รำโนรา ท่าสิบสอง


รำท่าสิบสองนั้นแต่ละสายครูก็ต่างหลากหลายกันไป นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของการรำโนราครับ

ท่าสิบสอง

คำว่าท่าสิบสองนี้หลายท่านคงไม่เคยได้ยิน แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการการแสดงโนรา  ต้องรู้จักกันเป็นอย่างดีแน่ๆ  เพราะคำว่า"ท่าสิบสอง"ก็คือท่ารำเบื้องต้นของการฝึกหัดรำโนรานั่นเองครับ

แต่มีความแตกต่างกันออกไปหลายกระแส  ตามแต่ละครูอาจารย์ครับ ว่า "ท่าสิบสอง" ประกอบด้วยท่าอะไรบ้าง

บางกระแส  คำว่า"ท่าสิบสอง"ก็คือท่ารำที่แม่ศรีมาลาทรงสุบินเห็นเหล่ากินรีมาร่ายรำเป็นท่าทางต่างๆจำนวนสิบสองท่า  แล้วพระนางก็ทรงเอาท่าเหล่านั้นมาเป็นแบบอย่างในการแสดง ฝึกหัดให้แก่สนมนางใน ของราชสำนักพัทลุง  (ควรอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับตำนานการแสดงโนรา) เช่นท่าเทพพนม  ท่ากินนร  ท่าบัวตูม  ท่าบัวแย้ม  ท่าบัวบาน  ท่าลงฉาก ท่าหงส์ลีลา  ท่าแมงมุมชักใย  เป็นต้น

บางกระแสกล่าวว่า "ท่าสิบสอง" ก็คือกระบวนท่าการรำทั้งหมดของโนรา ซึ่งได้แก่ ท่าครูสอน  ท่าสอนรำ  ท่าปฐม ท่าขอเทริด ท่าเฆี่ยนพราย ท่าเกี้ยวทับ ท่าโลมปี่ ท่าคล้องหงส์ เป็นต้น

บางกระแส กล่าวว่าท่าสิบสอง เป็นท่าของการหัดรำเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการวางตำแหน่งของมือจีบ มือรำ  กระแสนี้มีการประพันธ์คำร้องประกอบการรำและใช้ในการฝึกหัดโนรามาจนทุกวันนี้  แต่ก็นับว่ามีความเก่าแก่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับอายุของการแสดงโนรา 

บทประพันธ์ดังกล่าว แต่งโดย โนราหีด  บุญหนูกลับ แต่งไว้ว่า

"ท่าที่หนึ่งประนมมือขึ้นตรงหน้า  ไหว้พ่อแม่ที่มาอย่าเย้ยสรวล

ท่าที่สองจีบไว้ข้างอย่างกระบวน  ที่สามเลื่อนเปลี่ยนมือขวาซัดท่ารำ

ท่าที่สี่จีบไว้ข้างวางเพียงเอว  เปลี่ยนมือเร็วท่าที่ห้าดูน่าขำ  

ท่าที่หกจีบไว้หลังให้ตั้งประจำ  เปลี่ยนมือรำท่าที่เจ็ดขึ้นให้เด็ดดี

ท่าที่แปดจีบไว้ข้างให้วางเพียงบ่า  เปลี่ยนมือขวาซัดไว้ให้เข้าที่

ท่าที่สิบจีบเหมอหน้าให้ท่าพอดี  สิบเอ็ดมีเปลี่ยนมือรำทำตามครู

ท่าสิบสองเขาควายซัดให้เป็นวง  จุดประสงค์เครื่องหมายเอาไว้เพียงหู

รำท่าสิบสองให้พี่น้องดู  รำตามครูสอนมาแต่ก่อนกาล

รำท่าแม่ลายขยายท่า  ตามโนราแบบศิลป์ในถิ่นฐาน

รำท่าครูสอนมาแต่ก่อนกาล  แบบโบราณศิลป์ใช้ปักษ์ใต้ไทย"

 

สำหรับท่าทางต่างๆนั้นขออธิบายที่ละท่าไปเลยนะครับ

 

ท่าที่หนึ่งประนมมือขึ้นตรงหน้า  ไหว้พ่อแม่ที่มาอย่าเย้ยสรวล

คำกลอนก็บอกไว้ตรงเลยครับว่าเริ่มท่าแรกก็เริ่มด้วยท่าพนมมือ  แต่ว่าใครจะพนมแบบไหนก็ตามที่ครูสายนั่นสอนกันมาครับ  เช่น

    1.แบบแขนท่อนล่างขนานพื้น กระพุ่มมือพนมตั้งขึ้น

    2.แบบแขนท่อนล่างขนานพื้น พระพุ่มมือพนมเข้าหาอก

    3.แบบลดปลายแขน ให้หัวแม่โป้งอยู่ระดับลิ้นปี่

    4.แบบลดปลายแขน ให้หัวแม่มืออยู่ระดับสะดือ

    5.อื่นๆ

 

ท่าที่สองจีบไว้ข้างอย่างกระบวน  ที่สามเลื่อนเปลี่ยนมือขวาซัดท่ารำ

ท่าที่สองนี้มือขวาติดอยู่ในท่าพนมเหมือนเดิม แต่ให้ผู้รำปาดมือซ้ายไปจีบคว่ำ เหยียดแขนตึง  และยกแขนขึ้นนิดนึงเพื่อให้จีบอยู่ในระดับเดียวกันกับไหล่

ท่าที่สามทำสลับข้างจากท่าที่สองพร้อมกันทั้งสองมือ คือเปลี่ยนมือซ้ายจากจีบมาตั้งตรงตำแหน่งที่พนมมือ ส่วนมือขวาก็ปาดออกไปจีบคว่ำ เหยีดแขนตึง และยกแขนขึ้นนิดนึงเพื่อให้จีบอยู่ในระดับเดียวกันกับไหล่

 

ท่าที่สี่จีบไว้ข้างวางเพียงเอว  เปลี่ยนมือเร็วท่าที่ห้าดูน่าขำ

ท่าที่สี่ มือซ้ายจากท่าที่สามมาจีบหงายตรงระดับสะเอวแขนท่อนบนแนบลำตัว แขนท่อนล่างขนานพื้น ส่วนมือขวาจากท่าที่สามจีบคว่ำ เปลี่ยนมาเป็นยกแขนท่อนล่างขึ้นเป็นวงสูงฉาก และเปลี่ยนมือเป็นมือรำ

ท่าที่ห้า ทำสลับกันกับท่าที่สี่พร้อมกันทั้งสองมือ คือปาดมือเปลี่ยนแขนซ้ายขึ้นเป็นวงสูงฉาก มือขวามาจีบหงายตรงระดับสะเอว

 

ท่าที่หกจีบไว้หลังตั้งประจำ  เปลี่ยนมือรำท่าที่เจ็ดขึ้นให้เด็ดดี

ท่าที่หก แขนซ้ายยกวงสูงฉากลง มาจีบหงายตั้งอยู่กลางหลัง  แขนขวาจากจีบในท่าที่ห้าก็ยกขึ้นเป็นวงสูงฉาก

ท่าที่เจ็ด ทำสลับกับท่าที่หกพร้อมกันทั้งสองมือ

 

ท่าที่แปดจีบไว้ข้างวางเพียงบ่า  เปลี่ยนมือขวาซัดไว้ให้เข้าที่

ท่าที่แปด แขนซ้ายในท่าที่แล้วเป็นวงสูงฉาก ให้ลดวงลงมาเป็นรูปตัววี มือจีบให้อยู่ในระดับเดียวกับบ่า(ไหล่) ส่วนมือขวาท่าที่แล้วเป็นมือจีบ ให้เหวี่ยงแขนขึ้นเป็นวงสูงฉาก

ท่าที่เก้า ทำสลับกับท่าที่แปดพร้อมกันทั้งสองมือ

 

ท่าที่สิบจีบเหมอหน้าให้ท่าพอดี  สิบเอ็ดมีเปลี่ยนมือรำทำตามครู

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนครับว่า"เหมอ(เหมฺอ)" หมายถึง เสมอ นั่นเองครับ

ท่าที่สิบจึงเปลี่ยนแขนซ้ายจากมือรำวงสูงฉาก ในท่าที่เก้า มาเป็นจีบคว่ำเสมอกับใบหน้า ห่างประมาณหนึ่งคืบ ส่วนมือขวาก็ซัดขึ้นเป็นท่าวงสูงฉาก

ท่าที่สิบเอ็ดก็ทำสลับกันกับท่าที่สิบ พร้อมกันทั้งสองมือ

 

ท่าสิบสองเขาควายซัดให้เป็นวง  จุดประสงค์เครื่องหมายเอาไว้เพียงหู

ท่าสุดท้ายท่าเขาควายครับ ท่านี้ก็มีหลายแบบครับ บางครูอาจารย์ก็ว่าคือท่าวงสูงฉากนั่นเอง

บ้างก็ว่าคล้ายวงสูงฉากแต่ให้ลดระดับมือลงให้อยู่แนวเดียวกันกับใบหู เหมือนดั่งในคำกลอนบอกไว้

บางท่านก็ว่าให้มืออยู่ระดับเดียวกับใบหูนั้นถูกแล้ว แต่ไม่ใช่เกิดจากการลดวงแขนลง แต่ให้แขนเป็นวงสูงฉากแล้วปรับแขนท่อนล่างไปด้านหน้า ให้มือเสมอใบหู ท่านี้คนดูก็จะเห็นฝ่ามือผู้รำ และเหมือนกันกับเขาควายจริงๆ คือไม่มีเหลี่ยมมุม แต่จะเป็นวง เรียวโค้ง

สำหรับท่ารำที่แตกต่างนี้ ครูอาจารย์แต่ละท่านก็อาจจะมีการเลือกใช้ตามความเหมาะสมครับ เช่นบางท่านแคร์ที่ความสง่างามของท่ารำ บางท่านแคร์ความถูกต้อง  บางท่านแคร์เรื่องความเคร่งครัดที่ครูตนเองสอนมาไม่ยอมปรับเปลี่ยนอะไรเลย  อันนี้ก็เป็นความหลากหลายซึ่งก็นับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของโนราครับ

นี่คือระเบียบวิธีของท่ารำทั้งสิบสองท่าครับ  ซึ่งนำมารำประกอบกับการร้องก็มี  บางคณะนำมาประกอบกับการรำในจังหวะท่าครู  โดยรำเดินเป็นวง 

l -ปะ -ป๊ะ l -ป๊ะ -ป๊ะ l -ป๊ ป๊ะ- lเถิ่งเทิงเถิงตุ้ง lเถิ่งเทิงเถิงตุ้ง l เถิ่งเทิงเถิงตุ้งl เถิ่งเทิงเถิงตุ้งlเถิ่งเทิงเถิงตุ้ง l

  

  

  

  

   
 

 

การรำโนราท่าสิบสองนั้นมีประโยชน์ด้วยนะครับ สามารถรักษาโรคได้ ครั้งต่อไปจะนำมาเล่าสู่กันฟัง

แต่ตอนนี้ลองไปลองรำดูกันก่อนครับไม่ยากเลย 

รูปภาพอาจจะเล็กไปหน่อย แต่ในไฟล์อัลบั้มมีรูปขนาดใหญ่กว่านี้ครับ

----------

เขียน-แสดงแบบ : กฤษฎา  วิสัยรัตน์

ถ่ายภาพ : ไชยรัตน์  บำรุงสุข

หมายเลขบันทึก: 233028เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีปีใหม่ 2552 ค่ะ

มีความสุขในทุกๆวันนะคะ

โชคดี ตลอดปีและตลอดไป

J สุขภาพแข็งแรงค่ะ J

สุดยอดค่ะ สอนน้องจิบ้างนะ น้องจิอยากรำโนราเป็นค่ะ อิอิ

อฐิษฐาน พระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เบิกชีวิต ให้แจ่มใส และไพศาล

เจริญสุข สรรเสริญ เจริญงาน

ทรัพย์ศฤงคาร อนันต์ใน ปีใหม่เทอญ

สวัสดีปีใหม่ครับ..

โนราแต่ละท่ารำมีความสวยงามและอ่ออนช้อยสวยงามและใครทีที่รักโนราก็ขอหัยรักตลอดไปนะ

เด็กนครศรีชอบโนราห์

พี่เก่งจังคับ

 

 

สี้สาี้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท