ทุกเวทีบรรยายที่มีโอกาส...


ผู้รู้กับผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ....

เมื่อวานมีโอกาสได้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารเที่ยงกับท่านคณบดี (ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ)และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับท่านในบางประเด็น แต่ท่านเป็นคนเปิดประเด็นซะมากกว่า และโดยส่วนตัวผมแล้วชอบที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่า (เก็บข้อมูล)แต่เมื่อถึงคราได้พูดก็อย่าให้จับไมค์เพราะวิทยากรคนที่พูดต่อไปคงมีเคืองแน่ อิอิ ประเด็นหนึ่งที่ท่านแซวผมคือ "ไปได้ทุกงานจริง" งานการศึกษาก็ไป งานรัฐศาสตร์ก็ไป งานปอเนาะก็ไป งานแบบรักๆก็ไป และนี่มางานภาษาอังกฤษอีก (งานที่ว่าคืองานบรรยายอะนะครับ) ผมก็บอกท่านไปว่าความรู้เก็บได้ก็เก็บครับ เคยพูดกับน้องครับว่า หากมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาหรือบรรยายที่ใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดขอให้เข้าฟัง อย่าปิดกั้นความรู้ในศาสตร์ที่ตนเองไม่ได้เรียน เพราะอะไรนั่นหรือครับ ก็เพราะว่าอย่าลืมว่าในสังคมเราต้องเจอกับผู้คนมากมาย หลากหลายอาชีพ และที่สำคัญวิถีคิดของคนก็แตกต่างกันฉะนั้นจะมีสักกี่คนที่พูดกับคนในสังคมได้แทบทุกเรื่อง ทำไมถึงหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกัลญาณมิตร

              เพราะว่า...ผมได้ข้อคิดครับว่า หลังจากที่มีหน่วยงานองค์กรได้เชิญไปบรรยายในหลายเวที บางเวทีต้องปฏิเสธไป ด้วยเหตุผลง่ายๆครับ คือไม่ถนัดพูดในเรื่องนั้น จนกระทั่งเมื่อเดือนที่แล้ว ทางวิทยาอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี จัดโครงการ "บทบาทนักดาอีย์กับวิถีแห่งการพูด" วิทยากรที่ท่างผู้จัดวางตัวไว้เป็นท่านคณบดีของผม แต่ไปๆมาๆท่านติดภารกิจด่วนที่กระบี่ ทางผู้จัดก็เลยโทรมาถามว่ามีใครที่พอจะพูดเรื่องนี้ได้บ้าง ผมก็เสนอไปสุดท้ายก็ไปออกที่ อ.มัสลัน มาหะมะ (รองอธิการฝ่ายวิชาการและวิจัย)แต่ผู้จัดบอกว่าเมื่อทาบทามไป อ.มัสลันติดธุระ มาได้ช่วงบ่ายช่วงเช้าไม่ว่างเพราะฉะนั้นทางเราเห็นว่าคนที่จะช่วยแก้ขัด(ตัวสำรอง อิอิ)ให้เราได้คือ อาจารย์นี่แหละครับ (เอาแล้วตู)ไม่ถนัดเลยครับหัวข้อแบบนี้ แต่สุดท้ายก็รับปากไปครับ ผลก็ออกมาดังภาพครับ ที่บล๊อก(http://gotoknow.org/blog/fuad1011/235884)

             เล่ามาซะยืดยาวครับ...บทเรียนในวันนั้นคือคำตอบในวันนี้ครับว่าทำไมผมถึงเข้าร่วมงานทุกเวทีที่มีโอกาส เพราะผมเชื่อว่าองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องมันไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะบริบทเดียวกันแต่ต่างที่กัน ผมเชื่อครับผลที่ออกมาไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการไม่ละซึ่งโอกาสที่จะหยิบฉวย ตักตวงช่วงชิงองค์ความรู้ที่มีคุณค่า เพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่สาธารณชน คือโอกาสของคนที่จะได้ทำงานเพื่อสังคม... อย่างที่ผมว่าครับเราต้องอยู่กับผู้คนในสังคม ที่มีวิถีคิดหลากหลายตราบเท่าที่มีลมหายใจ แต่จะมีใครสักกี่คนในสังคมที่พูดคุยและทำความเข้าใจกับคนในสังคมท่ามกลางความหลากหลายในมิติของความคิดได้ ทว่าหากมี ชื่อครับว่าความสันติ ความสมานฉันท์ จะพลันก่อเกิดในเร็ววัน เพราะวันนี้บางครั้งเราปิดกั้นความรู้ในศาสตร์ที่เราไม่ได้เรียนหรือป่าว ทั้งๆที่มันจำเป็นสำหรับเราทุกคนที่ต้องเรียนรู้ในทุกสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงรังสรรค์สรรค์สร้างมา (วัลลอฮฺอะลัม) ท่านยังจะปิดกั้นความรู้กับผู้คนอีกหรือครับ หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่เรียกหา คำว่า "ความสันติ ความสมานฉันท์"

หมายเลขบันทึก: 244283เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ความรู้มากมาย ศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย...

ย่อมทำให้เราตกผลึกเป็นแนวทางที่ชัดเจนในการก้าวเดินต่อไป...

ทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิตนะครับเด๊ะ...

ผู้รู้กับผู้ไม่รู้ไม่เท่าเทียมกันค่ะ แต่ความรู้สามารถเรียนทันกัน ผู้ไม่รู้ก็ต้องขอคำชี้แนะจากผู้ที่รู้ ดีจังค่ะที่มีโอกาสได้รับความรู้จากผู้ที่รอบรู้ :)

ขอบคุณทุกความรู้สึกและความคิดเห็นครับมากครับ

Mr.Direct

ทรายชล

สลามครับ อาจารย์

ผมเคยเรียนกับอาจารย์นานมาแล้วครับ ก็ยังจำได้ว่า เดินผ่านอาจารย์ เมื่อไรไม่เคยคุยกับ อาจาย์เกินประโยคสักที เ็ห็นอาจารย์หน้าดุๆๆน่ะครับ แต่ยังไงผมจะติดตามผลงานของอาจารย์ต่อไปน่ะครับ

ศิษย์ ม.อ.ย

นายเริงศักดิ์ ยงกิจ

อัสสาลามูอาลัยกุม ครับ

การแสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน

ดังนั้น ศึกษาเถอะครับ เพราะคุณจะไม่ขาดทุนเลย

ปล ศึกษาแล้วปฎิบัติด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท