การจัดการความรู้สู่การปฎิบัต


การจัดการความรู้ในองค์กร

บทความทางวิชาการ

การจัดการความรู้สู่การปฎิบัติ

   โดย   สถิตย์   ทองวิจิตร    5146701047

การจัดการความรู้ในองค์กร   หมายถึง   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด   โดยที่ความรู้มี  2 ประเภท คือ

1 ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน  (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์  พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ   เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย  เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง  จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2 ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้  โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

            แนวคิดการจัดทำแผนการจัดการความรู้  (Knowledge Management Action Plan)      ได้นำแนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)  และกระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง  (Change Management Process)   มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการความรู้  (KM Action Plan)

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1)     การบ่งชี้ความรู้เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร

2)     การสร้างและแสวงหาความรู้เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3)     การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4)     การประมวลและกลั่นกรองความรู้เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5)     การเข้าถึงความรู้เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6)     การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7)     การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามในการปฎิบัติการจริงๆในสถานศึกษาควรต้องคำนึงถึง ภารกิจของสถานศึกษาและเนื้อหาของงาน                                                 การจัดระบบสารสนเทศ    ควรมุ่งไปเพื่อการปฎิบัติมากกว้าการมีไว้ให้นายตรวจ    ระบบสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับสถานศึกษาทุกขนาดอย่างน้อยควรมีดังนี้

   1  ระบบสารสนเทศขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา เช่น รายงานการรับเด็กเข้าเรียนปีการศึกษา 2552

จำเป็นต้องมีข้อมูลของจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในแต่ละชั้น  อนุบาล 1  ประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยระบุที่มาของนักเรียนแต่ละคน  ที่อยู่ของนักเรียน และรายงานผลการเรียนเดิมของนักเรียน(ถ้ามี) เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนจัดชั้นเรียน การบริหารงานวิชาการและการจัดอัตรากำลังครูเข้าสอนให้เหมาะสมกับสภาพของนักเรียนในแต่ละชั้น

   2 ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับตัวผู้เรียน เช่น สมุดรายงานประจำตัวนักเรียน จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของนักเรียน น้ำหนัก ส่วนสูง สุขภาพโดยรวม รายงานเกี่ยวกับผลการเรียนและความประพฤติ เป็นต้น  เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การเลื่อนชั้น การย้ายและการอนุมัติผลการเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา

   3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ เช่น รายงานการจัดชั้นเรียนปีการศึกษา 2552 จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลจำนวนชั้นเรียน รายชื่อครูประจำชั้น ครูประจำวิชา และจำนวนคาบที่สอนในแต่ละคนเพื่อนำไปใช้ในการนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามเป้าหมายของสถานศึกษา

   4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  เช่น  รายงานข้อมูลการปฎิบัติตามแผนงาน/โครงการของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2551 จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินงบประมาณประจำงวดที่ได้รับการจัดสรรประจำปีจาก สพฐ  จำนวนแผนงานโครงการ/กิจกรรม รายละเอียดการประมาณการค่าใช้จ่าย และปฎิทินปฎิบัติงานของกลุ่มงานต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบติดตามประเมินผล การใช้เงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

2.หากโรงเรียนมีปัญหาอันเนื่องจากครู/บุคลากรทางการศึกษา ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาควรที่จะได้ดำเนินการนำระบบการจัดการความรู้ ( KM) มาใช้ในการบริหารโดยมีหลักการ วิธีการและขั้นตอน  โดยมีเชื่อพื้นฐานตามหลักการของระบบการจัดการความรู้ว่า การจัดการความรู้ในองค์กร   เป็นการ   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด  

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 244978เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท