ปัญหาเด็กนักเรียนติดเกม


เด็กติดเกม การแก้ปัญหาที่ดี

นักเรียนติดเกมจะแก้ปัญหาอย่างไรดี

    ปัญหาเด็กติดเกม พบได้บ่อยในครอบครัวไทยปัจจุบันนี้  พ่อแม่หลายคนลำบากใจที่จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกม  เด็กบางคนติดมากจนไม่สนใจการเรียน  ผลการเรียนตกลงมากๆ  หรือบางคนไม่ยอมไปโรงเรียน  ใช้เวลาเล่นเกมที่บ้านทั้งวัน  เวลาห้ามมากๆเด็กแอบหนีไปเล่นเกมที่ร้านเกมนอกบ้าน  บางคนเลยซื้อเกมให้เด็กเล่นที่บ้าน  เนื่องจากเกรงว่าเด็กจะไม่กลับบ้าน แต่กลับเป็นปัญหาต่อมาจากการเล่นเกมที่บ้านมากขึ้น  แพทย์และบุคลากรทางแพทย์ได้รับคำถามหรือการปรึกษาปัญหาเด็กติดเกมมากขึ้น  การช่วยเหลือเด็กติดเกมจึงเป็นความจำเป็นรีบด่วนระดับประเทศ  และถ้าสามารถป้องกันปัญหานี้ได้  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

หลักสำคัญในการป้องกันหรือช่วยเหลือ  ต้องมี 4 รู้

1. รู้ความสนใจของลูกตลอดเวลา

                พ่อแม่ควรสนใจติดตามพฤติกรรมของลูก ความสนใจกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความสนใจเรื่องเกม  ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มอยากเล่นตั้งแต่อายุ 6 ปีเป็นต้นไป  และจะมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย  ซึ่งเด็กยังขาดการควบคุมตนเอง  เพื่อนมีอิทธิพลอย่างสูงที่จะเหนี่ยวนำให้สนใจ  อยากรู้อยากเห็น  อยากลอง  เพื่อจะมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกัน 

รู้จักเกมที่เด็กเล่น

                เกมที่เด็กเล่นอาจมีหลายประเภท  แตกต่างกันตามความสนใจ  ความชอบความถนัด  การพูดคุยเรื่องเกมกับลูกทำให้เข้าใจความชอบของเด็ก  ถ้าได้เห็นตอนเด็กเล่นเกมจะสามารถแยกแยะประเภทของเกมได้ ดังนี้

ประเภท เกมที่เด็กเล่น   แยกตามลักษณะเครื่องเล่น

1.        เกมคอมพิวเตอร์  ที่บ้าน ร้านเกม อินเตอร์เนต

2.        เกมกด เกมเครื่อง มือถือ

3.        ตู้เกม 

ชนิดของเกม  แยกตามลักษณะเนื้อหาของเกม  ได้แก่

1.        เกมสนุก  ไม่มีสาระ 

2.        เกมต่อสู้  มีการทำร้าย  ทำลาย เช่น Raknarok

3.        เกมยั่วยุทางเพศ  มีเนื้อหาทางเพศกระตุ้น ยั่วยุให้เกิดความรู้สึกทางเพศ 

4.        เกมสร้างสรรค์ ความคิด จินตนาการ วางแผน  เช่น  The Sims

5.       เกมวิชาการ ให้ความรู้  

รู้สาเหตุที่เด็กชอบ          เด็กชอบเกมเนื่องจาก

1.        เกมทำให้เด็กสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ชวนติดตาม 

2.        เด็กรู้สึกทำอะไรสำเร็จ  ทำได้ 

3.        ได้แสดงออกเรื่องที่เก็บกด ก้าวร้าว เกมที่เป็นการต่อสู้ ทำร้ายร่างกายกัน  หรือทำลายล้าง

4.        มีรางวัล  แรงจูงใจเป็นแต้ม คะแนน  มีรางวัลจากผลงานทันที ไม่ต้องรอผลนาน

5.        ไม่ต้องใช้ทักษะสังคม (ที่เด็กบางคนขาดทักษะสังคม  ไม่กล้าแสดงออก  กังวลไม่มั่นใจตนเอง  จึงมักไม่เข้าสังคม)

6.        ลดหรือบดบังอาการทางจิตใจ/อารมณ์

7.        เหมาะกับนิสัย/บุคลิก/จุดอ่อนทางสังคม

   4 รู้สาเหตุที่เด็กติดเกม

1.        เด็กขาดการควบคุมตนเอง

2.        พ่อแม่ไม่สนใจพฤติกรรมลูก  ไม่มีเวลากำกับให้เด็กทำตามกติกา

3.        ปล่อยให้เด็กมีอิสรเสรีมากเกินไป

4.        ไม่มีการตกลงกติกากันก่อน

5.        พ่อแม่ไม่ได้ช่วยให้เด็กมีกิจกรรมที่ดี และเหมาะสมกับจิตใจของเด็ก

6.        เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ ใช้เกมช่วยให้อาการดีขึ้นชั่วคราว 

7.       สิ่งแวดล้อม/เพื่อน/ครอบครัว/ชุมชน

 

 

หมายเลขบันทึก: 239372เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
น.ส.มะลิวรรณ วงศ์สุนา

อยากทราบคำถามเกี่ยวกับการติดเกมส์ในโรงเรียนปทุมพิทยาคม

ว่ามีทั้งกี่คำถามอะไรบ้าง

เป็นบทความที่ดีมาหผู้ปกครองกำลังประสบปัญหาลูกตืดเกมไม่รู้จะแก้ปัญหาและมีวิธีการอย่างไร ขอบคุณมากๆ คะ

ขอให้นำบทความใหม่ ๆมาเสนอด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท