ข้อกังวลของพนักงานราชการ


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 วันนี้ได้พบกับพนักงานราชการ ประเภทครูผู้สอน ประมาณ 450 คน ซึ่งเดิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีกลุ่มตำแหน่งนี้อยู่ แต่ภายหลังประมาณ ปี 2549 เกิดการขาดแคลนบุคลากรประเภทครูผู้สอนจำนวนมาก อันเกิดจากการย้ายออกนอกพื้นที่  ครูอัตราจ้างก็ถูกปรับเป็นพนักงานราชการ ตามกรอบอัตรากำลังที่ได้รับจากรัฐบาล ทำให้ครูกลุ่มนี้เข้ามาแทนที่และดูแล้วเป็นกลุ่มที่มีความรู้และความสามารถกระตือรือร้นในการทำงานมาก

            ผมเดาเอาว่าถ้าเฉลี่ยอายุคงอยู่ที่ 33  ปีโดยประมาณและเป็นคนหนุ่มสาวที่มีพลังในการทำงานและผู้ที่ชุมชนให้การยอมรับในด้านความใกล้ชิดกับชุมชน เพราะนอกจากเป็นคนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทกันเป็นส่วนใหญ่

           อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พนักงานราชการกังกลที่จะให้รัฐดูแลในอนาคตมีหลายประการ ประกอบด้วย

  • ความมั่นคงในตำแหน่ง
  • การพัฒนาในการจัดกระบวนการสอน
  • การเท่าเทียมกับข้าราชการ
  • การจัดให้อยู่ใกล้บ้าน
  • การจัดกรอบอัตรากำลัง 4 ปีที่จะต่ออายุไปอีกไปอย่างต่อเนื่อง

          ผมชื่นชมคนรุ่นใหม่ ในการทำงาน ที่มีความมุมานะที่จะพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ และมุ่งหวังที่จะให้ชุมชนมีความเจริญไปในอนาคต  ขอชื่นชมครับ

คำสำคัญ (Tags): #กระตือรือร้น
หมายเลขบันทึก: 235214เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2009 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอให้กำลังใจคุณครูพนักงานราชการทุกท่านครับ :)

พนักงานราชการแต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการต่างจากข้าราชการ 2 ประการ

1.ไม่มีขีดใช้อินทรนูที่มากับเสื้อ

2.เข็มขัดสีดำ

  • มาให้กำลังใจ
  • คุณครูที่เป็นพนักงานราชการและครูภาคใต้ครับ
  • ถ้าสามารถทำให้เขามั่นคงในอาชีพได้
  • น่าจะดีกว่านี้นะครับ
  • เอาเด็กสุพรรณบุรีมาฝากครับ

-ขอบคุณครับ ดร.ขจิต แทนน้องๆพนักงานราชการด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท