ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา


หัวใจของการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ คือการปลดปล่อยการศึกษาออกจากการผูกขาดอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ

ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา

 

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดเสวนา เรื่อง ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษา   ครั้งที่ ๑ : ผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ   ช่วงเช้าวันที่ ๑๓ ก.พ. ๕๒   ผมได้รับเชิญ แต่ไปร่วมไม่ได้ เพราะเดินทางไปหล่มสักกับหมอสมศักดิ์ 

 

จึงสนองศรัทธาผู้จัดที่กรุณาเชิญ   ด้วยการให้ความเห็นที่ผมคิดว่าเป้นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒   (ซึ่งผมเคยให้ความเห็นไว้แล้วที่ , , )    คือการปลดปล่อยการศึกษาออกจากการผูกขาดอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ

 

การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ และชี้ชะตาบ้านเมือง เกินกว่าที่จะปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการผูกขาดไว้    เช่นเดียวกับเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยไว้ในมือพวกหมอและคนในวงการสาธารณสุข   ลองไตร่ตรองให้ดีๆ เถิดครับ

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.พ. ๕๒

หมายเลขบันทึก: 241186เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ ที่ว่า "การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ และชี้ชะตาบ้านเมือง เกินกว่าที่จะปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการผูกขาดไว้"

แต่ดูท่าทาง การปฏิรูปการศึกษารอบ2 กำลังจะเป็นอย่างนั้นอีก

โดยความคิดเห็นส่วนตัวจริงๆ นะครับ
ไม่มีหลักทฤษฎีอะไรรองรับ

ผมกำลังที่ระดับปัจเจกบุคคล
หากคนใดคนหนึ่งต้องการจะปฏิรูป
หรือเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่
คงไม่มีอำนาจภายนอกใดๆ มาบังคับให้เกิดได้
มันน่าจะต้องเกิดจากแรงขับภายในของบุคคลคนนั้น

ในทำนองเดียวกัน ผมมองว่า
การจะปฏิรูปการศึกษา
น่าจะต้องเริ่มที่โรงเรียน และชุมชน
จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง และกล้าหาญ
ที่จะสร้างสรรค์ระบบการศึกษาที่ดีกว่า
เพื่อเยาวชน และเพื่อความยั่งยืนของชุมชนครับ

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์หมอครับว่า
กระทรวงจะต้องใจกว้างพอ
ที่จะต้องยอมสูญเสียอำนาจการควบคุมจากศูนย์กลางไป
และที่สำคัญผมคิดว่ากระทรวงไม่ควรทำอะไรให้ยุ่งไปกว่านี้
ปล่อยให้ผู้มีส่วนได้เสียจริงๆ เขาจัดการกันเอง

ห่วงอยู่อย่างเดียวว่า
สำหรับคนที่ถูกกดอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมนานๆ
ก็จะไม่กล้าพอ และไม่อยากจะลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตัวเอง
เพราะมีคนสั่งการ มีคนคิดให้ย่อมสบายกว่า

จริงๆ แล้วผมก็ไม่ทราบหรอกครับว่า
การปฏิรูปการศึกษาจะต้องทำอะไรบ้าง
แต่เท่าที่ผมลองดูผู้รู้ ผู้ปฏิบัติหลายๆท่าน
ที่อยู่ใน GotoKnow ได้บอกเล่าและแลกเปลี่ยนกัน
ผมว่ามันน่าจะเป็นการปฏิรูปอย่างหนึ่งเหมือนกัน

ไม่แน่นะครับ หากผู้รู้ใน GotoKnow
มาช่วยกันระดมพลังปัญญา
เพื่อทำการปฏิรูปการศึกษาโดยไม่สนใจกระทรวงศึกษา
ก็อาจจะได้เห็นอะไรดีๆ
ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างจริงจัง

และผมหวังว่าในวันหนึ่ง
กระทรวงศึกษา หรือรัฐบาล อาจต้องมาขอคำปรึกษาก็เป็นได้ครับ

ที่สำคัญปฏิรูปผูหลักผู้ใหญ่ในวงการศึกษาด้วยน่าจะดีค่ะ

ที่สำคัญปฏิรูปผูหลักผู้ใหญ่ในวงการศึกษาด้วยน่าจะดีค่ะ

บางคนนะคะท่าน ไม่ใช่ทั้งหมด

เยาวชนปัจจุบันนี้ที่ดีก็พอมีบ้าง แต่ที่เห็นแล้วน่าใจหายตามถนนมีเยอะมาก ทำอย่างไรดีใครจะต้องหันมาประเมินตัวเอง สถาบันครอบครัวมีส่วนอย่างมาก โรงเรียนก็มีส่วนเหมือนกัน อย่างว่าที่สำคัญต้องครอบครัวก่อน เพราะคุณครูในปัจจุบันมีน้อยนักเรียนมีเป็นจำนวนมาก แต่ละคนต้องช่วยกันดูแลบุตรหลาน ให้ความรู้ต่อสถาบันครอบครัวให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี และใช้จิตวิทยาในการเลี้ยงดูบุตรหลานตนเอง ศาสนาก็มีส่วนอย่างยิ่งที่ครอบครัวจะอาศัยเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงดูบุตรหลานเรา เราต้องช่วยกันให้วัคซีนต่อเยาวชน เพราะเราไม่สามารถจะอยู่ดูแลป้องกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง มันต้องหาวิธีการ

ซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จ เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเอง เพื่อความเหมาะสม บางคนเกิดมาดีอยู่แล้ว บางคนเกิดมาต้องเพิ่มเติมเสริมแต่ง คนเราทำมาไม่เหมือนกัน ซึ่งทั้งหมดที่ว่านี้ได้ทำดูแล้ว ได้ผลในระดับหนึ่ง น้องได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรมระดับประเทศ ประจำปี 51 ทั้งนี้ ต้องอาศัยความเพียรพยาม ความอดทน การทำดีทำยาก แต่อยากฝากความดีไว้บนโลกใบนี้ สร้างคนดีไว้สิบทอดเจตนาเราต่อไป

    ถึงเวลาหรือยังคะ ที่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สมควรจะมีความปรองดองร่วมกัน ในการชี้ประเด็นปัญหาการศึกษาของชาติให้เห็นตรงกันก่อน..แล้วนำปัญหาเหล่านั้นมาเรียงลำดับความสำคัญ...เพื่อนำไปสู่วิธีปฏิรูปการศึกษาที่ตรงกับปัญหานั้นๆ :

             ..ปฎิรูปเรื่องอะไร..

            ..ปฎิรูปอย่างไร..

            ..ปฎิรูปโดยใคร..

            ..ปฎิรูปเมื่อไร..

     อยากเห็นกระบวนการตามนัยข้างต้น เพื่อที่ดิฉันอยู่นอกวงการจะได้เข้าใจและสามารถติดตามเรื่องการปฎิรูปการศึกษา ได้มากกว่านี้ค่ะ

                                  nongnarts

อ่านบทความอาจารย์วันนี้ แล้วสะท้อนพอๆกับที่ได้ยิน อ.ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย ถามในห้องประชุม รพ.หล่มสัก วันที่ 13 กพ. ว่า การศึกษาที่นี่เป็นยังไง นึกได้ทันทีว่า การแก้ปัญหาสุขภาพ ต้องรู้รอบด้าน รู้็เข้าใจมองออกไปนอกกรอบตัวเอง เช่นเดียวกับอาจารย์ถามในโต๊ะอาหารกลางวันว่า " ทำอะไรไปมากมาย ปัญหาอาชญากรรมที่นี่เป็นอย่างไร.?" พวกเรามองหน้ากันอย่าง ความคิดใบ้." แล้วอาจารย์ก็พูดเบาๆ (ถ้าฟังไม่ผิดว่า) รู้กันแต่เรื่องตัวเองประมาณนี้... ยิ่งมาอ่านบทความอาจารย์วิจารณ์ ยิ่งทำให้ รู้ว่า เฮ่อ ลุ้นๆๆๆๆ คะ

เห็นด้วยกับคุณทรายชล และคุณนงนาถ ครับ มองปัญหาให้ตรงกัน ทำความเข้าใจร่วมกัน กำหนดประเด็นให้ชัด แล้วช่วยกัน อย่าแตก อย่าแยกอะไรกันให้มากนักเลย เพราะมนุษย์มีชีวิตที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ศักยภาพของแต่ละบุคคล อย่าพูดไกลไปเลย เอาเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว คือเรื่องจุดหมายของการจัดการศึกษา เก่ง ดี มีสุข นักการศึกษา ผู้เชียวชาญ ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ยังให้คำจำกัดความที่ไม่เหมือนกัน แล้วจะทำให้เกิดคุณภาพของผู้เรียนได้ตรงกันอย่างไร ปัญหามันไม่ได้เกิดจากความเป็น ประถม หรือมัธยม มันอยู่ที่คุณภาพของ การรับรู้ การคิด การตัดสินใจ การพูด และการทำครับ

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท