การประกันคุณภาพ|สถาบันการอาชีวศึกษา|สอศ.


สถาบันการอาชีวศึกษา

 

รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ศิริพรรณ  ชุมนุม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในการประชุมวางแผนการตรวจประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่  และบรรยายพิเศษ ซึ่งได้ให้ข้อคิดสำหรับผู้ที่จะเป็นผู้ประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ได้นั้นจะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งยัง

* หาทางออกให้ได้สำหรับปัญหาต่าง ๆ
* ต้องเป็นผู้ที่รู้มากกว่าและดีกว่าบุคคลอื่น
* ชี้แนะแนวทางที่ครูหรือสถานศึกษาจะได้รับประโยชน์
* การประกันคุณภาพไม่ใช่เป็นการโชว์เอกสาร
* การประกันคุณภาพจะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนา

 
Photobucket
นักเรียน ปวช. วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง จ.เชียงใหม่

 

ผู้ที่จะเป็นนักการศึกษาได้นั้นจะต้องมี 3 มิตินั้นคือ

1.  หาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อยู่เสมอและถ้าจะทำด้านการประกันคุณภาพก็ต้องศึกษาให้มีความรู้อย่างถ่องแท้
2.  รู้แล้วจะต้องใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์  ซึ่งความรู้นั้นเกิดจากการปฏิบัติ การอ่าน การฟัง การสอบถาม
3.  และจะต้องเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น
 

การทำงานทางด้านคุณภาพเป็นเรื่องที่จะต้องทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นวัฒนธรรมขององค์กร  ไม่ใช่ทำเพราะเป็นเทศกาลใดเทศกาลหนึ่ง ทำอย่างไรให้แผนที่เขียนไว้อย่างสวยงามนั้นนำไปสู่แนวทางในการปฏิบัติจริงได้   

ปัญหาคุณภาพของสถานศึกษานั้น  ไม่ต้องรอเงินงบประมาณเพียงอย่างเดียว ทั้งไม่ต้องรอนโยบาย กรอบของนโยบายนั้นมีทางออกของมัน ซึ่งคงจะไม่แตกต่างจากของเดิมมากนัก เพราะทุกอย่างคิดถึงคุณภาพที่จะเกิดกับเด็ก นั้นคือ  "คุณภาพของเด็กคือหัวใจของอาชีวศึกษา"  บางครั้งสิ่งที่พบก็คือ เงินที่ได้แตกต่างกันและผลก็แตกต่างกันด้วย สุดแล้วแต่ว่า  การบริหารของผู้นำสถานศึกษานั้น ๆ  คำว่า  Leader ก็เป็นเรื่องสำคัญ

 

assurance 

นักเรียน ปวช. วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง จ.เชียงใหม่



 

การทำงานปีหน้านี้ มีตัวแปรทางด้าน negative เกิดขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจทั้งระดับโลกที่เกิดขึ้น ลามมาถึงสถานการณ์ในประเทศเราเองและแถบเอเชีย  สถานศึกษาจะต้องตั้งรับกับปัญหาต่างๆ  อย่างเช่น  สถานประกอบการที่มีการ layoff พนักงาน  จะส่งผลถึงจำนวนสถานประกอบการที่สถานศึกษาได้ติดต่อให้ความร่วมมือกัน อาจจะต้องจำกัดพนักงานและจำนวนนักศึกษาที่จะนำไปฝึกงาน   ค่าใช้จ่ายที่จะจัดสรรให้กับนักศึกษาที่ออกไปฝึกงานหรือโครงการที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องกระทบเช่นกัน อีกทั้งยังมีเรื่องของงบประมาณที่จะมีการวางแผนในปีงบประมาณหน้า ที่จะต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบเช่นกันอาจจะไม่ได้ตามที่ขอไป 

ดังนั้น ยุคนี้ก็คงจะต้องนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้กับการทำงาน  บ่อยครั้งที่เราจะเห็นวัฒนธรรมของ สอศ.  ไม่ว่า จะให้ทำโครงการอะไร แล้วพวกเราสามารถทำได้ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีงบประมาณ เป็นการกระโจนเข้าไปสู่งาน ซึ่งก็เห็นว่า เป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตาม คงจะต้องระมัดระวังสำหรับการทำงานในช่วงปีต่อไป ที่จะต้องตั้งตัวให้ดี

 

การส่งผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครู สอศ.  ก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงใช้หลักการเช่นเดียวกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของ สพฐ. โดยมีศูนย์กลางในแต่ละภาคสำหรับรับผลงาน และมีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาเป็นชุด ๆ เพื่อพิจารณา

 

สถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นกฎหมายได้นั้น เราเริ่มมาตั้งแต่ 2542 จนคณะกรรมการดำเนินการร่วมกันหลายท่านได้เกษียณอายุไปก็มาก ซึ่งตอนนี้มีแนวทางอยู่ 2 แบบคือ แบบแรก ยกเอาสำนักต่าง ๆ มาตั้งอยู่ในสถาบันการอาชีวศึกษา ผู้อำนวยการฯ จะเทียบเท่าอธิการบดี และรองผู้อำนวยการก็เท่ากับรองอธิการบดี  แบบที่สอง จะตั้งเป็นสถาบันเล็ก ๆ ทำเฉพาะนโยบายหรือแผนบางอย่าง ส่วนมาตรฐานยังอยู่ที่ สอศ. เป็นผู้กำหนด สถานศึกษาใดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็จะตั้งตามสาขานั้น ๆ และผู้อำนวยการก็เป็นคณบดีของสาขานั้น ๆ เป็นศูนย์กลางด้านหลักสูตร  มาตรฐานการจัดการเรียนการสอน  ดูแลงบประมาณ  ประสานงานกับสถานประกอบการ โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของคณบดี  ดังนั้น  ผู้จบการศึกษาของสถาบันแห่งนี้ก็จะได้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมดในสาขาเฉพาะด้านที่กำหนดนั้น  ซึ่งการจัดตั้งสถาบันก็ยังไม่ได้ข้อยุติและต้องหาวิธีที่ดีที่สุดต่อไป

หมายเลขบันทึก: 232055เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2008 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท