วิจัยในชั้นเรียน


เรื่องคำควบกล้ำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                   ทักษะการเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนภาษาไทย  เพราะทักษะ     การเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความคิด สติปัญญา ตลอดจนทัศนคติและสามารถนำไปใช้ในชีวิตปะจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางสังคมในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน บุคคลมีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ซึ่งทักษะการเขียน เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความเข้าใจของตนเองออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างกว้างขวางและสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ การเขียนที่ไม่สมบูรณ์เพราะเขียนสะกดคำผิด หรือข้อความผิดย่อมทำให้การ สื่อสารขาดประสิทธิภาพ ทั้งอาจก่อให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงได้ เช่น กรณีเขียนหนังสือสัญญาต่างๆ ไม่ถูกต้อง (พวงเล็ก  อุตร 2533 : 174) ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนสะกดคำควบกล้ำของนักเรียนตั้งแต่เริ่มต้น  ถ้าละเลยข้อบกพร่องนั้นไปจะทำให้นักเรียนเขียนผิดได้ตลอดไป ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาระการเรียนรู้

 

วัตถุประสงค์

           1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

                   2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนคำควบกล้ำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4  ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ

 สมมุติฐานการวิจัย

           1. ได้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ  สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ

ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80

                   2. นักเรียนมีความสามารถการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ

หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

 

ขอบเขตของการวิจัย

              ผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น  2  ขั้นตอน  โดยกำหนดขอบเขตของการวิจัยดังต่อไปนี้

                ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ

              1. ขอบเขตเนื้อหา

                           1.1 เนื้อหาที่ใช้สร้างชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ ใช้เนื้อหาจาก หนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยการฝึก  1  ชุดฝึก 

                   2.  ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

                        2.1 นักเรียนกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ  โรงเรียนบ้านขุนห้วยช่องแคบ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน  12  คน

                   3.  ขอบเขตด้านตัวแปร

                           3.1  ประสิทธิภาพของชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ 80/80  

ขั้นตอนที่ 2  การเปรียบเทียบความสามารถการเขียนคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4

                   1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

                          ขั้นตอนในการเปรียบเทียบความสามารถการเขียนคำควบกล้ำ ผู้วิจัยได้กำหนดของเขตด้านเนื้อหา  เรื่องการเขียนคำควบกล้ำ

                   2. ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล

          ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนบ้านขุนห้วยช่องแคบ  อำเภอพบพระ   จังหวัดตาก    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2

                        กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2551

โรงเรียนบ้านขุนห้วยช่องแคบ   อำเภอพบพระ  จังหวัดตาก  จำนวน  14  คน  ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Samping)

                   3. ขอบเขตด้านตัวแปร

                          3.1 ตัวแปรที่ศึกษา

                                3.1.1  ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การใช้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ แบ่งเป็น

                                       3.1.1.1    ก่อนการใช้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ

                                       3.1.1.2    หลังการใช้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ

                                   3.1.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่ความสามารถการเขียนคำควบกล้ำ

                          3.2  เวลาที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่  การดำเนินการทดลองใช้ชุดฝึกการเขียน

คำควบกล้ำ  6  ชั่วโมง

นิยามศัพท์เฉพาะ

                   ­ความสามารถในการเขียนคำควบกล้ำ หมายถึง  ทักษะของนักเรียนในการเขียนคำที่

ควบกล้ำ  ร ล ว  ได้ถูกต้อง โดยวัดจากทดสอบวัดความสามารถการเขียนคำควบกล้ำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

                   ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ หมายถึง ชุดฝึกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ฝึกทักษะ

การเขียนคำควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

                   แบบวัดความสามารถเขียนคำควบกล้ำหมายถึง  แบบทดสอบวัดความสามารถ

การเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  เพื่อใช้ทดสอบ

ก่อนเรียนและหลังเรียน

                   ประสิทธิภาพชุดฝึกของชุดฝึกเขียนคำควบกล้ำ หมายถึง  ชุดฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 โดย

     80     ตัวแรก  คือ  คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการทำชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำเป็นร้อยละ  80

                   80  ตัวหลัง  คือ  คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียนในการทำ

                                           แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนคำควบกล้ำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   1.  ได้ชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีประสิทธิภาพ

                   2.  เป็นการแก้ปัญหานักเรียนที่ขาดทักษะเขียนซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญใน

การเรียนรู้ในระดับสูงดีขึ้น

                   3.  เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการสอนอ่านต่อไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

                   

การศึกษางานวิจัยในชั้นเรียน  การสร้างชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร กรอบแนวคิด ทฤษฎี

และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัย ดังนี้

                   1. หลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย

                           1.1  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544

                           1.2  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

                           1.3  แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

                           1.4  หลักการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

                   2. คำควบกล้ำ

                   3. การเขียนและการสอนเขียน

                           3.1 ความหมายของการเขียน

                           3.2 การสอนเขียน

                           3.3 จุดมุ่งหมายของการสอนเขียน

                           3.4 ลำดับในการสอนเขียนคำ

                           3.5 หลักการสอนเขียนคำ

                   4. ชุดฝึก

                           4.1  ความหมายของชุดฝึก

                           4.2  หลักการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชุดฝึก

                           4.3  ประโยชน์ของชุดฝึก

                           4.4  หลักการสร้างชุดฝึก

                           4.5  ลักษณะของชุดฝึกที่ดี

                           4.6  ประสิทธิภาพของชุดฝึก

วิธีดำเนินการ

                      การดำเนินการสร้างชุดฝึกการเขียนคำควบกล้ำ เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียน

 

                 

                  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 233558เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นางรัตนา พันธ์พิทักษ์

เป็นงานวิจัยที่ดีมากคะ กำลังเรียน ป.โทอยู่ กำลังหาตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนอยู่พอดี ขอบคุณที่เผยแพร่ผลงาน ขอบคุณมากคะ

ขอบคุณสำหรับงานชิ้นนี้มากค่ะ

หนูกำลังศึกษาข้อมูลเพื่อทำเป็นรายงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท