ตอนที่ 8 การให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันตนเองจากภัยเพศสัมพันธ์


"เด็กไทยรับอาจมีเพศสัมพันธ์วันวาเลนไทน์"

          ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยโครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนหัวข้อ "ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน"  กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 - 19 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 78.6 จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 21.4 ยอมรับอาจจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ 

          อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ออกตามระดับของแนวคิดรักนวลสงวนตัว พบว่า ในกลุ่มเด็กที่มองว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องสิทธิส่วนตัว โดยร้อยละ 48.9 ยอมรับอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ขณะที่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มองว่าต้องรักนวลสงวนตัวร้อยละ 86.1 ปฏิเสธมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด

          อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วง คือ ผลประมาณการเด็กและเยาวชนที่เอนเอียงยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ พบว่า ในกลุ่มเด็กและเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คนที่กำลังพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีผู้ที่เอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์จำนวน 283,990 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.4 ของทั้งหมด

          หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ข้อมูลที่สะท้อนภาพเชิงบวกคือเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 15.4 เคยมี แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่กำลังเสี่ยงต่อการมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพราะผลวิจัยพบว่า มีเพียงร้อยละ 21.1 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ใช้บางครั้ง และประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20.1 ไม่เคยใช้เลย

          นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 ระบุว่า การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนได้ รองลงมาคือ ร้อยละ 32.3 ระบุการเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมของผู้ใหญ่ในสังคมเป็นทางออก ร้อยละ 30.5 ระบุการมีแบบอย่างที่ดีในสถาบันการศึกษา ร้อยละ 28.4 ระบุสื่อมวลชนเสนอบุคคลที่ดีเป็นตัวอย่างคือทางแก้ปัญหา ในขณะที่ร้อยละ 24.3 ระบุการขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งในและรอบสถาบันการศึกษา และร้อยละ 23.5 ระบุการเพิ่มพื้นที่และสิ่งที่ดีๆ ทั้งในและรอบสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนได้

          ดร.นพดล ยังกล่าวถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อการเมืองของประเทศไทย พบว่าเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศ ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง ร้อยละ 10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน ร้อยละ 9.6 ระบุการเมืองไทยไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ร้อยละ 6.1 รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน

          ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ผลสำรวจ 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ซึ่งพบว่า ร้อยละ 28.3 ระบุเป็นเรื่องความฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก ของบรรดานักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 16.9 ระบุการทำตัวดี บุคลิกดี ร้อยละ 13.1 ระบุความเป็นผู้นำ ร้อยละ 12.8 ระบุพูดจาดี คุยดี ร้อยละ 11.8 ระบุความรับผิดชอบ ร้อยละ 9.8 ระบุความซื่อสัตย์ ร้อยละ 8.5 ระบุการทำงานหนัก ร้อยละ 7.0 ระบุการโต้เถียง ร้อยละ 5.9 ระบุความสามารถ และร้อยละ 5.2 ระบุการใช้อำนาจ

          ที่น่าสนใจคือ ถามว่า พอจะหานักการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อยละ 47.5 ระบุว่า หายาก แต่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.5 ระบุว่าพอหาได้ จากนั้นสอบถามชื่อนักการเมืองที่ชื่นชอบในเรื่องความดี คุณธรรม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 45.2 ของกลุ่มนี้ระบุ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือร้อยละ 23.2 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.4 ระบุนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ร้อยละ 15.7 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.9 ระบุนายชวน หลีกภัย และร้อยละ 8.3 ระบุนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตามลำดับ

          และเมื่อถามถึงดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุว่าหายาก ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุพอหาได้ โดยในกลุ่มนี้ร้อยละ 15.6 ระบุ เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) ร้อยละ 9.3  ระบุ อุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) ร้อยละ 8.7 ระบุนักร้องวงแคลช ร้อยละ 7.1 ระบุธงไชย แมคอินไตย์ และร้อยละ 6.8 ระบุวรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) ตามลำดับ

          อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 เห็นว่าการปกครองประเทศไทยแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี ขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุค่อนข้างดี ร้อยละ 18.6 ระบุปานกลาง ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่ระบุไม่ค่อยดีและไม่ดีตามลำดับ

          นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของเด็กและเยาวชนต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยยังดีกว่าการปกครองแบบอื่น ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 45.7 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.9 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 4.6 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่เห็นด้วย

          สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 เห็นด้วยต่อการนำหลักปรัชญาและวิถีปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 17.7 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 22.5 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่ไม่ค่อยเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามลำดับ

          หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนช่วงอายุนี้มีจำนวนทั้งสิ้นทั่วประเทศกว่า 7.5 ล้านคน และในอีกประมาณสี่ปีข้างหน้าพวกเขาจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกือบ 5 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีนัยสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ การทำวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของพวกเขาโดยมีฐานข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมไทย

          ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการกับสาเหตุของปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้เพราะบางอย่างเป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของชุมชนจะจัดการแก้ไขได้เพียงลำพัง เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เพราะมีคนใช้ยาเสพติดในชุมชน มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น มีสถานบันเทิงในชุมชน มีสถานบริการทางเพศใกล้


ข้อมูลจาก
 

หมายเลขบันทึก: 235408เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท