้เป็นรูปธรรม  ซึ่งการจัดการความรู้ในเรื่องการประกันคุณภาพภายในกระทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับความรู้  โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้  (Knowledge     ซึ่งการจัดการความรู้  หมายถึง  การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาจัดระบบให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองเป็นผู้รู้  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงานและองค์กร  โดยที่ความรู้มี  2ประเภทคือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

        2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1.  การบ่งชี้ความรู้  เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา  เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง     อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร  โดยการทำ  KM  Model  ดังนี้

KM  Model

รู้อะไร

ไม่รู้อะไร

รู้ว่า

Know  Area

“Explicit  Knowledge”

Unknow  Area

ไม่รู้ว่า

Hidden  Area

“Tacit  Knowledge”

Blind  Area

                           จาก  KM  Model  จะทำให้เราทราบเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  คือ

    รู้ว่ารู้อะไร  ซึ่งเป็นการรู้ว่าเรามีความรู้/ทักษะใดบ้างเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

    รู้ว่าไม่รู้อะไรบ้าง  ความรู้/ทักษะใดบ้างที่เรายังไม่มีเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

2.       เมื่อเรารู้ว่ารู้อะไร  และรู้ว่าเราไม่รู้อะไร  เราก็ดำเนินการสร้างและแสวงหาความรู้  เช่นการสร้างความรู้ใหม่  แสวงหาความรู้จากภายนอก  รักษาความรู้เก่า  และกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว  ในขั้นนี้เราสามารถใช้การแสวงหาความรู้จากภายนอกได้หลายวิธี  เช่น  การจัดอบรม  สัมมนา  โดยเชิงวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถมาบรรยายหรืออบรม/อบรมเชิงปฏิบัติการ  การศึกษาดูงานจากสถานศึกษาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจากการประเมินคุณภาพการศึกษา  เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาและบูรณาการให้เข้ากับความรู้ที่เรามีอยู่

3.  การจัดความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นระบบ  เพื่อเป็นการวางโครงสร้างความรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา  เช่น ปรับปรุงรูปแบบ

เอกสารการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานและตัวชี้วัดให้เป็นมาตรฐานและมีความสมบูรณ์

5.  การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่าย   และสะดวก  เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์  โดยสถานศึกษาอาจจัดระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ดังนี้ 1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา  2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน  3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ  และ  4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  เป็นต้น

6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ภายในสถานศึกษา ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เช่น  สมุดหน้าเหลืองผู้เชี่ยวชาญ    คลังความรู้ทาง Internet   กรณีเป็น Tacit Knowledge  จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม   ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง(Coaching)  การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นต้น

7.  การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้   เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่   และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

การจัดการความรู้ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดจำเป็นต้องเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย  ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ยกระดับความรู้ร่วมกัน  โดยใช้ทั้งจากคลังความรู้ภายในและความรู้จากภายนอกผ่านกระบวนการค้นคว้า  เลือกสรร  จัดเก็บ  จัดระบบ  และปรับปรุงให้เข้ากับความต้องการขององค์กรเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ซึ่งต้องอาศัย  2P 2T  คือ  คน (People)  กระบวนการ (Process)   เครื่องมือ (Tool)   และเทคโนโลยี (Technology)

 

 

หมายเลขบันทึก: 245062เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท