ผู้การเปลี่ยนแปลง


ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ผู้บริหารกับการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

การบริหารงานสถานศึกษา/โรงเรียนสู่การเปลี่ยนแปลง  โรงเรียนต้องมีแนวคิด  ทิศทางในการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน  บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม  กำหนดแนวคิด  ทิศทางในการปรับปรุงโรงเรียน  มีการจัดกิจกรรมโครงการในการพัฒนางาน  พัฒนาคน  สอดคล้องกับแนวคิด  ทิศทาง  ในการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน  มีการทำงานเป็นทีม  โดยมีการทำงานเป็นคณะบุคคล  มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างทีมงาน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของงาน  มีการถ่วงดุลอำนาจ โดยการควบคุมภายใน  มีการบริหารจัดการความเสี่ยง  มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานผลการปฏิบัติงานและนำเสนอต่อสาธารณะชน  มีการร่วมมือและการมีส่วนร่วม  ของคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้มีส่วนได้เสียในการสนับสนุนและจัดการศึกษาของโรงเรียน  ครู  นักเรียน  มีการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน  ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2551 : 2)   ภาระหน้าที่สำคัญจึงตกอยู่ที่ผู้บริหารสถานศึกษา/โรงเรียนซึ่งจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาในการวางกลยุทธ์นำพาสถานศึกษาสู่เป้าหมาย 

ถ้าหากกุญแจรถ  คือ  ยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษาไปสู่เป้าหมาย  เรื่องกุญแจของนายท่านอยู่ไหนโดยเฉพาะพฤติกรรมที่ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งสองคนก้มหน้าก้มตามองหากุญแจรถที่ตนเองทำหาย  ซึ่งหายอีกที่หนึ่งแต่ไปหาอีกที่หนึ่งอย่างสะเปะสะปะนั้น  แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาทั้งสองท่านขาดการคิดวิเคราะห์  และการนำข้อมาใช้ในการแก้ปัญหา  ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด  หรือจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าไม่มีกระบวนการการสร้างกลยุทธ์  ไม่สามารถสร้างกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษา  เป็นผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่แบบส่ง ๆ คิดวันนี้  ทำวันนี้   ไม่ได้มีการใคร่ครวญ  และวางแผน  รวมทั้งไม่ได้ใช้ข้อมูล  สารสนเทศ    การวิเคราะห์ข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการวางแผนอย่างชาญฉลาดให้เหมาะสมกับงานหรือภารกิจที่ต้องกระทำเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย   เป็นการทำงานตามกระแส  ช่วงไหนมีกระแสเรื่องใดก็จะทำตัวให้เข้ากับกระแส   เสมือนว่าตนเองเป็นคนเอาการเอางาน  มีความมุ่งมั่นตั้งใจ  แต่ความจริงแล้วเป็นการทำงานแบบไร้กระบวนการ  ไร้เป้าหมาย  ไร้ทีมงาน  เป็นการทำงานที่สูญเปล่า  ซึ่งไม่มีโอกาสจะสร้างความเปลี่ยนแปลง และสร้างความสำเร็จให้แก่สถานศึกษา/โรงเรียนได้เลย 

ในความคิดของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าคิดว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการสถานศึกษา/โรงเรียนต้องตอบคำถามของตนเองให้ได้ก่อนว่า  จะทำอะไร   ทำอย่างไร  เพื่อการก้าวสู่คุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา/โรงเรียน   แล้วจึงให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา  รวมทั้งชุมชน  สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกันคิดกันทำว่าจะทำอะไร  ทำอย่างไร  เพื่อให้สถานศึกษา/โรงเรียนมีคุณภาพและมาตรฐาน  เพื่อจะได้บูรณาการร่วมกัน

แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศในยุคของการเปลี่ยนแปลง

1.       บุคคล/หน่วยงานที่รู้จักจัดการความรู้  มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและคิดค้นนวัตกรรมที่

เหมาะสมกับสภาพองค์กรจะทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ  มีคุณภาพ  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย  รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 

2.       ในการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กรใดก็ตามผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร  และ

บริบทขององค์กรมาประมวลเป็นความรู้และจัดทำเป็นระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้  และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา  เช่น  การนำผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  นำผลสรุปการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพโรงเรียนไปใช้ในการจัดทำเอกสารแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (กรมสามัญ. 2545 : 24)

3.       สารสนเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทาง  ยุทธศาสตร์  และนโยบายขององค์กร

4.       นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  ทำให้มีระบบและกลไก

ในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  ไม่ว่าจะเป็น  ทรัพยากรการเงิน  ทรัพยากรบุคคล  ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์  ทรัพยากรด้านการบริหารจัดการ

5.       นวัตกรรมและสารสนเทศเป็นกลไกในการบริหารงานบุคคลที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะในการ

ปฏิบัติงาน  ทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ  มีการพัฒนาและรักษาคุณภาพในการปฏิบัติงาน  รวมทั้งช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่มีศักยภาพมีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ/หน้าที่การงานอย่างรวดเร็วตามสายงาน

6.       สารสนเทศทำการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  มีระบบ  และมีข้อมูลที่

พร้อมใช้งานหรือรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทันเวลา  ทันเหตุการณ์  อย่างมีประสิทธิภาพ

ààààààààà

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน.  การติดตามประเมิลผลและตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการพัฒนา

              ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา ประเภทที่ 1 รุ่นที่ 2.  กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก จำกัด, 2551. 

สามัญศึกษา,กรม.  การจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง.  กรุงเทพฯโรงพิมพ์การศาสนา,  2545.  

หมายเลขบันทึก: 244718เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้าใจง่าย เยี่ยมจริงๆ

  • ดีจังเลย
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลงใช่ไหมครับ
  • อันนี้นึกว่า
  • ตำรวจมาเอง
  • ผู้การเปลี่ยนแปลง

นักเรียนโรงเรียนชะอวดวิทยาคารน่ารักจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท