"การบันทึกการประชุม" ไม่ใช่เรื่องที่ควร "ใส่ใจ" สำหรับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นหรือ ?


รัฐนาวาของผู้บริหาร ตั้งแต่ผมเข้ามาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งนี้ มีวาระการบริหารงาน 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 - 2551 เป็นเรื่องน่าแปลกใจมากที่ผู้บริหารเกือบทุกชุดไม่ว่าจะเป็นระดับมหาวิทยาลัย หรือ ระดับคณะ เวลาประชุมบุคลากร ประชุมย่อยต่าง ๆ แทบไม่มี "การบันทึกการประชุม" ให้เห็นเลย

ผมใช้ชีวิตการทำงานในมหาวิทยาลัยมาหลายแห่งไม่เคยมีที่ไหนที่ไม่ให้ความสำคัญกับ "บันทึกการประชุม" แม้แต่ที่เดียว ยกเว้น มหาวิทยาท้องถิ่น นี่แหละที่ประหลาดกว่าเพื่อน

ในวาระการบริหารของผู้บริหารชุดปัจจุบันนี้ จะจัดให้มีการประชุมบุคลากรทุกระดับในต้นภาคเรียน ๆ ละ 1 ครั้ง (ซึ่งถือว่า น้อยมาก) บุคลากรไม่ต่ำกว่า 500 คน มีทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการ อีกทั้งหลายสถานะ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสองสาย

4 ปีที่ผ่านมา ... อธิการบดีขึ้นมาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวต่าง ๆ แล้วก็จะมีบุคลากรที่สงสัยได้ลุกขึ้นมาถามไถ่ หลายครั้งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากที่สามารถนำไปใช้ประกอบการบริหารงานและพัฒนาของมหาวิทยาลัยได้ แต่ก็ไม่เคยมี "การบันทึกการประชุม" มีแต่การนำ PowerPoint ขึ้นเว็บไซต์งานเลขาฯ ให้บุคลากรเข้าไปอ่านเท่านั้น ... แปลกเหลือเกิน

หากเป็นการประชุมระดับคณะ (คณะผลิตครู) ก็เหมือนมหาวิทยาลัยเปี๊ยบ คือ ประชุมบุคลากรทั้งคณะในต้นภาคเรียน ๆ ละ 1 ครั้ง (ผมไม่แน่ใจว่า งานของคณะจะขับเคลื่อนด้วยผู้บริหารไม่กี่คนได้อย่างไร) แถมยังไม่เคยมี "การบันทึกการประชุม" เช่นกัน ... บริหารงานเหมือนกันเปี๊ยบอีกล่ะ

ผมเองก็พยายามคิดวิเคราะห์ถึง "วัฒนธรรมองค์กร" ประหลาด ๆ ดังกล่าว

 

ประโยชน์ของ "การบันทึกการประชุม" ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ คณะกรรมการ

  • เป็นร่องรอยการประชุม การระดมความคิดเห็น
  • เข้าสู่หลักการประกันคุณภาพ
  • เป็นสัญญาประชาคมที่ผู้บริหารรับปาก หรือ พูดสิ่งใดไปแล้ว ย่อมต้องดำเนินการตามนั้น
  • ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรเป็นลักษณะการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
  • ฯลฯ

หากไม่มี "การบันทึกการประชุม" ล่ะ

  • ขาดการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ...
  • ขาดร่องรอยของการประชุมงาน
  • ไม่เข้ากรอบการประกันคุณภาพทางการศึกษาแน่นอน
  • ฯลฯ

 

เท่าที่ผมลองคิดต่อว่า เหตุใดผู้บริหารจึงไม่ให้ความใส่ใจและความสำคัญใน "การบันทึกการประชุม" ?

  • ผู้บริหารไม่มีความจริงใจต่อประชาคม ... คือ ไม่ต้องการให้ "บันทึกการประชุม" เป็นหลักฐานชี้การไม่กระทำตามในสิ่งที่รับปาก หรือ พูดไว้กับประชาคม เวลาประชุม เพราะมีหลายครั้งที่พูดแบบเลื่อนลอย หรือ ป้อนคำหวานในเรื่องของสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แต่พอเวลาผ่านไป ก็ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ จนกระทั่ง ถึงเวลาต้องหยั่งเสียงเลือกผู้บริหารชุดใหม่
  • ผู้บริหารไม่ต้องการใช้บันทึกการประชุมมาบีบการทำงานของตัวเอง
  • ผู้บริหารไม่สนใจการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของประชาคม
  • ผู้บริหารไม่ต้องการความคิดเห็นจากประชาคม ... เพราะคิดว่า ตนเองนำพาองค์กรไปได้โดยไม่จำเป็นต้องฟังใคร
  • ผู้บริหารไม่ต้องการให้ประชาคมเข้ามาตรวจสอบและประเมินการทำงานของตนเอง
  • ฯลฯ


ถึงแม้ว่า "การบันทึกการประชุม" จะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขี้ปะติ๋วของผู้บริหาร ... หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นและเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ประชาคมได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนามหาวิทยาลัยเพียง "ความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม" เท่านั้นก็ตาม

แต่ด้วยความกลัวของผู้บริหารเอง ทำให้ประชาคมมองว่า ผู้บริหารกำลังมุบมิบ ๆ ทำอะไรกันอยู่ก็ไม่รู้ เกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ทำให้องค์กรสั่นสะเทือน ไม่ต่างจากการมีสีเสื้อคนละสีเท่าไหร่นัก

ถึงเรื่องจะเล็ก ๆ แต่ไม่อาจมองข้ามได้ ครับ

มีความคิดเห็นใด ๆ หรือไม่ครับ

บุญรักษา คนดีครับ :)

 

หมายเลขบันทึก: 242748เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กำลังนั่งคิดงานงานหนึ่ง สมองกำลังล้าพอดีมาเจอบันทึกอาจารย์คะ ขอเป็นคนแรกเลยแล้วกันที่รร.มีทั้งบันทึกการประชุมครั้งที่ผ่านมา และหัวข้อในวาระการประชุมครั้งใหม่แจกทุกครั้งที่มีการประชุม มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบพิมพ์แจก และเมื่อประชุมเวลามีข้อเสนออะไรเราก็บันทึกต่อของแต่ละคน แล้วทุกคนต้องเก็บรวมเอาไว้ทุกครั้ง เวลาตามงานที่ได้รับมอบหมายก็สะดวกค่ะ  ประโยชน์ของบันทึกการประชุมมีอีกเยอะ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีการลืมนะคะ 

น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น มุมมองจากภูเก้า ค่ะ เอาใจช่วยคนดีๆ ค่ะท่าน

ลืมด้วย เจตนา หรือ ไม่เจตนา ดีล่ะครับ คุณครู ทรายชล :) ...

ที่ไหนเค้าก็มีทั้งนั้นแหละครับ ... เพิ่งเจอเหมือนกันครับ เป็นกันทุกระดับ กำลังจะกลายเป็น "วัฒนธรรมองค์กร" อยู่แล้ว ครับ

ขอบคุณมากครับ ... น้ำเย็นดีครับ :)

มีเพื่อนแต่ไม่แท้ทีเดียว ที่โรงเรียนมีบันทึกการประชุมโดยที่ครูไม่ต้องเข้าประชุม ใช้บอกปากต่อปาก และมีคนเอาสมุดรายชื่อมาให้เซ็น แต่พอมีเรื่องสำคัญๆ ก็จะแจ้งเฉพาะคนที่มีชื่อเท่านนั้น คนอื่นเซ็นรับทราบเป็นหลักฐษน

อาจเพราะมหาวิทยาลัย ไม่ต้องตรวจสมุดบันทึกการประชุมมั๊ง แต่ตามโรงเรียนต้องมีหลักฐาน แฮะๆ

(เอาไว้ทำรายงาน อิอิ.. สนุกไม๊หละคะ  ที่นี่... ประเทศไทย)

วงการศึกษาไปไม่ถึงไหน ก็มีสาเหตุมาจากเหตุหลายๆประการ และสาเหตุเหล่านั้นถูกมองข้าม จนกลายเป็นวัฒนธรรมการมอง

อันที่จริงเชื่ออย่างที่ท่านอ.กล่าวนะคะว่า สมุดบันทึกการประชุมนั้นเป็นร่องลอยการทำงาน ทั้งความล้มเหลว และความสำเร็จ ที่ล้วนนำไปสู๋การพัฒนาที่ดีในอนาคต ...

สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้จริงตามหลักวิชาการ และตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ

แต่ความเป็นจริงที่พบเห็นมันคนละเรื่อง และปัญหาต่างๆจะถูกแก้โดยคำสั่งเบื้องบนสั่งการมา เพื่อสนองนโยบาย..

ขอบคุณค่ะ

วันนี้ คุณ krutoi ร้อนแรงในหลาย ๆ ประเด็นที่ผมเขียนไว้ (ร้อนแรงเช่นกัน) ครับ ... ที่นี่ประเทศไทย กำลังจะกลายเป็นที่อยู่ของคนที่เห็นแต่ตัวเองและครอบครัวเท่านั้นครับ

ผมวิเคราะห์ไว้ดังนี้แล้ว ... ยังมีอีกหลายประเด็นครับ ที่น่าสนใจในวิธีการไม่ใส่ใจพวกนี้ อันนำมาซึ่งความล่มสลายขององค์กรในอนาคต

น่าสมเพทเวทนามาก ๆ ครับ :)

ขอบคุณครับ

ยังมี แบบนี้ อยู่อีกหรือ ฮ่าๆ ไม่มีการบันทึก ให้มันหายไปอย่างไร้ร่องรอย เหมือนอาจารย์ว่า เลย ^^

อิ อิ ด้วยครับ ท่านอาจารย์ตี๋ ครูgisชนบท ;)...

บล็อกนี้ ... คำหนักหน่อยนะครับ แต่จริงทุกคำ

ขอบคุณครับ ;)

• ปี ๒๕๕๔ แล้ว ดูเหมือนบันทึกการประชุม ก็ยังคงไม่มี...อีกหรือคะ?อาจารย์

• ข้องใจเล็กน้อยว่า อาจารย์ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็นดีๆแบบนี้เข้าที่ประชุมหรือคะ?

• ข้าพเจ้าควรภูมิใจ ที่ได้อาสาทำหน้าที่"บันทึกการประชุม"ขององค์กร เพราะ...

ประโยชน์ของ "การบันทึกการประชุม" 

  • เป็นร่องรอยการประชุม การระดมความคิดเห็น
  • เข้าสู่หลักการประกันคุณภาพ
  • เป็นสัญญาประชาคมที่ผู้บริหารรับปาก หรือ พูดสิ่งใดไปแล้ว ย่อมต้องดำเนินการตามนั้น
  • ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรเป็นลักษณะการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
  • ฯลฯ

ขอบคุณมากค่ะ

(แม้ตอนนี้ ต้องวางมือและเสนอให้ที่ประชุม กำหนดผู้รับผิดชอบใหม่ ก็ล้วนเป็นไปเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรที่สมบูรณ์กว่ายังเห็นคุณค่าของการทำงานแบบมีส่วนร่วมค่ะ)  

ไม่มีการบันทึกเป็นทางการครับ คุณ หญ้า @ แสนฝน ;)...

ไม่มีปรากฎการณ์ใด ๆ ที่บอกว่า ผู้บริหารให้ความสนใจนัก ดังที่เหตุผลที่ผมได้เขียนไว้ในบันทึกครับ

ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นเพียงแค่ "นักการเมือง" ในร่างครูบาอาจารย์ทั้งนั้น

วิธีการคิดจึงเพียงแค่ "เพื่อตัวเอง" เท่านั้น

บันทึกการประชุม สิ่งเล็ก ๆ ที่สะท้อนอะไรบางอย่างครับ ;)...

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาพรวนบันทึก ;)...

หุหุหุ ที่โรงเรีียนก็ประชุมเทอมละสองครั้ง ประชุมเปิดกับประชุมปิด

แต่ประชุมระดับหัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย ทุกสัปดาห์

ประชุมกลุ่มสารฯตามสมควร...(กลุ่มสาระฯที่อยู่ก็ถือว่าบ่อย)

แต่การมีส่วนร่วมดูเหมือนจะมี..ในการแสดงความคิดเห็น...แต่ก็..ไม่ค่อยชัดเจน..

ถามว่าประชุมประจำกลุ่มสาระฯ เรื่องที่เสนอจะขึ้นไปถึงระดับผู้บริหารไหมน๊า...555

นั่นสินะ น้องคุณครู เทียนน้อย ;)...

เรื่องจะเดินทางไปถึงไม๊น้า

คงต้องถาม "สื่อกลาง" เหล่าหัวหน้าทั้งหลายว่า เรื่องใดเป็นประโยชน์แก่ตน น่าจะถึง เรื่องใดทำลายภาพลักษณ์ของตน คงถูกตัดตอน เก็บเข้าลิ้นชักไป

เอ ใครเป็น "สื่อกลาง" หนอ '_'

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาพรวนบันทึกให้พี่ ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท