เริ่มต้นโครงการเกมเฉลิมพระเกียรติ ฝนหลวง




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ทั้งศิลปะ ดนตรี กีฬา การสื่อสาร การเกษตร และวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบในพระราชหฤทัยว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม แต่ราษฎรทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเพาะปลูกทุกปี จึงทรงมีพระราชดำริคิดหาวิธีการเพิ่มความชุ่มชื้นให้เกษตรกร จากที่ทรงศึกษาวิทยาศาสตร์ทำให้ทรงทราบว่า มนุษย์สามารถเร่งให้เกิดฝนตกได้ โดยการควบแน่นก้อนเมฆให้เกิดเป็นหยดน้ำ พระองค์จึงทรงรับสั่งให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ดำเนินการทำฝนหลวงเป็นครั้งแรก ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน

ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอันหาที่ สุดมิได้ องค์การเกมโอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย จึงมอบหมายให้นายวรวิทย์ บุญมั่นแสนสุข ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการเกมเฉลิมพระเกียรติ "น้ำพระทัยจากฟากฟ้า มาสู่ดิน" ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากเพื่อนๆ ทำให้สามารถเริ่มต้นไปได้ด้วยดี คาดว่าโครงการเกมนี้จะสำเร็จในช่วงเดือนกรกฎาคม 2552 และเผยแพร่ให้ได้เล่นกันอย่างแน่นอน

ที่มาของข้อมูล
เว็บไซต์โครงการในพระราชดำริฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร http://202.44.204.117/

เกมฝนหลวง ถ่ายทอดออกรายการ Clickzone วันที่ 28 ธค. 51 เวลา 11.35 น. ช่อง ทีวีไทย Thai PBS

ความคืบหน้าของเกมในปัจจุบัน

เวอร์ชันทดสอบ น้ำพระทัยจากฟากฟ้า มาสู่ดิน ขั้นตอนที่ 3 ของการทำฝนหลวง
หน้าที่ดูแล : โดยฝ่ายวิศวกรรม ใ นความรับผิดชอบของ Game Programmer และ Sun Developer
ผู้ควบคุมงาน : วรวิทย์ บุญมั่นแสนสุข ฝ่ายวิศวกรรม ศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ไดเมนชัน พลัส



ภาษาที่ใช้ : JAVA
คณะที่ยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จ : ฝ่ายสถาปัตยกรรม , ฝ่ายงานสามมิติ , ฝ่ายงานเทคนิคพิเศษ

ไม่ได้เพิ่มบันทึกมาระยะหนึ่ง เพราะกำลังพัฒนาเกมนี้อยู่ครับผม

คำสำคัญ (Tags): #ฝนหลวง#เกม
หมายเลขบันทึก: 231857เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2008 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

 

สุขสันต์ วันคริสต์มาสค่ะ

อิอิ มีความสุขมากๆนะค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท