ระบบ หลักการวางแผนการเงิน งบประมาณ


วางแผนการเงิน

ระบบ หลักการวางแผนการเงิน งบประมาณ : SPBB, ABC, MTEF, EVA, e Procurement, PART

 

ระบบ SPBB

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance-Based Budgeting  - SPBB)

หลักการสำคัญของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

1. การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result – Based Management: RBM) ให้ความสำคัญผลงานมากกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป

2. ผู้บริหารมีอิสระมากขึ้นในการบริหารการเงินควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงานตามข้อตกลงการทำงาน

3. รัฐหรือประชาชนได้รับผลประโยชน์จากความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐ

 

การวางแผนงบประมาณ

การที่จะให้หน่วยงานมีอิสระในการบริหารในขั้นต้นหน่วยงานจะต้องมีการวางแผนที่ดี สามารถทำให้รัฐบาลมองเห็นภาพของผลผลิต/กิจกรรมที่จะต้องจัดเตรียมงบประมาณให้ ตามต้นทุนที่ประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระบวนการวางแผนงบประมาณที่จะต้องดำเนินการคือ

1. จัดทำแผนกลยุทธ์ และแปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนดำเนินงาน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวหน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และการวัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจน

2. จัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

3. มีเกณฑ์จัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานปฏิบัติอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้

 

ระบบABC

 

การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม (Activity Base Costing: ABC)

Activity Base Costing เป็นการคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม ซึ่งแต่เดิม ณ. การคิดมูลค่าที่บัญชีแยกประเภทอาจให้ความสนใจน้อยเกี่ยวกับวิธีการเฉลี่ยค่าต้นทุน โดยอาจเป็นการตัดสินมูลค่านั้นๆ จากแผนกบัญชีเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลทำให้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ถูกแบ่งเฉลี่ยไปให้แต่ละฝ่ายหรือผลิตภัณฑ์ ไม่ถูกต้องเพียงพอ และในที่สุด ผลรวม ที่บัญชีแยกประเภทอาจจะไม่ตรง ถ้ามองบนพื้นฐานของ ABC ทั้งนี้มิได้หมายความว่าทุกอย่างที่ไม่ได้ทำแบบ ABC นั้นผิด

ลักษณะค่าใช้จ่ายของ ABC

n    สำหรับการจัดสรรค่าใช้จ่ายลงสู่กิจกรรม สามารถแบ่งประเภทของค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                ประเภทที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่สามารถกระจายลงสู่กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง (Direct Charge) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (หรือผลิตภัณฑ์) โดยตรง สามารถกระจายและจัดสรรลงได้ทันที เช่น ค่าวัตถุดิบ A (ใช้เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ A เท่านั้น) ย่อมสามารถกระจายสู่ผลิตภัณฑ์ A ได้โดยตรง หรือค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ A ก็ย่อมกระจายตรงสู่ผลิตภัณฑ์ A เช่นเดียวกัน

ประเภทที่ 2 ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถกระจายลงสู่กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง (Indirect Charge) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องอาศัยตัวผลักดันต้นทุน (Driver) ในการจัดสรรลงสู่กิจกรรม (หรือผลิตภัณฑ์) ซึ่งค่าใช้จ่ายประเภทนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องอาศัยกลไกของ ABC เช่น ค่าแรงงาน เงินเดือนค่าจ้างที่ใช้เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ A, B, C ย่อมต้องอาศัยตัวผลักดันต้นทุนช่วยในการกระจายค่าใช้จ่ายนี้ลงสู่ผลิตภัณฑ์ A ผลิตภัณฑ์ B และ ผลิตภัณฑ์ C ว่าควรจัดสรรลงแก่แต่ละผลิตภัณฑ์ เป็นจำนวนเท่าใด

 

ระบบ MTEF

 

แนวคิดและหลักการ  การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  (Medium Term Expenditure Framework: MTEF)

คำนิยาม  และลักษณะสำคัญการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

                                คำนิยาม การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium Term Expenditure Framework: MTEF) หมายถึง การจัดทำกรอบประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะ 3 5 ปี ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย / ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการในปัจจุบัน

ระยะเวลาของ MTEF จะประกอบด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีและประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า  โดยหลักสากลทั่วไปจะให้ระยะเวลาของแผนระยะปานกลางประมาณ 3 5 ปี

                                มีลักษณะเป็น  Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการปรับประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าทุกปี เมื่อเริ่มต้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีถัดไป เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ เช่น นโยบาย / ยุทธศาสตร์ใหม่ที่รัฐบาล กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีนั้นๆ สภาพการทางเศรษฐกิจและสังคม ผลการดำเนินงานของส่วนราชการ เป็นต้น

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

1. เพื่อรักษาวินัยทางการคลังในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของรายจ่าย เนื่องจากรัฐบาลจะทราบภาระของงบประมาณรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย / ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการในปัจจุบัน ซึ่งทำให้รัฐบาลเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินงานตามนโยบายต่าง ๆ (Bottom-up MTEF) ภายใต้งบประมาณที่ถูกจำกัดตามกรอบการคลังมหภาคของประเทศ (Top-down MTEF)

                2. เพื่อให้รัฐบาลมีกรอบในการวางแผนและตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกของจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ นโยบายการคลังระยะปานกลางและเป้าหมายทางเศรษฐกิจเช่น รัฐบาลสามารถตัดสินใจเพิ่มหรือลดวงเงินงบประมาณในแต่ละปีให้สอดคล้องกับเป้าหมายนโยบายการคลังระยะปานกลาง

3. เพื่อให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดผลผลิต และผลลัพธ์ที่ต้องการให้บรรลุผล แต่เนื่องจากผลผลิต และผลลัพธ์หลาย ๆ ประเภทไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น การจัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า จะทำให้เห็นความสอดคล้องของงบประมาณที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินการให้เกิดผลผลิต และผลลัพธ์ตามเป้าหมายภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดเป้าหมายการให้บริการ (สาธารณะ) และทำให้รัฐบาลสามารถนำมาใช้ ในการพิจารณาตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจัดสรรงบประมาณให้แก่ผลผลิตต่างๆ ที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่รัฐบาลต้องการต่อไป

4. เพื่อเป็นพื้นฐานของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี โดยนำแผนที่กำหนดไว้เดิมมาพิจารณาต่อเนื่อง กล่าวคือ ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าของปีที่ 1 จะนำมาใช้เป็นฐานในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีต่อไป ซึ่งจะช่วยลดภาระการพิจารณาคำของบประมาณในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหน่วยงาน   รัฐมนตรีที่กำกับดูแล และระดับหน่วยงานกลางในการพิจารณาภาพรวม โดยจะใช้เวลาในการมุ่งพิจารณารายละเอียดเฉพาะคำของบประมาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การทบทวนแผน/ผลการดำเนินงาน   และคำของบประมาณตามนโยบายใหม่

5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากส่วนราชการได้มีการวางแผนของตนเองภายใต้เป้าหมายยุทธศาสตร์ของประเทศ และการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งจะช่วยลดการขอเพิ่มงบประมาณที่เกินความจำเป็นในแต่ละปีได้

 

 

 

 

 

ระบบ EVA

 

มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์  Economic Value Added: EVA

EVA ชื่อย่อของ Economic Value Added เรียกเป็นไทยว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์นำมาตร EVA มาเป็นเครื่องมือวัดผลงานนานกว่า 20 ปีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม EVA เริ่มมีความโด่งดังหลังการปฏิวัติแนวทางเศรษฐศาสตร์การเงิน เมื่อประมาณ 25 ปีมานี้จากการวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ผู้มี ชื่อเสียงสองท่านคือ Joel M.Stern และ Bennett Stewart III

                นักเศรษฐศาสตร์มีแนวความคิด  ในการสร้างมูลค่าเพิ่มนั้นองค์กรจะต้องสร้างกำไรให้ได้มากกว่าแค่  การชำระต้นทุนการดำเนินงานแต่ต้องเพียงพอที่จะชำระต้นทุนเงินของผู้ถือหุ้นในองค์กรอีกด้วย

EVA ให้ความสำคัญสูงสุดกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม

การสร้างมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  การนำทรัพยากรไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้สูงสุด  หากไม่มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว การใช้ทรัพยากรขององค์กรจะเป็นไปอย่างสิ้นเปลือง และสังคมโดยรวมสูญเสียมูลค่าทางโอกาสในการสร้างคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น

 

ระบบ e – Procurement

 

การจัดซื้อ จัดจ้าง ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ e – Procurement

e - Procurement คือ เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ขาย การทำ e - Catalogue  รวมถึงการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web Base Application  เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ ใช้ระยะเวลาน้อยลง ได้สิ่งของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เพิ่มความโปร่งใส และสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้ทำให้เกิดความยุติธรรมต่อภาคธุรกิจ และยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ขาย

จุดมุ่งหมายของ e – Procurement

1. เป็นมิตรกับธุรกิจขนาดเล็ก (Small-Business Friendly) เพียงแค่ธุรกิจนั้นๆ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต เป็นการเพิ่มเวทีการแข่งขันไปสู่ธุรกิจขนาดเล็ก และให้โอกาสธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงการจัดซื้อของรัฐ

                2. ลดขั้นตอนที่ต้องใช้กระดาษในการติดต่อและทำธุรกรรม

                3. สามารถปรับปรุงการจัดซื้อให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อและการแข่งขัน ของผู้ค้าต่างๆเป็นการช่วยสร้างฐานข้อมูลในการปรับปรุงการจัดซื้อครั้งต่อๆไป

                4. ลดระยะเวลาในการจัดซื้อ เนื่องจากดำเนินการแบบ Real Time บนอินเตอร์เน็ต การเสนอราคา ต่อหน่วยราชการก็ทำกันบนฐานของนาที แทนที่จะเป็นวันหรือสัปดาห์ในแบบเดิม ผลที่ได้รับคือ ลดงบประมาณที่ใช้ในการบริหารการจัดซื้อลง 60 - 70%

กระบวนการของ E-Procurement โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มจาก

1. การคัดเลือกผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย

2. ติดต่อขอใบเสนอราคา

3. ขออนุมัติในการสั่งซื้อ

4. ออกใบสั่งซื้อให้ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย

5. ระบุจำนวนและกำหนดระยะเวลาส่งมอบ

6. การจัดส่งสินค้า

7. การออกใบเรียกเก็บเงิน

8. การชำระค่าสินค้าและบริการ 

 

ระบบPART

 

เครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ  (Performance Assessment Rating  Tool  :  PART)

PART เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างแผนของหน่วยงานกับความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ ผลผลิต กิจกรรม งบประมาณ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเป็นการประเมินผลเพื่อการปรับแผนการปฏิบัติในอันที่จะสามารถรองรับกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance – Based Budgeting:  SPBB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูประบบราชการของไทยในปัจจุบัน

เครื่องมือ PART ประกอบด้วยคำถาม 5 ชุด

1. จุดมุงหมายและรูปแบบ เพื่อทราบถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางเปาหมายยุทธศาสตรของชาติกับเปาหมายยุทธศาสตรของกระทรวงและเปาหมายการใหบริการของกรม (หรือเทียบเทา) รวมทั้งการตอบสนองความตองการตอกลุมเปาหมาย ซึ่งเปนพื้นฐานในการวางแผนกลยุทธของหนวยงาน การเชื่อมโยงผลผลิตกับงบประมาณ การบริหารจัดการและการกําหนดตัวชี้วัดระดับผลผลิตและผลลัพธเพื่อการประเมินผลของหนวยงาน โดยอางอิงจากกฎหมายตาง ๆ ที่เกี่ยวของ แผนยุทธศาสตร แผนปฏิบัติการแผนงบประมาณและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ

2. การวางแผนกลยุทธ เพื่อใหหนวยงานกําหนดแผนกลยุทธใหสอดคลองเชื่อมโยงกับการบรรลุเปาหมายเชิงยุทธศาสตรชาติ เปาหมายการใหบริการของกระทรวงและเปาหมายการใหบริการของหนวยงาน

3. การเชื่อมโยงงบประมาณกับผลผลิต เพื่อทราบถึงการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปและความเชื่อมโยงระหวางผลผลิตกิจกรรมและงบประมาณ/ทรัพยากรรวมทั้งการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จตามระยะเวลาที่กําหนดทุกกิจกรรมหลัก

4. การบริหารจัดการของหนวยนําสงผลผลิต เพื่อทราบถึงระบบบริหารจัดการในดานการวางแผนระบบสารสนเทศ และระบบขอมูล การนําตนทุนตอหนวยผลผลิตไปใชประโยชนกระบวนการการวัดผลการดําเนินงานและ/หรือปรับปรุงการดําเนินงานใหมีประสิทธิภาพและความคุมคาการตรวจสอบทางการเงินและการประเมินบุคคลที่สัมพันธกับการนําสงผลผลิต

5. การประเมินผลผลิตและผลลัพธ เพื่อทราบถึงความกาวหนาของผลผลิตและผลลัพธ ประสิทธิภาพในการดําเนินงานความคุมคาเชิงเศรษฐกิจและ/หรือสังคม การเทียบเคียงผลผลิตของสวนราชการและหนวยงานเอกชนอื่นและผลการประเมินจากผูประเมินอิสระ

 

หมายเลขบันทึก: 234597เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท