อิเล็กทรอนิกส์


อิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปสื่อมัลติมีเดีย  ที่มีทั้งภาพและเสียงแต่ลักษณะการนำเสนอเป็นรูปแบบคล้ายหนังสือ  จึงเป็นของแปลกใหม่  และมีข้อแตกต่างกับหนังสือธรรมดา  สำหรับในประเทศไทยยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการแต่ก็มีผู้ใช้คำนิยามเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                ในยุคสาระสนเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี  โดยเฉพาะเทคโนโลยี

คอมพิวเตอร์ที่วิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด  จนเกินยุคแห่งข้อมูล(Data)  ข่าวสาร ( Information) หรือความรู้( knowledge) ที่เรียกว่า  ไร้พรมแดน  ซึ่งบุคคลสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มาจัดเป็นหมวดหมู่  เพื่อสนององค์ความรู้  เพิ่มเติมแต่งสิ่งที่ดึงดูดใจ  ทั้งภาพเคลื่อนไหว แสงเสียง  จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

                ปัจจุบันไอทีมีบทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสื่อสารความรู้ผ่าน

ระบบอินเทอร์เน็ต ( Internet )  ทำให้เกิดการเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย  และส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปได้ไกลทั้งในรูปแบบเสียง ภาพ   ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  โดยที่ระยะทางไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล   ซึ่งเห็นจากระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ  ( World  wide  web )  สถาบันการศึกษาต่างๆ จะส่งเสริมพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น  หรืออีกชื่อหนึ่งที่ได้ยินมากขึ้นว่า E-Leaming  ดังนั้นหนังสือพิมพ์  ตำราวิชา  หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ อุปกรณ์สำคัญทางการเรียนรู้จึงมีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาให้ถูกจัดในรูปแบบเช่นนี้เช่นกัน

                หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ปรากฏเป็นครั้งแรก ในยุคทศวรรษที่  40  เมื่อครั้งเป็นยุคทอง

ของนิยายวิทยาศาสตร์  และในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เริ่มมีการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเอกสาร  PDF  ( PDF  file ) สามารถดาวน์โหลดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  ต่อมาบริษัทต่าง ๆ ได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นมาจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยตรง  ซึ่งสามารถเพิ่มภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  วีดีโอ  เพลง ต่าง ๆ ได้  และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้  และที่สำคัญสามารถเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้บนเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์  ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้  ได้แก่  Desktop  Author,Flip Album,Flash  เป็นต้น  จึงทำให้หนังสือที่เคยเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ  กลับมามีคุณค่า  มีชีวิตชีวา  เป็นที่ดึงดูดใจของผู้อ่าน  ส่งผลให้มีการส่งเสริมการอ่านหนังสือมากขึ้น

 

   ความหมายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง  หนังสือเล่มที่ถูกดัดแปลงให้อยู่ให้รูป

อิเล็กทรอนิกส์  ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลได้จากคอมพิวเตอร์  มีลักษณะข่าวสารเป็นพลวัต  หากต้องการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำโดยดึงข้อมูล ( Download ) มาจากอินเทอร์เน็ต  หรือ  ซีดีรอม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถในการทำไฮเปอร์เท็กซ์  ค้นหาข้อความ  ทำหมายเหตุประกอบ  และการทำสัญลักษณ์มีใจความสำคัญ  ( อ้างใน  สุชาดา  โชคเหมาะ,2539, หน้า 1-2 )

                พรทิพย์  โล่เลขา  ( 2540, หน้า  174 ) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง  หนังสือและ

ตำราอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ต  ซึ่งผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด ( Download )  รายละเอียดหนังสือทั้งเล่มมาอ่านบนจอคอมพิวเตอร์  และนำรายละเอียดมาพิมพ์บนกระดาษหรือก็อปปี้ (copy ) ข้อมูลลงแผ่นดิสก์ก็ได้  โดยไม่ต้องนั่งอ่านที่ห้องสมุด

                ครรชิต  ศุถนราพรรค์ ( 2504 หน้า  175 ) กล่าวไว้ว่า  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 

หมายถึง  รูปแบบการจัดเก็บและเสนอข้อมูลหลากหลายรูปแบบ  ทั้งที่เป็นข้อความ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  ข้อมูลมีวิธีเก็บลักษณะพิเศษ  นั่นคือจากแฟ้มข้อมูลหนึ่งผู้อ่านสามารถเรียกดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทันทีโดยที่ข้อมูลนั้นอาจอยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออาจจะอยู่ในแฟ้มอื่น ๆ ที่ห่างไกลได้

 

 

                “WTechEncyclopedia” ( 1991,p.1 ) กล่าวว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ฉบับ

กระเป๋าซึ่งสามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้  สามารถจัดทำสำเนาได้  ทำบุ๊คมาร์คและทำหมายเหตุประกอบได้

                “What  is  an e-books”  (1999,p. 1 )  ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือทั้งที่มีและไม่มีตัวจริง  โดยมีรูปแบบการอ่าน  3  แนว  คือ  ดึงข้อมูลออกมาและพิมพ์ข้อมูลโดยผู้ใช้งาน  อ่านโดยตรงจากจอคอมพิวเตอร์  และอ่านโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ  ได้แก่  ไลเบรียสมิลลิเนียมอีบุ๊ครีดเดอร์ ( Librius  Millennium  Ebook  Reader )  ร็อกเก็ตบุ๊ค  เป็นต้น

                จากความหมายที่กล่าวมา  สามารถสรุปได้ว่า  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เป็นเอกสาร 

จากหนังสือหลาย ๆ เล่ม  มาจัดทำในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใส่และนำข้อมูลได้ทั้งข้อความ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  ผ่านจอคอมพิวเตอร์  โดยเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์ของเนื้อหา  ที่อยู่ในแฟ้มเดียวกัน  โดยไม่จำกัดว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใด

 

   รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกได้  เป็นหลายรูปแบบด้วยกันดังนี้ 

( อ้างใน  เพ็ญนภา  พัชรชนม์,2544, หน้า  14-21 )

                รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามลักษณะการเข้าถึงข้อมูล

และการอ่าน

                ( Collis, 1991,p.1 ) รูปแบบนี้จะเป็นการแบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้

ชัดเจนมากที่สุดกว่าทุก ๆ แบบที่มีโดยแบ่งออกเป็น

                               หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิง (Automated  Rooks) หนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงใช้การเข้าถึงข้อมูลในลักษณะการสุ่ม (Random) ผู้อ่านจะค้นหาคำที่ต้องการทราบและอ่านจนจบเนื้อหานั้น  จากนั้นจึงค้นหาที่ต้องการทราบต่อไปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงสามารถดูภาพจากฐานข้อมูลเอนไซโคปิเดีย จัดเป็นแหล่งทรัพยากรซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาหรืออ่านหนังสือที่มีอยู่ได้ง่ายมาก ในอนาคตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพหรือปริมาณในการบรรจุของฐานข้อมูล และทางที่ผู้อ่านสามารถค้นหาและใช้ข่าวสาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องคงไว้ซึ่งโมเดลการอ้างอิงอยู่

                               หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Automated Textbook Books) หนังสือ

เรียนอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ่แบบอ่านไปตามลำดับ (Sequence) จากนั้นก็จะมีการอ่านเนื้อหาเหล่านั้นไปเรื่อยๆ จนจบบท และอาจอ่านบทต่อไปตามลำดับหรือเลือกหัวข้อใหม่ตามความสนใจของผู้อ่าน หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะแตกต่างจากหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ตรงที่ผู้อ่านจะมีความคาดหวังที่จะได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบนี้จะเป็นตัวเสริมคำนิยามของหนังสือเรียนโดยจะขยายความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียนทางอ้อมโดยใช้สื่อหลากหลายชนิด

 

                 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามช่องทางการสื่อสาร

(Barker,1992) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

                                หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารทางเดียว เป็นหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับสารได้เพียงช่องทางเดียว เช่น ใช้ตาดู หรือใช้หูฟังแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Text Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Picture Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายภาษา (Talking Books) เป็นต้น

                                หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารหลายทาง เป็น

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับข่าวสารได้หลายช่องทาง เช่น ใช้ตาดู ใช้หูฟัง ใช้มือสัมผัสหน้าจอ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม (Multimedia Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวมสื่อ (Poly Media Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Books) เป็นต้น

                รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามหน้าที่ (Barker, 1992, p. 140)

สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

                                 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเก็บเอกสารสำคัญ (Archival) จะมีที่

เก็บข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ในรูปแบบของฐานข้อมูล วิธีใช้งานผู้ใช้ขั้นปลายสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างหนังสือประเภทนี้ ได้แก่ สารานุกรมโกรเลียร์ (Grolier Encyclopedia) สารานุกรมมัลติมีเดียคอมพ์ตัน (Compton’s Multimedia Encyclopedia) เป็นต้น

                                                 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ข่าวสารความรู้ ( Information )  จะมี

ลักษณะคาบเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบแรก  แต่ข่าวสารจะกินความแคบกว่าแบบแรก  และมีลักษณะเฉพาะมากกว่า  มีความสัมพันธ์กับหัวข้อเรื่องใดหัวข้อเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  ตัวอย่าง  เช่น  หนังสือเรียนแพทย์ศาสตร์ออกซฟอร์ดบนซีดีรอม  หนังสือรายชื่อเพลงนิมบัส ( Nimbus  Music  Catalogue ) เป็นต้น

                                     หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน ( Instructional )  เป็นหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ  และมีประโยชน์อย่างมากในการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญ  เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การอบรม  ผู้เรียนจะได้รับความรู้และทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตน  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้บางส่วนจะมีการประเมินและประยุกต์ตามรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนจะมีการนำเสนอให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน  ตัวอย่าง  ได้แก่  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอสำหรับคอมพิวเตอร์พื้นฐานการอบรม  ( Computer – Based  Training )

                                    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบตั้งคำถาม  ( Interrogational  ) 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการทดสอบ  สอบย่อยและประเมินผลกิจกรรม  โดยวัดจากความรู้ที่ได้จากการศึกษาหัวข้อที่เกี่ยวข้อง  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบตั้งคำถามจะประกอบด้วย  3  ลักษณะที่สำคัญคือ  ธนาคารตั้งคำถามหรือแบบฝึกหัด,  ข้อสอบ  ,ลักษณะการประเมินผลและระบบผู้เชี่ยวชาญ  จะมีการวิเคราะห์ผลที่ได้จากการเรียน  มีการแข่งขันและพิจารณาให้ระดับที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน

                                  รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามชนิดของข้อมูลข่าวสารและเครื่องอำนวยความสะดวก ( Barker ,1992, p.  140-141 )  สามารถแบ่งออกเป็น 10ประเภท  คือ

                              1. หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์  ( text  Books )  ในระยะแรกจะมี

เส้นตรงมีโครงสร้างเป็นตัวอักษร ( Text ) ต่อมาจะมีลักษณะเป็นมัลติมีเดียมากขึ้นโดยใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์เท็กซ์ในการนำเสนอ

                                    2 .หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง  ( Static  Picture  Books)  จะ

ประกอบไปด้วยภาพนิ่งหลาย ๆ ชนิดรวมกัน  ภาพแต่ละภาพจะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของงาน

                             3.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว  (Moving  Picture  Books) 

มีโครงสร้างจากภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ  ( Animation  Clips )  หรือภาพวีดีโอ  ( Motion  Video  segment )  หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

                              4.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายภาษา  ( Talking  Books)  จะมี

ลักษณะเป็นเนื้อหาประกอบคำบรรยาย  เพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน             

                                     5.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม  ( Multimedia  Books )  เป็น

การรวมช่องทางการสื่อสารสองช่องทางหรือมากกว่านั้นเข้าไปด้วยกันเพื่อเข้ารหัสข่าวสาร  เป็นการรวมตัวอักษร  ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมารวมไว้ด้วยกันตามโครงสร้างแบบเส้นตรง  เมื่อผลิตเสร็จสื่อจะออกมาในรูปแบบของสื่อเดียว  ได้แก่  จานแม่เหล็กหรือซีดีรอม

                                                                                                       6.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวมสื่อ  ( Poly  Media  Books ) มีลักษณะ

ตรงกันข้ามกับหนังสือสื่อเล็กรอนิกส์สื่อประสม  โดยใช้การรวมสื่อที่แตกต่างกันได้แก่ ซีดีรอม จานแม่เหล็ก  กระดาษ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอื่น ๆ  เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้ใช้

                             7 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไฮเปอร์มีเดีย   ( Hypermedia  Books)  จะมี

ลักษณะคล้ายกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม  คือ ใช้สื่อสารหลายช่องทาง 

คำสำคัญ (Tags): #อิเล็กทรอนิกส์
หมายเลขบันทึก: 232938เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2009 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยินดีต้อนรับ อาจารย์ ดร.ธารทิพย์ แก้วเหลี่ยม สู่ ชุมชนเสมือนแห่งนี้ครับ ... :)

ฤกษ์ดีวันที่ 1 มกราคม 2552 นี้เลยหรือครับ :)

 

รักนะเด็กโง่

ขอให้เรียนเก่งเก่งนะ

ข้อความนี้ดี..........

บายยยยยยยยยยย.....ยยยย..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท