การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

        

                    ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จะต้องได้รับความร่วมมือกับ                 นักคอมพิวเตอร์  นักการศึกษา  และผู้เชี่ยวชาญของสาขาวิชาที่จะสร้างบทเรียน  โดยประชุมตกลง     ในรายละเอียดของเนื้อหาที่จะใช้สอนแล้วดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2538.หน้า  13) 

               1.   วิเคราะห์ความจำเป็นในการสร้างบทเรียน  เป้าหมายของบทเรียน  และวิธี       การสอนที่บรรลุถึงเป้าหมาย

               2.  ออกแบบบทเรียน  โดยคำนึงถึงกิจกรรมบทเรียนต่าง ว่าต้องมีอะไรบ้าง  จึงจะบรรลุเป้าหมายของวิชาที่ได้วางเอาไว้  งานส่วนนี้จะต้องแยกทำเป็นสองส่วน  คือ  กำหนดกิจกรรมโดยสังเขปก่อนแล้วจึงแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย

               3.  การพัฒนาบทเรียน เป็นการจัดสร้างบทเรียนเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

              4.  ประเมินผลบทเรียน  ในช่วงการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้แล้วก็เป็น           การทดสอบบทเรียน  โดยใช้กลุ่มนักเรียนทดสอบเพื่อการใช้งานหรือการเรียนของนักเรียนว่า        บทเรียนที่ใช้เรียนนั้นใช้งานได้ดี  และบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่  ถ้าหากใช้งานได้ไม่ดี หรือมีที่ผิดอื่น ก็จะแก้ไขดัดแปลงต่อไปในอีกช่วงหนึ่ง  คือหลังจากการนำบทเรียนไปสอนหรือใช้งานแล้ว บทเรียนนั้นอาจต้องแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ได้

               5.  นำบทเรียนไปใช้งานจริง  ระหว่างการใช้งานนั้นครูอาจสรุปผลได้แน่นอนอีกครั้งหรือหลายครั้งว่าบทเรียนที่จัดสร้างขึ้นนั้นสมบูรณ์แล้วหรือยังถ้ายังก็มีการปรับปรุงแก้ไขได้อีก

                    พิทักษ์  ศิลรัตนา  (2531.  หน้า  38 41)  กล่าวว่า  ขั้นตอนในการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ว่าสามารถแบ่งได้เป็น  8  ขั้นตอน  ดังนี้

       1.  ระบุเหตุผลว่าเหตุใดจึงเลือกเนื้อหาวิชานั้น  และทำไมจึงใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                    2.  กำหนดวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดคุณสมบัติและสิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียนทั้งก่อนและหลังการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมตัวทราบจุดมุ่งหมายในการใช้โปรแกรมช่วยสอน   

                    3.  ลำดับขั้นตอนในการทำงานเป็นการกำหนดรูปแบบในการทำงานของโปรแกรม       ช่วยสอน  เพื่อบอกลักษณะและลำดับการทำงานของโปรแกรม  ให้ผู้ที่จะนำโปรแกรมไปใช้สามารถ จัดหาอุปกรณ์และสภาพการทำงานในการใช้โปรแกรม

                    4.  สร้างโปรแกรมเป็นการแปลต้นฉบับที่อยู่ในกระดาษเป็นชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

                    5.  ทดสอบการทำงานคือการนำโปรแกรมที่สร้างมาทดสอบการทำงานของโปรแกรมและหาข้อบกพร่อง  เพื่อนำข้อมูลต่าง มาปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับและตัวโปรแกรม

     6.  ปรับปรุงแก้ไขเมื่อทราบข้อบกพร่องแล้วก็จะปรับปรุงแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็น

ที่น่าพอใจของผู้ออกแบบคือนักการศึกษาจึงจะนำไปใช้งาน

                    7.  ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน  คือการนำโปรแกรมช่วยสอนไปใช้ในการเรียนการสอนโดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

                    8.  ประเมินผลเพื่อสรุปว่าโปรแกรมที่สร้างขึ้นนั้น  สมควรนำไปใช้ในการเรียน         การสอนหรือไม่

        ขั้นที่  1,2  และ  3  เป็นการกำหนดคุณลักษณะของรูปแบบของโปรแกรมช่วยสอน        จัดเป็นงานของนักการศึกษาหรือนักวิชาการที่มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่จะสอน  ตลอดจน      หลักจิตวิทยา การศึกษา  ทฤษฎีการศึกษา  วิธีการสอนและการประเมินผลทางการศึกษา

        ขั้นที่  4,5  และ  6  เป็นการสร้างแบบทดสอบและปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมช่วยสอน      เป็นงานของผู้เชี่ยวชาญเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้

        ขั้นที่  7  และ  8  เป็นการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  ซึ่งจะเป็นการประสานงานระหว่างนักการศึกษากับนักคอมพิวเตอร์  เพราะมีการเกี่ยวข้องในการออกแบบในการสร้างโปรแกรม

        ขั้นตอนที่  8  เป็นการประเมินขั้นสุดท้ายที่จะตัดสินใจว่าโปรแกรมช่วยสอน  ที่จะพัฒนาขึ้นนี้  มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่

                    ไพโรจน์  ตีรณธนกุล  (2538.  หน้า  74)  ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์         ช่วยสอนไว้ว่าการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องได้รับความร่วมมือจากนักคอมพิวเตอร์ 

นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญของสาขาวิชาที่จะสร้างบทเรียน  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิ  แสดงวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

(ทักษิณา  สวนานท์  2530  :  221)

 

เป้าหมายของบทเรียน

วัตถุประสงค์ของรายวิชา

เนื้อหา

วิเคราะห์เนื้อหา

ประเมินผล

สอบ<span style="font-family: "Times New Roman"; mso-fareast-font-family: 'Angsana New'; mso-hansi-font-family: CordiaUPC; m

หมายเลขบันทึก: 233030เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องนี้ เพราะกำลังทำเรื่องนี้พอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท