ลานเมืองเหนือ (Corypha Umbraculifera)


ลานเมืองเหนือ หรือ "ลานเหนือ" จัดเป็นลานที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลเดียวกัน

ลานเหนือนั้นพบมากอยู่ในป่าดิบในแถบภาคเหนือ

"ลานเหนือ" มีรูปร่าง ลักษณะ ทั้งในส่วนของลำต้น และกอละม้ายคล้ายคลังกับ "ลานกบินบุรี" แต่จะแตกต่างกันตรงที่ขนาด ซึ่งเล็กและใหญ่แตกต่างกันมาก

โดยลานเหนือเมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 6-8 เมตร ส่วนลานกบินทร์อาจจะสูงได้ถึง 20 เมตรเลยทีเดียว

 ส่วนที่จะสามารถแยกสายพันธุ์ได้ดีที่สุดของพืชตระกูลปาล์มคือ "ก้านใต้ใบ"

ซึ่งจะต้องดูใบที่ก้านชี้ตรงออกไปเป็นหลัก แล้วจะต้องจดจำลักษณะของปาล์มแต่ละชนิดที่มีก้านใบที่แตกต่างกัน

ลักษณะของก้านหรือลำต้นของลานเหนือนั้น ก้านจะมีสีเขียวอ่อน ส่วนขอบของก้านจะมีสีเข้ม

หนามมีขนาดและความห่างของหนามอยู่ในระดับปานกลาง (ครึ่งเซนติเมตร)

ปัจจุบัน "ลานเหนือ" เป็นลานที่หาพบยากพันธุ์หนึ่งของเมืองไทย

ลานเหนือ ลานไทย พึงรักษาไว้ รักษา "พันธุ์" 

หมายเลขบันทึก: 239954เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท