แม้ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน...โรงเรียนกวี ยังคงดำเนินวิถี "วิทยาทาน" สืบต่อไป


ทุ่งสักอาศรมยังยืนยันดำเนินโครงการนี้ ด้วยวิถี “วิทยาทาน” สืบต่อไป

ตามที่ทุ่งสักอาศรมได้โพสข่าวกิจกรรม โรงเรียนกวี รุ่น 4 มีสาระโดยสรุปว่า...
.
ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ร่วมกับ (ผู้สนับสนุนสำคัญรายหนึ่ง) จัดโครงการ (ค่าย) โรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม รุ่นที่ ๔ ระหว่าง ๑-๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ (๑ เดือนเต็ม) เปิดรับสมัครเยาวชนอายุระหว่าง ๑๕-๒๕ ปี จำนวน ๑๐ คน เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ชีวิต การอ่าน การคิด การเขียน การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และการใช้ชีวิต ฝึกฝน และสร้างสรรค์บทกวีจากการใช้ชีวิต จากประสบการณ์กระบวนการ และจากกวีผู้เดินทางมาก่อนหน้าโดยตรง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพียงเขียนจดหมาย “ด้วยลายมือ” ตามแบบอิสระให้มีเนื้อหาแนะนำตัวและแสดงเจตนาเข้าร่วมโครงการ พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อกลับได้ ส่งถึงศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ๓๕ หมู่ ๑๓ ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๗๑๑๗๐ โทร.๐๘๑-๙๙๕๖๐๑๖ ภายใน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ นั้น  
.
ปรากฏว่าปีนี้ ผู้สนับสนุนที่ร่วมโครงการมาเป็นเวลา ๓ ปี มีอุปสรรคในงบประมาณ ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้  ทุ่งสักอาศรมยังยืนยันดำเนินโครงการนี้ด้วยทุนส่วนตัว และด้วยวิถี “วิทยาทาน” สืบต่อไป เพียงขอให้นักเรียนผู้สมัครเข้าร่วมเรียนรู้แต่ละคน “มีส่วนร่วม” จัดเตรียมข้าวสารและอาหารแห้งติดตัวมาเพื่อตนเอง เท่าทีพอจะช่วยตนเองได้ เพื่อร่วมสมทบกับกองกลางที่ศูนย์จัดเตรียมไว้สำหรับการกินอยู่ตลอดเวลา ๑ เดือนเต็ม ทั้งนี้นักเรียนยังได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ อย่างเต็มกระบวนการ และโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม 
บุคคลหรือหน่วยงานใด ประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 081-9956016

รายชื่อนักเรียนโรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม รุ่น 4 ที่ได้รับการพิจารณาเข้าร่วมเรียนรู้

1.นางสาวสุภาภรณ์ ฮุยสุสดี ชื่อเล่น กอฟาง เกิด 7 พ.ย. 2534 อายุ 17 ปี 169 ม. 10 ต.ขวัญเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120 
2.นางสาวสุภาภรณ์ สมาคม ชื่อเล่น หลิงหลิง เกิด. 14 มิย. 2534 อายุ 17 ปี 17/1 บ้านทุ่ม ม.11 ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีษะเกษ 33180 
3.นางสาววัฒนา มะปรางค์ ชื่อเล่น วิด เกิด 25 กรกฎาคม 2534 อายุ 17 ปี 74 ม.15 ต.สำโรงพลัน อ.ไพรบึง จ.ศรีษะเกษ 33180  
4.นางสาวรัชนี คันธภูมิ ชื่อเล่น บี เกิด. 3 เมษายน 2534 อายุ 17 ปี 90 ม. 3 บ้านท่าสี ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120 
5.นางสาววัณณิตา มณีวงศ์ ชื่อเล่น นิกส์ เกิด 5 เมษายน 2532 อายุ 19 ปี 89 ม.1 ต.บางศาลา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
6.นางสาวสิริพร รัตนมุง ชื่อเล่น เอ๋ เกิด 26 ก.ค. 2530 4/8 ม.8 ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110
7.นางสาวปวีณ์สุดา ขยันการ เกิด 24 พ.ย. 2530 18 ม. 2 ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110
8.เด็กชายณัฐพงศ์ สมงาม ชื่อเล่น โจโจ้ อายุ 14 ปี รร.ตากสินราชานุสรณ์ 133/1 ม.1 ต.ท้องฟ้า อ.บ้านตาก จ.ตาก

(ยังรับสมัครอีก ๒ คน – รีบสมัครด่วน...)

รายละเอียดโครงการ
โรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม รุ่นที่ ๔ โดย ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ระหว่างวันที่ ๑–๓๐ เมษายน ๒๕๕๒


แนวคิด : การก่อเกิดโรงเรียนกวี เกิดขึ้นด้วยแนวคิดและความเชื่อที่ว่า การเขียนบทกวีคือการหล่อหลอมชีวิตและจิตวิญญาณของผู้เขียนให้ละเอียดอ่อนลุ่มลึกกับผลึกอารมณ์และพลังทางปัญญา ชีวิตของผู้ที่ผ่านการหล่อหลอมดีแล้วย่อมดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างมีคุณค่า โดยเฉพาะบนวิถีแห่งจริยปัญญาและสันติสุข ซึ่งการที่จะเดินทางไปถึงจุดหมายสำคัญนั้นได้ต้องอาศัยการใช้ชีวิตและสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่เหมาะสม


ปรัชญา : ชีวิตวิถีที่มีอิสระทางจิตวิญญาณ ในขอบเขตพฤติกรรมนำสันติสุข


จุดประสงค์ : เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนชายหญิงที่รักและใฝ่ในทางกวี ทั้งการอ่าน การเขียน และการใช้ชีวิตได้มีแหล่งเรียนรู้ ฝึกฝน และสร้างสรรค์บทกวีจากการใช้ชีวิต จากประสบการณ์กระบวนการ และจากกวีผู้เดินทางมาก่อนหน้าโดยตรง อันจะเป็นต้นทุนสำหรับชีวิตของเขาที่เข้มข้นและเข้มแข็งต่อไป


เป้าหมาย : เยาวชนชาย หญิง อายุระหว่าง ๑๕–๒๕ ปี จากทั่วประเทศ รุ่นละ ๑๐ คน


หลักการ : ๑.รับสมัครเยาวชนชาย/หญิงอายุระหว่าง ๑๕–๒๕ ปี เพื่อคัดเลือกเข้าเรียนรุ่นละ ๑๐ คน  
๒.เรียนฟรี (ตามโครงการวิทยาทาน) ๓.ใช้ชีวิต กิน และนอนในโรงเรียนเป็นระยะเวลา ๑ เดือน
๔.รายละเอียดการกินอยู่  (๑) ผู้เรียนทั้ง ๑๐ คน จะต้องหุงหากินอยู่ร่วมกันตามแนวทางของโรงเรียน (๒) ผู้เรียนจะต้องเตรียมเสื้อผ้า สมุดบันทึก ๒-๓ เล่ม ปากกา ดินสอ ไฟฉาย ยารักษาโรค และเครื่องใช้ส่วนตัวมาเอง  ๕.สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับอย่างเป็นวิทยาทาน (ฟรี) จากโรงเรียน ได้แก่
(๑) การสั่งสอนอบรมและกิจกรรมกระบวนการ (๒) บ้านพักพร้อมห้องน้ำ (๓) สถานที่อยู่อาศัยและดำเนินกิจกรรม (๔) อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบอาหาร (๕) น้ำดื่ม น้ำใช้ ไฟฟ้า และเอกสารการเรียนรู้  ๖.ผู้เรียนที่เรียนจบตามหลักสูตรที่โรงเรียนกำหนดจะได้รับ “วุฒิบัตร”
๗.ครูผู้ให้การศึกษาอบรมเป็นวิทยาทานตลอดหลักสูตร คือ “ครูกานท์” (ศิวกานท์ ปทุมสูติ)  
๘.อาจมีกวี นักเขียน ศิลปิน และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้าร่วมเป็นวิทยากรด้วย ๙.โรงเรียนยินดีรับความอนุเคราะห์สนับสนุนจากบุคคลและองค์กรที่มีความเข้าใจจุดประสงค์ของโรงเรียนและมีความเชื่อในแนวคิดที่สอดคล้องกัน  
หลักปฏิบัติ :  เพื่อความปรกติสุขและปลอดภัยในขณะศึกษาเล่าเรียน ผู้เรียนทุกคนจะต้องถือปฏิบัติในข้อต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด!
๑.ผู้เรียนทั้งชายและหญิงจะต้องอยู่ร่วมกันในโรงเรียนฉันพี่น้อง ห้ามมีพฤติกรรมฉันชู้สาวอย่างเด็ดขาด (รวมถึงพฤติกรรมฉันชู้สาวกับบุคคลภายนอกในละแวกโรงเรียนด้วย) 
๒.ผู้เรียนทุกคนจะต้องงดใช้โทรศัพท์มือถือและเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ถ้ามีความจำเป็นต้องติดต่อกับบุคคลภายนอก ให้ใช้การเขียนจดหมายแทน สำหรับกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องติดต่อกับทางบ้านหรือทางบ้านติดต่อมาให้ติดต่อผ่าน “ครูกานท์” หรือบุคคลที่ “ครูกานท์” มอบหมาย โดยโทรศัพท์ของศูนย์ 
๓.ผู้เรียนจะต้องงดการเสพสิ่งเสพติด และงดเกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกชนิด 
๔.ไม่อนุญาตให้ผู้เรียนออกนอกบริเวณโรงเรียน (ยกเว้นกรณีที่ออกไปศึกษานอกสถานที่ตามหลักสูตรเป็นหมู่คณะ) และงดใช้ยานพาหนะส่วนตัวทุกประเภท  
๕.ไม่อนุญาตให้เพื่อนหรือญาติติดต่อหรือขอพบผู้เรียน ยกเว้นผู้ปกครองเท่านั้น
๖.ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ตามที่โรงเรียนกำหนดอย่างขยันขันแข็งและเสมอภาคกัน  
๗.ให้ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างซื่อสัตย์ จริงใจ ห้ามลักขโมยหรือประพฤติฉ้อฉลต่างๆ หรือก่อการให้เกิดความไม่สันติสุขทั้งในและนอกโรงเรียนอย่างเด็ดขาด  
๘.ระเบียบปฏิบัติและกิจวัตรวิถีของผู้เรียนโดยทั่วไปมีดังนี้
(๑) ตื่นนอนเวลา ๐๕.๐๐ น. เริ่มปฏิบัติกิจกรรมเวลา ๐๕.๓๐ น. และเข้านอนไม่เกินเวลา ๒๒.๐๐ น. (๒) ทุกวันในช่วงเวลาบ่ายกำหนดให้มีชั่วโมงอิสระยืดหยุ่นเพื่อทำกิจกรรมส่วนตัวประมาณ ๑-๓ ชั่วโมง ทั้งนี้โดยไม่ออกนอกบริเวณโรงเรียน (๓) จัดแบ่งหน้าที่จัดทำอาหาร ล้างจาน กวาดถูบ้าน และดูแลความสะอาดเรียบร้อยของโรงเรียน (๔) ไม่อนุญาตให้ฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ (ยกเว้นดูภาพยนตร์ตามที่กำหนดในวิชาเรียน) แต่ให้อ่านหนังสือพิมพ์แทน (๕) การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือกิจส่วนตัวใดๆ จะต้องไม่รบกวนหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น (๖) เวลาเรียนและวิชาเรียนจะยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสมของแต่ละวัน/สัปดาห์ (๗) การบริโภคอาหาร เน้นการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษสะสม งดเว้นการดื่มน้ำแข็งหรือน้ำเย็น (เพราะเป็นโทษแก่ร่างกาย) งดเว้นอาหารและเครื่องดื่มที่ฟุ่มเฟือย (เพื่อฝึกการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ) 
๙.แยกบ้านพักผู้เรียนหญิงกับผู้เรียนชาย และห้ามไปมาหาสู่กันในยามวิกาลโดยไม่ได้รับอนุญาต
๑๐.กรณีเจ็บป่วยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้ผู้เรียนหรือผู้ปกครองของผู้เรียนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
๑๑.ความผิดและความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการกระทำโดยผู้เรียน ทั้งที่เป็นเหตุสุดวิสัยและเหตุที่กระทำนอกกิจกรรมหลักสูตร ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนและผู้ปกครองของผู้เรียน (ตามแต่กรณีข้อกฎหมาย)
๑๒.ครูและครอบครัวของครูจะดูแลผู้เรียนและให้การอบรมสั่งสอนผู้เรียนเสมือนลูกและบุคคลในครอบครัว
หมายเหตุ ผู้เรียนคนใดที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ได้ตามหลักปฏิบัตข้อหนึ่งข้อใดอาจจะต้องลาออก หรืออาจถูกพิจารณาให้ออกจากโรงเรียน


หลักสูตร วิชาที่กำหนดให้เรียนและปฏิบัติ : ๑.หมวดแนวคิดและชีวิตวิถี / โรงเรียนกวีทุ่งสักอาศรม
(๑) ปฐมนิเทศเรียนรู้แนวทาง (๒) กิจกรรมและการปฏิบัติตนตลอด ๑ เดือน (๓) เสวนาทบทวน แก้ไข และปรับปรุง  ๒.หมวดการอ่านและเรียนรู้ธรรมชาติ / เพื่อเข้าถึงธรรมภาวะ  (๑) เรียนรู้ธรรมชาติแวดล้อมชีวิตเชิงกายภาพ (๒) เรียนรู้ธรรมชาติแวดล้อมชีวิตเชิง “ผัสสะ” ดู มอง เพ่ง พิจารณา ผ่อนคลาย วางเฉย สัมผัสจับต้อง ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส จำแนกรู้สึก สำรวจอารมณ์ เชื่อมโยงปัญญา ฯลฯ (๓) เสวนาธรรมชาติเชิงดุลภาพและองค์รวม  ๓.หมวดการอ่านหนังสือ / อ่านชีวิต
(๑) อ่านหนังสือพิมพ์ (๒) อ่านวรรณกรรมเยาวชน (๓)  อ่านวรรณกรรมสร้างสรรค์และวรรณกรรมเชิงปรัชญา (๔) อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมมุขปาฐะ (๕) อ่านอย่างมีมิติ วิเคราะห์ และตีความ (๖) เสวนาการอ่าน  ๔.หมวดการเขียนบทกวี / เขียนชีวิต
(๑) การจดบันทึกและเขียนบันทึกอย่างสร้างสรรค์ (๒) การเขียนลำนำ (กลอนเปล่า) (๓) การเขียนบทกวีและเพลง (๔) การสร้างสรรค์บทกวีในรูปแบบต่างๆ (๕) การสร้างสรรค์บทกวีอย่างมีรากเหง้าและอัตลักษณ์ของตนเอง (๖) การแก้ไขและพัฒนาผลงานบทกวี (๗) การเผยแพร่และรวมเล่มบทกวี (๘) การจัดทำหนังสือ “ทำมือ” คนละ ๑ เล่ม (๙) เสวนาการเขียน  ๕.หมวดความบันเทิง / การแสดงออก เพื่อเข้าถึงความงาม ความสุข และความคิดสร้างสรรค์
(๑) ฟังและขับร้องเพลงคัดสรร (๒) ชมภาพยนตร์แนวสร้างสรรค์ (๓) ท่องบทกวี “บทอาขยาน” และอ่านบทกวีในที่ชุมชน (๔) ฟังและฝึกร้องเพลงพื้นบ้าน (๕) กิจกรรมแสดงสร้างสรรค์หลังการอ่าน  ๖.หมวดปฏิบัติธรรม / เพื่อเข้าถึงพลังทางปัญญาและคุณค่าของชีวิต
(๑) ถือศีลห้า (๒) นั่งสมาธิ / เดินจงกรม (๓) กวาดใบไม้ (๔) กิจวัตรวิถี (๕) เข้าถึงธรรมผ่านธรรมชาติ (๖) เสวนาธรรม  ๗.หมวดเรียนรู้ชีวิตวิถีชุมชน / เที่ยวชุมชน  (๑) วิถีชาวนา ชาวไร่ การเลี้ยงสัตว์ และล่า/จับสัตว์เพื่อการดำรงชีพ (๒) ประเพณี (๓) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (๔) ความเจริญ ความเสื่อม ปัญหาและทางออก (๕) นิทาน ตำนาน และเรื่องเล่าพื้นบ้าน (๖) เสวนาชีวิต


ผลที่คาดว่าจะได้รับ : เยาวชนผู้ผ่านการศึกษาเรียนรู้ รุ่นละ ๑๐ คน มีพัฒนาการงอกงามทั้งทางจิตวิญญาณ สติปัญญา ความคิด และพฤติกรรมตามจุดประสงค์ของโครงการและตามศักยภาพของแต่ละบุคคล


การประเมินผล : ประเมินผลด้วยการสังเกตบันทึกพฤติกรรม พิจารณาการสร้างสรรค์ผลงาน การแสดงออกและการมีส่วนร่วม


ตัวบ่งชี้ : ความสุข ความมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ความมุ่งมั่น ขยัน พากเพียร ความอดทน ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความเกรงใจ ความมีน้ำใจ ความรักการอ่านและรักการเขียน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความกล้าหาญทางจริยธรรม ความละเอียดอ่อน ลุ่มลึก สุขุมและรอบคอบ ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ ความแตกฉานทางปัญญา ปฏิภาณ และไหวพริบ ความเข้าใจชีวิตและเข้าใจโลก ความมีมโนคติ อุดมคติ และอุดมการณ์ ฯลฯ ซึ่งแสดงออกหรือปรากฏทางพฤติกรรมต่างๆ และผลงานการสร้างสรรค์ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

 
การสมัครเข้าเรียน วันเวลา และสถานที่  :  ๑.สมัครเข้าเรียนโดยเขียนจดหมาย (รูปแบบอิสระ / ไม่จำกัดความยาว) ส่งถึง “ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม” ตามที่อยู่ข้างต้น ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ และพร้อมแนบเอกสารดังนี้ (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๓) บันทึกข้อความอนุญาตของผู้ปกครอง พร้อมที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก ทั้งทางไปรษณีย์และโทรศัพท์
๒.การคัดเลือกจะใช้วิธีสอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยจะพิจารณาประกอบกับจดหมายที่เขียนสมัคร ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียน ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรมจะโทรศัพท์แจ้งให้ทราบเป็นรายบุคคล  ๓.ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียน ในวันเข้าเรียนควรให้ผู้ปกครองเดินทางไปส่งที่โรงเรียนเพื่อจะได้เห็นสภาพโรงเรียนและความเป็นอยู่ด้วย เพื่อความสบายใจ (ผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกอาจสมัครเข้าเรียนได้ในปีต่อๆ ไป)  ๔.เปิดเรียน ๑–๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ ให้ผู้เรียนทุกคนเดินทางถึงศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรมในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. (โดยรับประทานอาหารกลางวันมาก่อน) และร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ เวลา ๑๔.๐๐ น.

.

หมายเลขบันทึก: 241838เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สุ้ต่อไปคุณครูผู้้บากบั่น
  • ฝ่าฟันสร้างสรรค์อารยวิถี
  • วิทยาทานที่ให้ในบทกวี
  • เอื้ออารีต่อมหาชนผู้หลงทาง
  • ให้รู้สึกรู้สา้รู้สร้าั่งสม
  • บรมสุขแบบพุทธะทางอุดม
  • เป็นมงคลดลให้ชีวิตงาม
  • ขอให้กำลังใจคุณครูนักสู้นะ
  • ได้สนองงานพุทธะอักขรวิถี
  • จรรโลงโลกให้สวยสดด้วยบทกวี
  • ขอความดีจงคุุ้มครองนิรันดร์เทอญ
  • ช่วงนี้งานอบรมธรรมตามที่ต่างมีต่อเนื่อง
  • ไม่ค่อยได้ใช้เน็ตนานๆเข้ามาที
  • แวะมาเยี่ยมเยือน อนุโมทนาสาธุกับโยมครูกานต์
  • ธรรมรักษา

สวัสดีค่ะครูกานท์ พี่ก้อย..ฟางขอขอบคุณครูกานท์ และ พี่ก้อยมากนะคะที่ให้โอกาสฟางได้เข้าร่วมโครงการของครูกาน์น่ะค่ะ ฟางจะทำให้ดีที่สุดและจะพยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้เอาไว้ให้มากที่สุดให้สมกับที่ครูการท์และพี่ก้อยให้โอกาสนะคะ

สู้ๆ

ฟ้ามืดทั่วฟ้า มองไปมองมาเห็นดวงดาว

ส่องแสงเจิดจ้า มันคือดวงตาแห่งห้วงหาว

ห้วงวงวรรณกรรม มืดครึ้มมัวดำมานานยาว

ฉายแสงเจิดคัคนานต์ เฉกเช่นครูกานท์คือดวงดาว

ขับใบ้ไล่บอด ข้ามฝั่งพ้นรอดกวีพราว

ให้ขวัญปลอบใจ สู้กันต่อไปเถิดนะเจ้า

ความรักจักชูเชิด เป็นบ่อก่อเกิดการย่างก้าว

ศรัทธาแห่งการให้ ตรึงจิตประทับใจไปอีกยาว

หนักบ้างเหนื่อยบ้าง ยังอยู่เคียงข้างติดตามข่าว

ยุวกวี บ่มเพาะที่นี่รุ่นแล้วรุ่นเล่า

รากแก้วการอ่าน เรียนรู้สืบสานหลายเรื่องราว

ต้นกล้าวรรณกรรม ภูมิปัญญาสูงล้ำงามอะคร้าว

อย่าท้อต่อโลกแล้ง ทุ่งสักต้องแกร่งใช่แข็งกร้าว

หลายดาวดับลง ครูกานท์ต้องคงแม้ปวดร้าว

ใช่ดันทุรัง ครูคือความหวังเด็กหนุ่มสาว

รอวันฟ้าใส สีผ่องอำไพขึ้นอีกคราว

ทุ่งสักอาศรม โลกซร้องคนชมกันเกรียวกราว

ฝันที่เป็นจริง ทุกอย่างทุกสิ่งไม่รอยาว

อาจเป็นพรุ่งนี้ หรือมะรือนี้เตรียมแถลงข่าว

สู้นะครูนะ ทนนะครูนะ.....ผมกราบเท้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท