กลองบูชา “ก๋องปู่จา”


กลองบูชา “ก๋องปู่จา” พุทธบูชาสืบสานล้านนาไทย

กลองบูชา “ก๋องปู่จา” พุทธบูชาสืบสานล้านนาไทย

   ล้านนาเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีความรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณ และด้วยผลพวงมาจากความเชื่อ ความเลื่อมใสที่มีต่อพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีนี่เอง ที่ทำให้ชาวล้านนาพยายามสืบทอดภูมิปัญญาอันเป็นมรดกของชาติมาจนถึงทุกวันนี้ ก๋องปู่จา หรือ กลองบูชา ก็เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของชาวล้านนา ที่มีตำนานมาเป็นเวลากว่า1,300 ปี ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุต่างๆ ในสังคม

   ในอดีตเสียงย่ำกลองจะดังกังวานขึ้นทุกครั้งก่อนที่จะออกไปรบทัพจับศึกกับศัตรู และจะเป็นเครื่องประโคมชัยที่ดังก้องเมื่อชนะศึกสงคราม หลังจากที่ผ่านการทำศึกแล้วจะไม่นิยมนำกลองไว้ที่บ้านจะนำไปไว้ที่วัด เพราะผ่านการทำศึกจะมีคราบเลือดและความเชื่อเกี่ยวกับผี คราวต่อมาเมื่อบ้านเมืองผ่านพ้นจากการทำศึก  กลองไชยมงคลที่อยู่ที่วัดจึงได้มีการดัดแปลงเพื่อใช้ตีบูชาธรรม    ซึ่งเป็นที่มาของกลองบูชานับตั้งแต่นั้นมา  

     พระพุทธิสารโสภณ  เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดล้านนาญาณสังวราราม เล่าว่าการตีกลองบูชาก็เหมือนเป็นการตีเพื่อบูชาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  และเป็นการตีเพื่อบอกว่าเป็นเวลาฉันเพล  เป็นการนัดประชุมบอกกล่าวให้ประชาชนได้มาประชุมอย่างพร้อมเพียง และตีเพื่อบอกกล่าวว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันพระเพื่อให้ประชาชนได้นำอาหารมาใส่บาตรพระสงฆ์

   ลักษณะของก๋องปู่จา รูปร่างลักษณะแต่เดิมนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเป็นอย่างไรแน่แต่ปัจจุบันเป็นกลองที่ตั้งอยู่กับที่ขนาดใหญ่มาก  ชุดหนึ่งมี 4 ใบ  คือ  กลองแม่หรือกลองใหญ่หรือกลองตั้ง  แล้วแต่ท้องถิ่นต่างๆจะเรียก 

อ.เกรียงศักดิ์   สันเทพ  อาจารย์สอนตีกลองบูชา ชมรม คนฮั๊กก๋องปู๋จา จังหวัดลำปางกล่าวว่าการใช้กลองบูชานั้น ตัวกลองจะต้อง ใช้ไม้เนื้อแข็ง ขุดเป็นโพรงขึ้นหน้าด้วยหนัง    ก่อนหุ้มกลองต้องทำการบรรจุหัวใจกลองไว้ข้างในตัวกลอง  แล้วจึงหุ้มกลองด้วยหนังวัวหรือหนังควาย  ใช้น้ำแห้งลงอักขระโบราณ  คาถาเมตตามหานิยม    ผ้ายันต์  และของมีค่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์   บรรจุรวมลงไปในน้ำเต้าแล้วนำไปแขวนไว้ในตัวกลองใบใหญ่

 

 

 

 

   ปัจจุบัน  ก็มีหลายหน่วยงาน  ทั้งระดับชุมชน และระดับจังหวัดเล็งเห็นความสำคัของกลองบูชา หรือก๋องปู๋จา มากขึ้น  ทางจังหวัดลำปางก็ ได้จัดตั้งชมรม คนฮั๊กกลองบูชา  โดยปลูกฝังการอนุรักษ์วัฒนธรรมการตีกลองบูชาหรือ  ก๋องปู๋จาให้แก่เยาวชนในพื้นที่สนใจในการตีกลองบูชา   หรือก๋องปู่จา มาฝึกการตีกลองบูชา หรือก๋องปู่จา  โดยกลุ่มเยาวชนคนรักกลองบูชา  จังหวัดลำปางต่างก็  รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้อนุรักษ์  การตีกลองบูชานี้ให้คงอยู่คู่ชาวล้านนา ตลอดไป

   นับได้ว่า  กลองบูชา หรือ ก๋องปู๋จา นั้น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาที่ตกทอดสืบสานตำนานล้านนาไทยมาอย่างช้านาน  มาถึงวันนี้มรดกล้ำค่าชิ้นนี้กำลังจะถูกลบเลือนจางหายไปจากใจของคนรุ่นลูกรุ่นใหม่ไป  ถึงเวลาแล้วที่จะรักษา มรดกอันล้ำค่าชิ้นนี้ให้คงอยู่คู่ล้านนาไทยสืบไป

 ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=195

หมายเลขบันทึก: 240785เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2009 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

1. ครูน้อย

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 15:05

ขอบคุณจ้าว..ตี้แวะมาชม..

ก่อนหุ้มกลองต้องทำการบรรจุหัวใจกลองไว้ข้างในตัวกลอง

หัวใจกลอง คือ อะไรครับ

 

ในน้ำเต้าแล้วนำไปแขวนไว้ในตัวกลองใบใหญ่

เหอ ๆ ๆ ปุ้ยก็ไม่รู้อ่ะ??

ว่าง ๆๆ จะไปถามคนที่ทำให้นะค่ะ..อิอิ

กำลังเข้าใจว่า เป็นพิธี บรรจุหัวใจ (ไม่ใช่เชิงวัตถุ แต่เชิงจิตวิญญาณ) ที่ทำให้กลองนั้นพิเศษกว่ากลองทั่วไป  

สวัสดีครับ

      ได้รู้ประวัติความเป็นมาจึงทำให้รู้คุณค่าว่าควรแก่การอนุรักษ์ "กลองบูชา"

7. ผมคนโสตฯครับ

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 18:34

สวัสดีครับ

ได้รู้ประวัติความเป็นมาจึงทำให้รู้คุณค่าว่าควรแก่การอนุรักษ์ "กลองบูชา"

................................................

ปุ้ยตอบ..สวัสดีค่ะ..ยินดีที่รู้จัก..ขอบคุณนะค่ะที่แวะเข้ามาชม..ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านเฮานะค่ะ..

8. Moon smiles on Venus&Jupiter

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 19:30

ขอบคุณค่ะ

.........

ปุ้ยตอบ..ไม่ต้องเกรงใจจ้า..ปุ้ยชอบเผยแพร่ความรู้เชิงอนุรักษ์..อิอิ ยินดีจ้า..

คนดีบ้าง ไม่ดีบ้าง

หัวใจกลองก็คือ น้ำเต้าแห้งที่ลงอักขระตัวล้านนารอบๆและมียันต์ต่างๆบรรจุข้างในแล้วนำผ้ามาปิดปากน้ำเต้าแล้วนำไปแขวนในกลอ

งก่อนทำการหุ้มหนัง

หัวใจกลองคือการลงคาถาไว้ในตัวกลอง

จะทำให้กลองศักสิทธิ์ขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท