เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี
เด็กหญิง ประเสริฐ (أُخْتٌ صَغِيْرَةٌ ) รัศมีแห่งดวงตา เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี

อิสลาม กับ การแพทย์


ในอิสลามถือว่าร่างกายมนุษย์นั้นเป็นแหล่งกำเนิดหนึ่งของความมีคุณค่า ในฐานะที่มันถูกสร้างโดยอัลลอฮฺ พระผู้ทรงอำนาจ(พระเจ้า) มันทำหน้าที่อย่างไร มีวิธีการรักษาร่างกายให้สะอาดและปลอดภัยได้อย่างไร และมีวิธีการป้องกันเชื้อจากการเป็นโรค หรือรักษาโรคเหล่านั้นได้อย่างไร
อิสลาม กับ การแพทย์      
Written by อบู ยะอฺลา แปลและเรียบเรียง   
Monday, 19 January 2009 08:25


เขียนโดย ดร. บิลาล ฟิลิปส
อบู ยะอฺลา แปลและเรียบเรียง  

ในอิสลามถือว่าร่างกายมนุษย์นั้นเป็นแหล่งกำเนิดหนึ่งของความมีคุณค่า ในฐานะที่มันถูกสร้างโดยอัลลอฮฺ พระผู้ทรงอำนาจ(พระเจ้า) มันทำหน้าที่อย่างไร มีวิธีการรักษาร่างกายให้สะอาดและปลอดภัยได้อย่างไร และมีวิธีการป้องกันเชื้อจากการเป็นโรค หรือรักษาโรคเหล่านั้นได้อย่างไร

เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเผยแพร่แก่มุสลิมทั้งหลาย(ให้รับรู้และมีความเข้าใจ) ท่านนบี มูฮัมมัด(ศ็อลฯ)ได้แนะนำ(สนับสนุน)แก่ประชาชนด้วยตัวของท่านเองว่า จงใช้ยาต่างๆสำหรับ(รักษา)โรคของท่าน” ซึ่งผู้คนในเวลานั้นฝ่าฝืน(และไม่เต็มใจ)ที่จะปฏิบัติสิ่งดังกล่าว และท่านยังกล่าวอีกว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงสร้างโรคภัย(ความเจ็บป่วย)ใดๆเว้นแต่พระองค์จะทรงประทานการรักษา(ยารักษาโรค) ยกเว้นโรคชราภาพ(ความตาย) เมื่อยารักษาโรคถูกนำมาใช้  ผู้ป่วยจะหายป่วยด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ

สิ่งนี้เป็นสิ่งจูงใจอย่างยิ่งในการกระตุ้นนักวิทยาศาสตร์มุสลิมให้คิดค้น พัฒนาและนำไปใช้กับกฎต่างๆที่อาศัยการทดลอง(และการสังเกต)  ความตั้งใจอย่างมากถูกนำไปสู่การรักษาด้วยยาและการสาธารณสุข
 โรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นมาในกรุงแบกแดด(ประเทศอิรัก)ในปีก่อนศริสตศักราช 706 (ซึ่ง)บรรดามุสลิมจะใช้กองคาราวานอูฐทำเป็นโรงพยาบาลเคลื่อนที่ ซึ่งเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

เนื่องจากศาสนามิได้ห้ามมัน บรรดาผู้รู้มุสลิมเคยใช้ศพของมนุษย์ในการศึกษาด้ายกายวิภาควิทยา และสรีรวิทยา และในการช่วยเหลือผู้ทำการศึกษาให้เข้าใจถึงการทำงานของ(ระบบของ)ร่างกาย การศึกษาโดยการทดลองนี้สามารถทำการผ่าตัดและพัฒนามันได้อย่างรวดเร็ว

อัร-รอซี เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกในนาม ราเซส (Rhazes) ผู้ที่เป็นนายแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง(เสียชีวิตในปี 932) เป็นหนึ่งในบรรดาแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกในยุคกลาง เขาให้ความสำคัญ(กับ)การสังเกตทางการทดลองและการวินิจฉัยทางการแพทย์ และเป็นผู้วินิจฉัยโรคเพียงคนเดียวที่หาบุคคลเปรียบเทียบไม่ได้ในยุคนั้น เขาเขียนตำราเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับสุขอนามัย(ความสะอาด)ในโรงพยาบาล

คอลัฟ อบุล-กอเซ็ม อัช-ชะรอวี เป็นศัลยแพทย์ผู้มีชื่อเสียงอย่างมากคนหนึ่งในศตวรรษที่11 งานของเขาเป็นที่รู้จักดีในยุโรป ในชื่อว Concessio  (กิตาบ อัล-ตัสริฟ)

อิบนุ ซีนา(เสียชีวิตในปี 1037) เป็นที่รู้จักดีในโลกตะวันตก ในชื่อ อะวิเซนนา บางทีท่านอาจจะเป็นแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดจนกระทั่งถึงยุคสมัยใหม่ หนังสือที่มีชื่อเสียงของท่านคือ อัล-กอนูน ฟี อัล-ติบบฺ ซึ่งยังคงเป็นหนังสือที่มีมาตรฐานเล่มหนึ่ง แม้แต่ในยุโรปเอง เป็นเวลามากกว่า 700 ปี งานของอิบนุซีนายังคงถูกศึกษาและใช้เป็นพื้นฐานโลกตะวันออก

การสนับสนุนที่สำคัญอื่นๆในด้านเภสัชวิทยา ตัวอย่างเช่น ตำรา อัช-ชิฟาอ์ ของอิบนุ ซีนา(ตำราแห่งการรักษาโรค)และในด้านสาธารณะสุข ทุกๆเมืองสำคัญในโลกอิสลามมีโรงพยาบาลที่ดียิ่งจำนวนมาก บางโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนด้วย และโรงพยาบาลจำนวนมากเป็นโรงพยาบาลเฉพาะโรค รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับทางจิตและอารมณ์  อาณาจักรออตโตมานมีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโรงพยาบาล ที่มีการจัดการทางด้านสุขลักษณะระดับสูงในโรงพยาบาลเหล่านี้ที่ถูกสร้าง 

อ้างอิง http://timaweb.org/

คำสำคัญ (Tags): #อิสลาม
หมายเลขบันทึก: 236917เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2009 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท