สิทธิคุ้มครองตน..ของผู้ขับขี่ยวดยาน..ตามกฎหมายจราจรทางบก


เราขับรถใช้ถนนกันทุกวัน...หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ไม่เราก็เขาที่เสียหาย...รู้เรื่องกฎหมายจราจรกันดีกว่าคะ

สิทธิคุ้มครองตนว่าด้วยการขับขี่ยวดยาน..ของกฎหมายจราจรทางบก

เตือนใจ  เจริญพงษ์

   เรื่องนี้ส่วนหนึ่งที่ผู้ขับขี่..ยวดยาน ทั้ง รถยนต์ และรถจักรยานยนต์
  มักละเลยที่จะรู้ข้อกฎหมาย  ...
  จึงมีผลทำให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ
.................................................................................................................
ดูเป็นข้อมูลธรรมดามากๆ...
แต่ท่านเชื่อใหม...ว่าเราไม่ค่อยสนใจจะเรียนรู้จริงสักเท่าไร
…………………………………………………………………………..
อ่านหน่อยนะคะ.......เป็นข้อมูลจากกฎหมายจราจรทางบกคะ
เพื่อจะได้....ไม่กระทำผิดกฎหมาย
และ...ไม่ต้องถูกจับกุมดำเนินคดีเป็นจำเลยในคดีแพ่งและคดีอาญาอีกด้วย
 .........................................................................................................................................
                      เรื่องแรก    การใช้เสียงสัญญาณที่ก่อกวนผู้อื่น
…………………………………………………………………………………
มีรถยนต์เก๋ง  รถยนต์โดยสารประจำทาง  หรือรถยนต์บรรทุกสิบล้อจำนวนหนึ่งที่ใช้สัญญาณด้วยเสียงแปลกประหลาดหรือดังเกินสมควรในการขอทางเพื่อแซงผู้อื่นทำให้เกิดความรำคาญแก่รถอื่น ๆ  หรือทำให้รถคันอื่นตกใจ  บางครั้งตกใจจนเกิดอุบัติเหตุถึงบาดเจ็บล้มตายก็มี  มาตรา 13 บัญญัติห้ามไว้ดังนี้  การขับรถตามหลังรถคันอื่น
………………………………………………………………………………………………………….
“มาตรา  13  ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถชนิดในทางเดินรถใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ  เสียงสัญญาณไซเรน  เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร  หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
……………………………………………………………………………………………………………

เรื่องที่สอง  การบรรทุกคนหรือสิ่งของต้องมีสิ่งป้องกัน
……………………………………………………………………………………

เวลาที่ท่าน....ขับรถไปตามถนน
จะเห็นว่ามีรถบรรทุกสิ่งของหลายคัน เช่น รถบรรทุกอ้อย  ขยะ กิ่งไม้ ดิน ทราย ฯลฯ โดยไม่มีสิ่งป้องกันการตกหล่น ทำให้สิ่งของตกสู่พื้นถนนเกิดความสกปรกหรืออาจหล่นใส่รถที่แล่นตามหลังเกิดอุบัติเหตุได้  ดังนั้น มาตรา 20  จึงบัญญัติไว้ว่า
……………………………………………………………………………………
“มาตรา  20  ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล  ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ  ทำให้สกปรก เปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน”
..................................................................................................................................
เรื่องที่สาม การให้ไฟสัญญาณเมื่อจะหยุดหรือเลี้ยว
………………………………………………………………………….
....การเกิดอุบัติเหตุนั้นหลายครั้งเกิดจากการไม่ให้สัญญาณเมื่อจะหยุดรถหรือจะเลี้ยวรถ  ทำให้รถที่ขับตามมาหรือรถที่แล่นสวนไม่ทราบเกิดอุบัติเหตุชนกันบ่อยครั้ง ดังนั้น มาตรา 38  จึงบัญญัติกำหนดไว้ดังนี้
………………………………………………………………………………….
“มาตรา 38 การให้ไฟสัญญาณของผู้ขับขี่รถยนต์หรือรกจักรยานยนต์ให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
…………………………………………………………
(1)  เมื่อจะหยุดรถ  ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณสีแดงที่ท้ายรถ
(2)  เมื่อจะเลี้ยวรถ  หรือเปลี่ยนช่องเดินรถ   ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพัน  หรือให้ไฟสัญญาณกระพริบสีขาวหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่หน้ารถหรือข้างรถ และไฟกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถไปในทิศทางที่จะเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องเดินรถ
(3)  เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า  ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพันหรือให้ไฟสัญญาณกระพริบสีแดงหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถทางด้านซ้ายของรถ” 
……………………………………………………………………………………..

เรื่องที่สี่  การขับรถตามหลังรถคันอื่น
………………………………………………………………………………….
มักจะมีคำถามว่ากรณีขับรถตามหลังคันอื่นจะต้องเว้นระยะห่างไว้เท่าใด  เรื่องนี้กฎหมายมิได้กำหนดว่าต้องเว้นระยะเท่าใดแต่จะต้องอยู่ห่างพอสมควร  เพื่อว่าหากคันหน้าหยุดรถกะทันหันคันที่ขับตามหลังจะได้หยุดรถได้ทัน  มิฉะนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถคันหน้ามีการบาดเจ็บล้มตายกันได้  แต่ในทางปฏิบัติเราจะพบว่ามีผู้ขับขี่รถยนต์ด้วยความประมาทหรือคึกคะนองโดยจะขับรถติดชิดท้ายรถคันหน้าด้วยความเร็วสูงที่เรียกภาษาพูดว่า “ขับจี้” ซึ่งนับว่าน่ากลัวอันตรายเป็นอย่างยิ่ง และมักจะทำไฟกระพริบไล่รถคันหน้าให้หลีกทางให้ตน กฎหมายมาตรา 40 บัญญัติว่า
…………………………………………………………………………………
“มาตรา 40 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ
……………………………………………………………………………………..
ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชันต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังโดนรถคันอื่น”
สำหรับบุคคลบางคนที่ชอบหยุดรถแกล้งคนอื่น เช่น ขอแซงไม่ได้ดังใจเมื่อแซงได้แล้วจะแกล้งขับรถปาดหน้าในระยะกระชั้นชิด  เพื่อให้อีกฝ่ายตกใจหรือบางครั้งแกล้งหยุดรถในระยะกระชั้นชิดเพื่อให้คนขับตามหลังชนท้ายรถตนแล้วอ้างกฎหมายว่าขับรถชนท้ายตนต้องรับผิดชอบ การแกล้งหยุดรถกระชั้นชิดปิดทางเดินรถที่แล่นตามมานี้  หากเกิดอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บล้มตายกันขึ้น คนที่แกล้งขับรถเช่นนี้อาจมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288  ซึ่งบัญญัติว่า
……………………………………………………………………………
“ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี (ไม่ใช่โทษฐานกระทำโดยประมาทซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี) ดังมีคำพิพากษาฎีกาตัวอย่างในเรื่องนี้คือคำพิพากษาฎีกาที่ 2255/2522  พิพากษาว่า การที่จำเลยแกล้งหยุดรถปิดทางเดินรถของผู้อื่นเป็นเหตุให้บุคคลนั้นต้องตัดสินใจเสี่ยงภัยขับรถอกไปช่องทางเดินรถขวามือและชนกับรถที่แล่นสวนมาเป็นเหตุให้มีความตาย จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
...........................................................................................................................................
เรื่องที่ห้า  ข้อห้ามบางประการที่มิให้ผู้ขับขี่ขับรถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
การขับขี่รถนั้น มิใช่ว่าเมื่อมีใบอนุญาตให้ขับขี่รถได้แล้วจะขับอย่างไรก็ได้ อย่าไปเฉี่ยวชนกับผู้อื่นก็แล้วกัน  ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเพราะมีหลายกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้ขับขี่ที่มีลักษณะต่อไปนี้ทำการขับขี่รถ เช่น เมาสุรา หรือห้ามขับรถในลักษณะวิธีการที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว เช่น ขับรถด้วยความเร็วสูงแซงซ้ายแซงขวามาตลอดทาง ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้า เป็นต้น ฯลฯ  ดังนั้น  หากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นผู้ขับขี่ในลักษณะดังกล่าวก็สามารถจับกุมได้ หรือพลเมืองดีพบเห็นผู้ขับขี่ที่มีลักษณะเช่นนั้น  ก็อาจใช้โทรศัพท์มือถือโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรหรือตำรวจทางหลวงให้สกัดจับล่วงหน้าก็จะดี เพราะหากปล่อยให้ขับไปเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายผู้อื่นได้เสมอ  กฎหมายที่ห้ามการขับขี่ในลักษณะดังกล่าวคือ  มาตรา  43  ซึ่งบัญญัติว่า
…………………………………………………………………………………….
“มาตรา  43  ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
(1)    ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
(2)    ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(3)   ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(4)   โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว   อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(5)   ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา  หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง   ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
(6)  คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ  เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ  เลี้ยวรถหรือกลับรถ
(7)  บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
(8)  โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
………………………………………………………………………………………

เรื่องที่หก.  การจอดรถในกรณีเครื่องยนต์ขัดข้อง
………………………………………………………………………………….
คดีรถชนกันนั้นหลายกรณีเกิดจากการที่รถเครื่องยนต์เสียหรือขัดข้องไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้จนต้องจอดไว้ข้างถนนและไม่ทำสัญญาณเตือนไว้  ทำให้ผู้ขับขี่รถบนถนนคันอื่น ๆ ไม่ทราบว่าเป็นรถที่เสียจอดอยู่โดยเฉพาะเวลากลางคืน แล้วไปชนท้ายรถที่จอดไว้ข้างทางจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายกันอยู่เสมอ  ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ กฎหมายจึงบัญญัติว่า กรณีจอดรถข้างทางนั้น ผู้ที่จอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดแล้วเกิดมีผู้มาชนท้ายเข้าก็อาจตกเป็นผู้ต้องหาว่าประมาทร่วมกันได้ โดยมาตรา 56 บัญญัติว่า
…………………………………………………………………………………….
“มาตรา  56  ในกรณีที่เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องจนต้องจอดรถในทางเดินรถ  ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง  ถ้าจำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางทางจราจร  และต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”
……………………………



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท