บอร์ด กับการระดมทุน


 

          ระหว่างอ่านหนังสือ John Carver. Boards that Make a Difference : A New Design for Leadership in Nonprofit and Public Organizations. 3rd Ed., 2006. และผู้เขียนระบุ “ผลผลิตรอง” อย่างหนึ่งของ บอร์ด คือการระดมทุน (fundraising)    ผมก็เถียงในใจว่า    สำหรับมหาวิทยาลัยไทย เรื่องการระดมทุนมีข้อคิดอยู่ ๒ เรื่อง คือ (๑) บอร์ด มีน้ำยาน้อยกว่าฝ่ายจัดการ   (๒) ควรเปลี่ยนจาก “การระดมทุน” เป็น “การระดมทรัพยากร”   โดยตีความคำว่า “ทรัพยากร” ให้กว้าง   หรือจะใช้คำว่า ทุน ก็ได้ โดยต้องตีความให้กว้างกว่าทุนที่เป็นเงิน

          เรื่องการหาเงินบริจาคหรือเงินงบประมาณในมหาวิทยาลัยไทยนั้น    หน่วยงานที่มีโรงพยาบาลจะมีพลังมาก   โดยอาจเปิดรับบริจาคทั่วไป หรือจัดงานการกุศลโดยเชิญผู้มีบารมีมาเป็นประธาน   ที่จริงแม้ไม่ใช่โรงพยาบาล แต่เป็นมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป ก็อาจรณรรงค์หาเงินได้   เป็นความสามารถเฉพาะตัวบุคคลและการมีพรรคพวก    นายกสภาอย่างผมไม่มีฤทธิ์เลย

          ผมมีความเห็นว่า assets (สินทรัพย์) สำหรับทำหน้าที่มหาวิทยาลัยนั้น มีมากกว่าเงินมากมาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์ทางปัญญา    ที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยสามารถเชื่อมโยงให้ฝ่ายจัดการเข้าถึงได้ง่าย    ผมพบว่าในหลายกรณีฝ่ายจัดการไม่มองว่าเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่จะเอามาสร้างผลงาน    สินทรัพย์ดังกล่าวก็ถูกละเลยไป   คือไม่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้   เป็นอย่างนี้บ่อยมาก   เรื่องอย่างนี้น่าจะเป็นฝีมือของการจัดการ   คำว่า “แปลงสินทรัพย์เป็นทุน” ในองค์กรชนิดที่เป็นมหาวิทยาลัย   ต้องเน้น ทุนปัญญา (intellectual capital)

 

วิจารณ์ พานิช
๔ ม.ค. ๕๒

                    
                  

หมายเลขบันทึก: 234994เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท