กระบวนการ วิธีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน


กระบวนการ วิธีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน : กรณีศึกษา บ้านสมสะอาด หมู่ 2 ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปี 2551

กระบวนการ วิธีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

 : กรณีศึกษา บ้านสมสะอาด หมู่ 2 ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปี 2551

กรณีปกติ

1.       รณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์

2.       สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดยคณะกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลายระดับหมู่บ้าน

3.       เฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานการณ์ แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ไม่ให้เกิน 10

 

กรณีเกิดโรค

1.       ควบคุม และกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย โดยการพ่นหมอกควัน รัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย (ดำเนินการร่วมกับสถานีอนามัย อบต. และทีมสอบสวนโรคระดับอำเภอ)

2.       จัดประชุมประชาคมเพื่อสร้างความตระหนักและให้ประชาชนรับรู้สถานการณ์โรค พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการควบคุมโรคร่วมกัน

3.       จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้มีค่า HI เท่ากับ 0 ภายใน 7 วันหรือภายในสัปดาห์แรกที่พบผู้ป่วยในหมู่บ้าน

4.       จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทุก 7 วัน ให้มีค่า HI เท่ากับ 0 ต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ 

5.       ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน รายงานเจ้าหน้าที่ทุกวัน

6.     สรุปผลการดำเนินงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกสัปดาห์

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

                จากการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายของ อสม. แต่ละคน พบว่ามีชาวบ้านบางหลังคาเรือนไม่ให้ความร่วมมือในการช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่ให้ความร่วมมือในการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ ทำให้ผลการสำรวจมีค่า HI เกิน 10  ต่อมาจึงประชุมทีม อสม. ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิก อบต.ประจำหมู่บ้าน หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และได้แนวทางแก้ไขคือ กำหนดให้มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์โดยคณะกรรมการ (อสม. และผู้นำหมู่บ้าน) โดยคณะกรรมการจะออกสำรวจลูกน้ำเป็นทีมเดียวกัน ในกรณีที่หลังคาเรือนใดไม่ให้ความร่วมมือ ก็ใช้วิธีการให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้พูดประณีประนอมขอความร่วมมือ ประกอบกับทีมคณะกรรมการสำรวจลูกน้ำช่วยกันลงมือทำเป็นตัวอย่าง  รวมทั้งมีการดำเนินการตามมาตรการข้อบังคับประชาคมหมู่บ้านเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเคร่งครัด  ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ปัจจุบันคณะกรรมการสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญคือทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ปฏิบัติงานสำรวจลูกน้ำในหมู่บ้านด้วย เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นกิจวัตรทุกเดือน  นอกจากนี้ยังพบว่า มีค่า HI น้อยกว่า 10  และไม่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (ปี 2551 มีผู้ป่วย 2 ราย เป็นพี่น้องกัน อาศัยอยู่ด้วยกัน ได้มีการควบคุมโรคตามมาตรการของทางสถานีอนามัยและมาตรการของหมู่บ้าน ทำให้ควบคุมโรคได้ภายใน 1 สัปดาห์ และไม่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น)

                                                              ----------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 231860เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2008 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท