"การดูคน ว่าด้วยกลวิธีในการดูคนเจ็ดประการ" ... (ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง)


ำราพิชัยสงครามขงเบ้ง ว่าด้วยแม่ทัพ

 

"กาูคน ว่าด้วยกลวิธีในการดูคนเจ็ดประการ" ดันี้

 

อันการที่จะรู้ลักษณะนิสัยของคนนั้น หาได้ยากในการพิจารณาไป

เพราะความดีชั่วมีความแตกต่าง ส่วนลักษณะท่าทางก็มีความผิดแผกกันอย่างมากมาย

โดยบางคนภายนอกดู อ่อนโยน ... แต่ความจริงเป็น นกลิ้งกลอก

โดยบางคนภายนอกดู สุภาพ ... แต่ความจริงเป็น คนหลอกลวง

โดยบางคนภายนอกดู กล้าหาญ ... แต่ความจริงเป็น คนขี้ขลาด

โดยบางคนภายนอกดู ทุ่มเท ... แต่ความจริงเป็น คนไม่มีความภักดี

 

ทว่า การดูคนจะมีอยู่ เจ็ด วิธี คือ

นึ่ง ... ยุแหย่ด้วยเรื่องดีร้าย แล้วสังเกตดูซึ่ง "ปณิธาน"

สอง ... บริภาษให้อับจน แล้วสังเกตดูซึ่ง "ปฏิภาณ"

สาม ... สอบถามซึ่งกลยุทธ์ แล้วสังเกตดูซึ่ง "ปัญญา"

สี่ ... บอกกล่าวซึ่งเคราะห์ภัย แล้วสังเกตดูซึ่ง "ความกล้า"

ห้า ... มอมเมาด้วยสุรา แล้วสังเกตดูซึ่ง "อุปนิสัย"

หก ... ผูกมัดด้วยอามิส แล้วสังเกตดูซึ่ง "ความสุจริต"

เจ็ด ... มอบหมายภารกิจให้ทำในเวลาที่จำกัด แล้วสังเกตดูซึ่ง "สัจจะ"

 

 

คนหลายคนมีบุคลิกภาพภาคนอกดีเลิศประเสริฐศรี แต่จิตใจกลับคับแคบ เน่าเฟะ

ผู้นำหลายคนดูคนเหล่านี้ไม่เป็น จะเป็นอันตรายในอนาคต

ท่านขงเบ้งเขียนไว้หลายพันปีแล้วสำหรับกลวิธีดูคน

ปัจจุบันกลวิธีเหล่านี้ก็ยังใช้ได้อยู่ไม่เสื่อมคลาย

ลองนำไปใช้นะครับ :)

 

 

 

แหล่งเรียนรู้

ขงเบ้ง. (อมร ทองสุก, ผู้แปล).  ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง.  ปทุมธานี : ชุณหวัตร, 2550.

 

หมายเลขบันทึก: 241719เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

นับวันวิธีการดูคนก็ยากขึ้น อาจจะด้วยเหตุผลของการเอาตัวเองให้รอด แล้วส่งต่อให้กับรุ่นต่อไปกลายเป็นลักษณะนิสัย ขยายออกไปจนถึงระดับองค์กร อ่อนใจมาก แย่จังค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

หลายคนซับซ้อน ...ดูยาก

หลายคน...ก็ตรงไปตรงมา

เรื่องจิตใจของคน...ยากแท้ที่จะเข้าใจ

 

 

ท่านขงเบ้งเขียนไว้ ใช้ได้ตลอด ไม่มีล้าสมัย :)

 

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมมีความรู้สึกว่า
ใครที่จะใช้หลักการดูคนที่ว่าได้
คงต้องมี "ปัญญา"
ควบคู่กับ "เมตตา"
และ "คุณธรรม" อันสูงยิ่ง

ผมเคยมีอดีตผู้บริหารท่านหนึ่ง
ท่านใช้ข้อห้าในการคัดเลือกคน
เพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งอยู่บ่อยๆ

และผมก็เคยมีผู้บริหารอีกท่านหนึ่ง
ใช้ข้อหกเป็นประจำ
แต่ดูๆ แล้วเจตนาในการใช้
ไม่ได้เป็นไปเพื่อหาความ "สุจริต"

สวัสดีครับ คุณ ครูแป๋ม :)

เปรียบเทียบ "คน" เหมือน "อสูรกาย" นะครับ อิ อิ หรือว่าอาจจะจริง คนมีการปรับตัวได้ง่ายกว่าสัตว์โลกประเภทอื่น ๆ หลัง ๆ นี่โหดร้ายมากขึ้น เอาตัวรอดหนักขึ้น

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร :)

"จิตใจคนยากแท้หยั่งถึง" สำนวนนี้ก็ไม่เคยล้าสมัย

ผลของจิตใจคงอยู่ที่การกระทำ ดั่งคำของพระพุทธองค์นะครับ

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ... ได้เช่นนั้นทุกคน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ณภัทร๙ :)

เห็นจะจริงดังท่านว่า ... ผู้ทดสอบคนนั้นต้องมีคุณธรรมที่สูงส่ง มีความเที่ยงธรรม ยุติธรรม อย่างไม้บรรทัด จึงจะสามารถใช้กลวิธีทั้งเจ็ดนี้ได้สำเร็จ

ข้อหก "ผูกมัดด้วยอามิส" ... ที่ทำงานผมใช้กันเกลื่อนเลยครับตอนนี้ ... แต่ไม่สุจริตแน่นอนครับ ... เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ร่วมมือกันโกงอย่างชัดเจน แต่ไม่เป็นที่ประจักษ์

ขอบคุณครับ :)

อาจารย์คะทุกวันนี้ รู้หน้าไม่รู้ใจ จะหาวิธีดูใจคนคงยากขึ้นค่ะ เห็นดวยกับความคิดเห็นของ ครูแปม ค่ะ กว่าจะทดสอบครบ 7 ข้อ อย่างอาจารย์ ว่า เราอาจจะแย่ก่อนซิคะ

ทดสอบไม่ต้องครบข้อก็ได้ครับ ... เลือกวัดนิสัยแต่ละอย่าง

ขอบคุณครับ คุณครู ทรายชล :)

อืมม น่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณมากเลยนะคะที่เอามาเป้นวิทยาทาน อิอิ

มีโอกาสคงต้องลองใช้มั่ง 555

  • สวัสดีค่ะท่าน อ.Wasawat Deemarn
  •  เป็นอุทธาหรณ์เตือนใจที่ดียิ่งค่ะ โดยเฉพาะพวก ๑๘ มงกุฎ
  • "จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง"...
  • "ปากหวานก้นส้ม "  " มือถือสาก ปากถือศีล"  เน้อเจ๊า

สวัสดีครับ น้องอาจารย์ หัวใจติดปีก :)

น้องยังมีอนาคตอีกไกล ... ได้ใช้แน่นอนครับ

ใช้กับ "เพื่อน" รอบ ๆ ตัวก่อนก็ได้นะครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับ :)

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ศน.เอื้องแซะ :)

บทบาทและหน้าที่ของท่านอาจารย์ ... เชื่อว่า ท่านต้องมีโอกาสใช้แน่นอนครับ

ชอบ "หัวใจมดส้ม" เอ้ย "ปากหวานก้นส้ม" ครับ

(ส้ม หมายถึง เปรี้ยว นะคร้าบเพื่อน ๆ)

ขอบคุณครับ

  • ตามคุณ คนไม่มีรากมาค่ะ
  • ดิฉันดูคนไม่ค่อยเป็นค่ะ แต่ชอบชวนให้คนมาดูตัวเอง ด้วยการศึกษาศาสตร์โบราณ ที่เรียกว่า "นพลักษณ์" ค่ะ

เป็นการวิเคราะห์ตัวตนบุคคลชั้นเซียนสมกับเป็นขงเบ้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท