การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว


เด็กติดเกมแก้ได้ ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน

การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว

                การช่วยเหลือเด็กติดเกมทำได้  ด้วยการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี แล้วตามด้วยวิธีการดังนี้

1.         ตกลงกติกากันให้ชัดเจน  พยายามให้ลด หรือเลิก  ถ้าลด  ให้จัดเวลากันใหม่ลดเวลาเล่นลงทีละน้อย

เช่น เดิมเล่นทุกวัน  วันละ ชั่วโมง ลดลงดังนี้   สัปดาห์แรก  ให้เล่นวันละ ชั่วโมง   สัปดาห์ที่ ให้เล่นวันละ  ชั่วโมง  สัปดาห์ที่  ให้เล่นเฉพาะ  เสาร์-อาทิตย์  ไม่เกินวันละ ชั่วโมง  ถ้าเลิกเล่นเกมให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่นทันที  กิจกรรมควรสนุกก่อนให้เด็กเพลิดเพลิน  เบนความสนใจไปจากเกม

2.        การเอาจริงกับข้อตกลง  ด้วยสีหน้า  ท่าทาง

3.        ตกลงทดลองปฏิบัติเป็นเวลาที่แน่นอน  เช่น  ทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือน แล้วกลับมาประเมินผลร่วมกัน  หาทางปรับเปลี่ยนแก้ไข

4.        กำหนดทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา  เช่น  ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไร  จะให้ช่วยอย่างไร 

5.        มีการบันทึกผลการช่วยเหลือ  และนำมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ  ชมในเรื่องที่ได้ทำไปแล้วได้ผลดี ข้อใดยังทำไม่ได้  ให้กลับมาติดตามงาน

6.        ประเมินผลเมื่อครบเวลาที่ตกลงกันไว้

7.        ปรับกติกากันใหม่ถ้ามีปัญหาความร่วมมือ  หรือทำไม่ได้

8.        จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง

9.        สร้างความสามารถในการควบคุม  เสริมทักษะการควบคุมตนเอง 

10.     จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ  ไม่มีสิ่งกระตุ้นเรื่องเกม

11.     จัดกิจกรรมให้ใช้เวลาที่เคยเล่นเกม  เป็นกิจกรรมที่สนุกอย่างอื่น  อย่าปล่อยให้ว่าง

 

                        การป้องกัน  เด็กทุกคนมีโอกาสติดเกมได้  ป้องกันตั้งแต่เด็กเริ่มสนใจเกม การป้องกันสำคัญกว่าการรักษามาก  ควรคิดเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมทุกคน  การป้องกันเริ่มได้ตั้งแต่เด็กยังไม่ติดเกม   อาจเริ่มได้ตั้งแต่ขวบปีที่ ฝึกให้รู้จักกติกาต่างๆในชุมชน

ทักษะพื้นฐาน   เด็กควรฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่เด็กๆ

1.   การมีขอบเขต  ตามอายุ  เริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มหัดเดิน

2.   การมีระเบียบวินัย  ไม่ตามใจเกินไป  ควรมีกติกาชัดเจน  พูดเรื่องกติกาตรงไปตรงมาและจริงจัง

3.   ทักษะเตือนตัวเอง  สำรวจตนเอง สติ

4.   ทักษะการยั้งคิด  ไตร่ตรอง

5.   ทักษะการวางแผน และทำตามแผนการด้วยตัวเอง

6.   ทักษะการแบ่งเวลา

7.   ทักษะในการควบคุมตนเอง

ความสัมพันธ์ที่ดีพ่อแม่ลูก

1.    ความใกล้ชิดสนิทสนมทีดี  จะช่วยให้เกิดการเชื่อฟัง  การยอมรับกัน  การมีเหตุผล

2.    กิจกรรมภายในครอบครัว  ที่มีความเพลิดเพลิน ความสุขใจ  จะดึงเด็กไม่ให้ติดเกม

การจัดระเบียบในบ้าน

1.        ก่อนซื้อเกม  กำหนดกติกาพื้นฐาน  ถ้าจะมีเกมในบ้าน  ต้องกำหนดเวลา และเงื่อนไขในการเล่น  เช่น เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ  เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 .(เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์ รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง

2.        อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม

3.        เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced activities  (art,  music, aerobic exercise,) ที่ทำให้เพลิดเพลิน  แต่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ  ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม  มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

4.        สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี  เช่นกลุ่มกิจกรรม  ค่าย  กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์  ทัศนศึกษา   กีฬา

5.        ถ้าจะอนุญาตให้เล่น  ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2  ชม( รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต)  ฝึกให้ แบ่งเวลา  วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ  และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้

6.        กำกับให้เด็กทำตามกติกา

7.        ถ้ามีการละเมิดกติกา  มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล

8.       มาตรการจริงจัง  มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว  เช่น อยากให้พ่อเตือนก่อนหมดเวลา หรือไม่”   “ถ้าเตือนแล้วไม่สามารถหยุดตามเวลาได้  อยากให้พ่อทำอย่างไร   “แม่จะเตือนเพียงครั้งเดียวก่อนหมดเวลา  นาที  หลังจากนั้นถ้าไม่หยุดตามเวลา พ่อจะถอดปลั๊กออก”   “ถ้ามีการละเมิดเกินวันละครั้ง(หรือสัปดาห์ละ3 ครั้ง)  จะให้พ่อแม่ทำอย่างไร”   “เป็นอันว่าถ้าเกินเวลาที่ตกลงกันใน 1 สัปดาห์  แม่จะงดการเล่นเกมเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม

พ่อแม่ควรทบทวนตัวเองว่าลักษณะต่างๆต่อไปนี้ มีบ้างหรือไม่  ถ้ามีการแก้ไขจะช่วยป้องกัน และรักษาเด็กติดเกมได้ผล ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม ที่พบบ่อยคือ ใจอ่อน  ตามใจ  ไม่มีเวลา     ขาดอำนาจส่วนตัว

ลักษณะเด็กที่จะติดเกมง่าย

          เด็กที่มีลักษณะต่อไปนี้  ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  มีโอกาสติดเกมได้ง่าย  หรือถ้าเริ่มเล่นเกมต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด

1. กลุ่มที่มีปัญหาการเรียน เช่น โรคสมาธิสั้น  ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน   (LD)

2. มีปัญหากับเพื่อน ขาดทักษะสังคม

3.  ปัญหาอารมณ์  เหงา  เครียด  ซึมเศร้า

4.  ขาดการยับยั้งใจตนเอง 

5.  รอคอยไม่ได้ 

6.  ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

 

       ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการแก้ปัญหาการติดเกม

พ่อแม่ผู้ใหญ่ตรงกัน เป็นทีม เสริมกัน

มองในแง่ดี

ชมเชยข้อดี ความสำเร็จ

desensitization  มีกิจกรรมเสริม  ทดแทน  ให้สนุกสนาน  อย่าห้ามเฉยๆ

คอยกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลง  เอาจริง สม่ำเสมอ ไม่รุนแรง  เอาจริง อย่างนุ่มนวล

มีวิธีเตือนดีๆ  มองในแง่ดี  ตกลงวิธีเตือน

 

       ปัจจัยรบกวนความสำเร็จ

เตือนบ่อยๆ

บ่น ดุ ว่า  เท้าความ

ปล่อย ไม่สนใจ  ไม่มีเวลา

หงุดหงิด  อารมณ์เสียใส่กัน

พ่อแม่แตกคอกัน  ขัดแย้งกัน  ยอมเด็กไม่เท่ากัน

"ร่วมมือกัน  แก้ปัญหา  เพื่ออนาคต  ลูกหลานไทย"

หมายเลขบันทึก: 239379เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • พึงดูจากรายการ 30 ยังแจ๋วมาวันก่อนๆค่ะ
  • ได้อ่านอีกก็คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับบางคน
  • ข้อมูลดีๆทั้งนั้นเลยนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท