ตอนที่ 5 การรับรู้เรื่องเพศศึกษาในมุมมองของคนรุ่นใหม่


ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์เพศในทัศนะของวัยรุ่น

 

                                                                                                              สุนันท์  ปรารมย์ วท.. ศึกษาศาสตร์,

                                                                                                                                                                                                                                               ศศ..การแนะแนว  กศ..จิตวิทยาการศึกษา

 

            1.   สื่อ   ในชั้นเรียนไม่ชัดเจนไม่ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ ครูอธิบายไม่ชัดเจน ทำให้นักเรียนไปค้นหาต่อภายนอกชั้นเรียน

2.   สื่อ   โฆษณา กระตุ้นความอยากรู้ของวัยรุ่น เช่น

บุหรี่  เป็นเรื่องของผู้ใหญ่     ดังนั้นวัยรุ่นที่อยากเป็นผู้ใหญ่ก็จะสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น

“ sex  เป็นเรื่องของผู้ใหญ่      ดังนั้นวัยรุ่นก็จะรู้สึกอยากมี sex  เพราะ อยากเป็นผู้ใหญ่

ทัศนะของวัยรุ่นต่อการสอนเพศศึกษา

-ทุกฝ่ายพยายาม สอน Safety sex แล้ว Healthy  sex  ล่ะ ทำไม ผู้ใหญ่/ครูไม่สอนวัยรุ่น

-การสอนเพศศึกษาควรสอนตั้งแต่อนุบาล

-บาทของครูเป็นสิ่งสำคัญต้องทำให้นักเรียนรู้ว่า sex เป็นเรื่องธรรมชาติ และสอนแบบให้เกิด

ความอยากรู้ มากกว่า อยากลอง

-   ถ้าให้ความรู้มาก ทฤษฎีมาก ภาคปฏิบัติจะเป็นไปอย่างไร

-  ควรให้ความหมายของคำว่า เพศศึกษา / เพศสัมพันธ์  ซึ่งควรแยกต่างกันอย่างชัดเจน

-   ครูต้องสอนให้นักเรียนวัยรุ่นสามารถแยก ความรัก ความใคร่ ออกจากกันได้อย่างชัดเจน

เกิดความรัก    ตามด้วยความใคร่  สุดท้ายอยากครอบครอง

ฝ่ายหญิง  จะเริ่มรัก แล้วผูกพัน                      

ฝ่ายชาย   จะเริ่มด้วยความใคร่  ตามด้วยอยากผูกพัน

          เมื่อได้มี sex ก็อาจเริ่มรัก และอยากครอบครอง

- ความรู้สึกของผู้ชาย  รักแบบชาย คือ รักแบบอบอุ่น

            ความใคร่   คือ อยากได้ ครอบครอง

            ปัจจุบันมีสถิติของเด็กหญิงที่ถูกลวงละเมิดทางเพศในศูนย์พึ่งได้  พบว่า

-          เด็กหญิง  1000  คนในศูนย์พึ่งได้ จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถึง 800 คน

-          เด็กหญิง ร้อยละ 43 มาจากครอบครัวแตกแยก

-          ร้อยละ 42.2 ของเด็กที่ถูกกระทำ ถูกกระทำด้วย เพื่อน แฟน

-          ร้อยละ 54.7 ของเด็กที่ถูกกระทำรู้เรื่องถุงยางอนามัยแต่มีพฤติกรรมการใช้ถุงยางเพียงร้อยละ 9

-          ร้อยละ 13.7 ของเด็กที่ถูกกระทำ ถูกทำร้ายด้วย คนในครอบครัว เช่น ลุง อา พ่อ

-          ร้อยละ 11.8 ของเด็กที่ถูกกระทำ ถูกทำร้ายด้วยคนแปลกหน้า

-          ร้อยละ 13.5 ของเด็กที่ถูกกระทำ ถูกทำร้ายด้วยคนที่รู้จัก

 

ปัจจัยเสี่ยง

1.      พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสตะวันตก

2.      ปัญหาครอบครัว ด้านเศรษฐกิจของครอบครัว   ครอบครัวแตกแยก

3.      สถานที่ อาคารร้าง เส้นทางการเดินทางเปรี่ยว

สภาวะปัจจุบันเป็นวิกฤตทางเพศของเด็กวัยรุ่น ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการป้องกันแก้ไขปัญหา ด้วยเริ่มที่บ้าน ให้ความรัก ความรู้ ที่ถูกต้องกับเด็ก   ดร.สิริกร  มณีรินทร์  (รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ)  กล่าวว่า       

                        ครู        ต้องบูรณาการเพศศึกษาในทุกรายวิชา

                        สื่อ        มีส่วนในการรับผิดชอบต่อการให้เพศศึกษาที่เหมาะสมกับวัยรุ่น

                        ลูก        ต้องฝึกสติ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองครอบครัว สังคม (ต้องวิเคราะห์                    รู้จักตนเอง หาแนวทางแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง)

 

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องการให้ความรู้เรื่อง sex ของวัยรุ่น

1.  ระบบการสื่อสาร   การศึกษา การชี้นำจากครูถึงสิ่งที่ถูกต้องเกี่ยวกับ sex  อย่างเหมาะสมและเหตุผลที่ต้องอธิบายให้นักเรียนวัยรุ่นเกิดความเข้าใจ

2.  โรงเรียนควรมีการพัฒนาไปสู่ความเป็นบ้าน ครู   ต้องสวมบทบาทของแม่ และแม่ควรสวมบทบาทของความเป็นครู ให้ความรักและความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม

3.ทุกฝ่ายต้องเข้าใจปัญหาและหันหน้ามาคุยกัน เข้าใจถึงบทบาทของตนเอง

                        บ้าน      ทำหน้าที่ที่จะทำให้ลูกอยากกลับบ้าน

                        ครู        ทำหน้าที่ ของการให้ความรู้ที่ชัดเจน ไม่ปิดบังอำพราง

                        ลูก        ทำหน้าที่รับและปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นลูกให้ดีที่สุด

4.      ให้ทุกคนรู้จักให้กันมากกว่านี้ และทุกฝ่ายควรความรู้เรื่อง sex ให้มากกว่านี้ และควรให้sex(ให้

ความรักความอบอุ่น) แก่ลูก    แก่ศิษย์ 

5.      สถาบันการศึกษา ควรให้ความรู้เรื่องอนามัยทางเพศในเชิงรุก ให้มากขึ้น

 

 

 

…………………………………………………………………………………………………….

รมช. ดร.สิริกร  มณีรินทร์, คุณ  มธุรดา  คุโณปการ, นายแบ็งค์  งามอรุณโชติ,นายเทพฤทธิ์ วงษ์ภูมิ,

..พิมพ์ชนก ตุ้ยเติมวงศ์.     การเสวนา  การรับรู้วิกฤตการณ์เรื่องเพศในมุมมองของคนรุ่นใหม่ 

            วันที่ 25  มิถุนายน 2547 ณ ห้องเจ้าพระยาบอลลูน โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค.

หมายเลขบันทึก: 235405เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท