หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ Patho Otop1 ตาได้คุยกับทีมงานในการพัฒนางานต่อไปแต่ยังหาเวลาที่ลงตัวไม่ได้ จนกระทั่งการนำเสนอกิจกรรม ส6. ที่เพิ่งผ่านมา ท่านคณบดีได้ถามว่าสามารถใช้เครื่องทำการทดสอบ reticulocyte count ได้ใช่มั้ย "ตาได้เรียนท่านคณบดีตามตรงว่า ใช้ได้แต่ไม่ได้ใช้ เพราะค่าใช้จ่ายแพงไม่คุ้ม "ท่านถามต่อว่า "เครื่องและที่ทำอยู่รายจ่าย/รายเท่าไร" ตาได้ตอบว่า "80/40 บาท/ต่อราย" ท่านบอกว่า "1ชั่วโมงได้ 40 บาท ไปขายเต้าฮวยดีกว่าพร้อมกับยิ้ม" ก็ขอฝากเรียนท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายจะเพิ่มค่าทดสอบ หรือจะใช้วิธีใดทำการทดสอบก็ตาม ก็ขอให้นึกถึงผู้ป่วยที่มีฐานะค่อนข้างลำบากด้วยค่ะ
และถึงแม้ว่าในอนาคตจะมีการทดสอบ reticulocyte count ด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ หรือเปลี่ยนสารกันเลือดแข็งเป็นชนิดใดก็ตาม ใช่ว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จากการที่ได้ร่วมเข้าโครงการพัฒนางาน Patho Otop1 ตาได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ reticulocyte พบว่า RNA ในเม็ดเลือดแดงสามารถอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 24-48 ชั่วโมง กว่าจะเปลี่ยนเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ จึงนำเรื่องนี้ปรึกษากับทีมงาน และ อ.เม่ย เพื่อเก็บตัวอย่างตรวจเดิมที่ส่งตรวจทำการทดสอบ reticulocyte count มาทำการศึกษาทดสอบหาค่า reticulocyte count เพื่อนำค่าที่ได้มาขยายผลในการจัดเก็บตัวอย่างตรวจไว้ทำการทดสอบ reticulocyte count ในวันถัดไป แต่ยังไม่ได้สมัครเข้า Patho Otop2 ค่ะ