มีอะไรในงาน Tokyo Pack 2008


Tokyo International Packaging Exhibition 2008

มีอะไร.....   ในงาน  Tokyo International Packaging Exhibition 2008

โดย.....   M  r . I  D  -  M  r   .    a  n  d    Missis.   P  A  C  K ;

บทความจาก....       ฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์    มทร.ล้านนา

............................................................

เริ่มเดินทาง ...

ว่ากันว่าการจัดงานระดับใหญ่ที่สุดของโลกที่จะขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น มีอยู่ 2 งาน คือ งานมอเตอร์โชว์   และงานโตเกียวแพค     โดยงานโตเกียวแพคนั้น มีการจัดงานขึ้นในทุกๆ 2 ปี   อย่างเช่นปี 2008 นี้ จัดขึ้นภายใต้ชื่อว่า Tokyo Pack  2008 (Tokyo International Packaging Exhibition 2008)  และโตเกียว แมท 2008  (Tokyo International Material  Handling Exhibition 2008) ระหว่างวันที่ 7 10 ตุลาคม 2551    งาน Tokyo Pack  นี้เท่าที่ทราบมา เริ่มมีการจัดขึ้นมาตั้งแต่ ปี คศ.1966 จัดต่อเนื่องมาทุกๆ 2 ปี จนมาถึงครั้งนี้ ปี 2008 รวมจัดงานมาทั้งหมด 21 ครั้ง ใน 42 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็น Exhibition เก่าแก่พอควร  โดย   มีภาพรวมหลักคือต้อง การนำเสนองานทางด้านด้านเทคโนโลยี  และนวัตกรรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์      ตลอดจนกระบวนการงานบรรจุภัณฑ์ ให้ชาวโลกที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ  โดยเฉพาะผู้ประกอบการทางด้านผลิตสินค้า ที่ต้องใช้การบรรจุภัณฑ์เข้าไปเกี่ยวข้องจะได้พบปะกันกับ ผู้ผลิตงานกระบวนการของบรรจุภัณฑ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซื้อขายสินค้า กันนั่นเอง ผู้ที่แสวงหาความรู้ด้านการศึกษาก็มีส่วนได้ศึกษาหาความรู้ เปิดโลกทัศน์ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยี ของบรรจุภัณฑ์  ส่วนทางด้านวิชาการ ก็จะมีเวทีสัมมนา เรื่องงานบรรจุภัณฑ์กันอีกเวทีหนึ่งในงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ที่จะนำไปพัฒนา การศึกษา ด้านงานบรรจุภัณฑ์ต่อไป  เรียกว่าครบวงจรของงาน Exhibition    ในงาน Tokyo Pack   แต่ละครั้งที่จัด มาจะมี Theme ที่เน้นสาระ ทิศทางของงาน เพื่อไปในทางเดียวกัน           เช่น เมื่อ     สองปีก่อน เมื่อปี 2006  Theme     จะกำหนดเป็น  For the future - What packaging can do now   -    คือบรรจุภัณฑ์เพื่ออนาคตข้างหน้า      และมาปี 2008 นี้ Theme คือ Packaging  to  Create Good  Environment and Clean Earth     คือหันมาสู่ธรรมชาติ        ลดมลภาวะ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 

เราคงจะไม่  ปฏิเสธ เลยว่าขยะกว่าครึ่งที่เป็นมลภา

วะนั้นเป็นซากบรรจุภัณฑ์   วงการบรรจุภัณฑ์ตระหนักในเรื่องนี้มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ  และการรีไซเคิล คัดแยกขยะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกัน     ตลอดจนการใช้ซ้ำ ของบรรจุที่เป็นชนิดเติม (Refill) ออกมา    สิ่งเหล่านี้ดำเนินการมานานแล้ว แต่ในงาน Tokyo Pack  2008 นี้ เรียกว่านำมาเป็น หัวใจหลักของงานกันเลย ระดมเอางานบรรจุภัณฑ์ มาแสดงกันเต็มพื้นที่ ของ Tokyo Big Sight ที่เป็นสถานที่จัดงาน ที่มีรูปร่างทางสถาปัตยกรรมเป็นรูป พีรามิด คว่ำติดกัน4 แท่ง และต่อเชื่อด้วย Hall แฝด 2  Hall นั่น เอง Tokyo Pack  2008 ครั้งนี้ ใช้พื้นที่จัดงานถึง สองพันกว่าตารางเมตร มีทั้งหมด  2600 Booths  และ 500 กว่าบริษัทห้างร้านที่ออกงาน      ประกอบด้วยพื้นที่ Hall ใหญ่ที่เป็น Hallรูปยาว ติดกัน2 Hall  แต่ละ Hall จะแบ่งซอยเป็น Hall ย่อยๆ ได้  6 ส่วน ส่วนที่ 1 ,2 และ3 Hall ยาว ซีกนี้จะเป็นส่วน Exhibitionด้าน Packaging คือเป็นงานแสดงตัวของบรรจุภัณฑ์ การบรรจุ ต่างๆ    ส่วน Hallยาว อีกซีกหนึ่ง เป็นส่วนที่ 4,5, และ 6 เป็นงาน  Exhibition ด้าน Material  Handling เป็นเครื่องจักรกลที่ผลิตตัวบรรจุภัณฑ์ และวัสดุประกอบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ อันนี้เน้น เครื่องจักรกล  หุ่นยนต์มือ ที่ทำงานแทนมนุษย์ ผู้ที่ศึกษาด้านวิศวะเครื่องกลถ้ามีโอกาสได้มาศึกษาถือเป็น Exhibition ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่น่าเสียดายที่เขาห้ามถ่ายรูป      ได้มีผู้รู้บางท่านที่เดินทางไปงาน Tokyo Pack   มาหลายครั้ง เสนอว่า  น่าจะทำโครงการร่วมกับทางวิศวกรรมเวลามาดูExhibition ก็แบ่งกันดูคนละซีกของ Hall  คือ ซีกของPackaging Exhibition เป็นพวกศิลปะ และการออกแบบ   คือซีกของ Material  Handling Exhibition เป็นพวก วิศวะ  ดูกันในเชิงลึก  และเวลาที่เหลือมาสลับผลัดเปลี่ยน ซีก Hall   กันดู  และนำกลับไปสัมมนาความรู้ร่วมกัน   ก็เป็นแนวคิดที่ดีที่เสนอมา   

    เข้าสู่งาน ...

       การเดินทางไปงาน Tokyo Pack  2008 ครั้งนี้ไปกันในนามของสมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย ซึ่งทาง  สมาคมฯ  ได้เข้าร่วมงานมาตลอดในทุกครั้ง และมีความร่วมมือกันกับ Japan Packaging Institute (JPI)  ที่เป็น Sponsor หลักในการจัดงาน Tokyo Pack  2008  คณะเราจึงได้รับเกียรติ ให้เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ด้วย  ซึ่งพิธีเปิดก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย  ใช้ ประมาณ  20 นาทีก็เสร็จพิธี      ที่ต้องให้ความสนใจระหว่างเดินจากห้องประประชุมที่ทำพิธีเปิด  มายัง Hall งาน Exhibition  จะผ่าน จุดลงทะเบียนเข้างาน  จะมีผู้สนใจชาวญี่ปุ่นมาเรียงคิวเข้าแถวอย่างมีระเบียบทุกคนสวมใส่ชุดสูท เพื่อลงทะเบียนเข้าชมงานกันแน่นหนา เป็น 2 3 แถวยาวมาก   มีครบทุกวัย ทั้งวัยรุ่น     วัยกลางคน    และคนชรา   ก็รู้สึกแปลกใจที่ว่าทำไม่เขาสนใจงานเรื่องบรรจุภัณฑ์กันมากขนาดนี้  ทั้งๆที่ต่างวัยกัน       เมื่อลงทะเบียนแล้วจะได้ป้ายคล้องคอ  มีแถบบาร์โคด   คงจะมีชื่อ และตำแหน่งสถานที่ทำงานเป็นรายละเอียดอยู่ในบาร์โคด  เวลาไปในส่วน     Exhibition  ตาม Booths ต่างๆ  ถ้าสนใจเอกสาร  ตัวอย่างต่างๆ ตามBoothsก็จะมีเครื่องอ่านบาร์โคด  สแกนเข้าไปแทนการใช้นามบัตร    ส่วนพวกเราไม่มีป้ายที่ติดบาร์โคด  แบบชาวญี่ปุ่น  ก็ต้องใช้นามบัตร แลกกับเอกสาร ต่างๆที่ต้องการ             บรรยากาศในงาน Exhibition  เท่าที่สังเกตภาพรวม  เขาไม่ค่อยเน้นความหรูหรา ในด้านการตกแต่ง Booths ในเชิงการแข่งขันเหมือน Exhibition ในบ้านเราเท่าไร  เขาแต่งแบบเรียบๆ  แต่ให้ไฮไลท์ มาเด่นที่ตัวชิ้นงาน มากกว่า  พริตตี้สาว ก็มีไม่มาก และแต่ชุดไม่หวือหวาเหมือนบ้านเรา    เมื่อเข้าสู่ประตูของ Hall  สายตาก็มุ่งตรงไปที่ โซนมุมสุด เพราะเป็นมุมที่ชื่อว่า Good Packaging  เป็นการรวบรวมเอางานบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่ดี เด่นของญี่ปุ่น มาแสดงเป็นกว่า ร้อย ชิ้น  มีทั้งบรรจุภัณฑ์จากกระดาษกล่อง     ห่อ การพับต่าง    บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก    จำพวกซอง    ตลับ   บรรจุภัณฑ์จากแก้วจำพวกขวดต่างๆ     บรรจุภัณฑ์ กระป๋องโลหะ    รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งพวกลังกระดาษลูกฟูก ต่างๆ     เรียกว่าครบชนิดของประเภทบรรจุภัณฑ์กันที่เดียว เยี่ยมชมมุมนี้แล้ว อดนึกถึงนักศึกษาที่เรียนด้านการออกแบบ และด้านบรรจุภัณฑ์อยากให้เขาได้มาเห็นได้มาศึกษา ของจริง    ที่นี้    ทำอย่างไรเขาถึงจะได้เห็น เพราะ ว่าเข้าห้ามถ่ายรูป      ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าเขาห้ามถ่ายภาพ    พอเรากดชัตเตอร์ไปได้ 2 3 ภาพ  ยามก็เข้ามาทำมือไขว้ กากบาท เหมือนมนุษย์แปลงร่างในหนังขบวนการพิทักษ์โลก   ก็ เป็นที่รู้ๆ กันของชาวญี่ปุ่นว่านั่นหมายถึง ห้ามทำ    เลยปรึกษากับทีมงานที่ไปด้วยกัน จะไปขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอธิบายและให้นามบัตรเขาไป    ว่าเป็นครู  เรามาเพื่อการศึกษา   จะนำประโยชน์ที่ได้ไปให้นักศึกษาได้เรียนรู้  มิได้นำมาใช้เพื่อทางธุรกิจการค้าใดๆ     เจ้าหน้าที่เขาก็เข้าใจ และใจดีมาก   ให้ปลอกแขน  สีเหลืองส้มสด มาเพื่อสวมแขนเป็นการอนุญาตให้ถ่ายภาพได้    แต่ก็จะขอไม่นำภาพตัวบรรจุภัณฑ์ในส่วน Good Packaging  มานำเสนอ เนื่องจากเคารพในที่เขาได้อนุญาตให้เราถ่ายมาเพื่อการศึกษาแก่นักศึกษา  จึงไม่ขอนำมาโพสออกทางเว็บไซด์    ภาพประกอบ ที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นภาพเฉพาะในส่วน Boothsที่เขาอนุญาตให้ถ่ายภาพได้เท่านั้น  

สัมผัสกับ  Packaging  to  Create Good  Environment and Clean Earth    

ใน Theme งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักคือ  เป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิต, บรรจุภัณฑ์ และการกระจายสินค้า การจัดนิทรรศการมิได้มีเพียงแต่วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ และเครื่องจักร แต่มีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องจักร, กระบวนการเครื่องจักรบรรจุอาหาร อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน สำหรับการปกป้องสภาวะสิ่งแวดล้อม และวัสดุการจับถือ (หรือจะเป็นการขนถ่ายสินค้า) ต่าง ๆ นอกจากจากนี้ เพื่อให้เป็นสถานที่ในการเจรจาธุรกิจ, ประชุม, แลกเปลี่ยน และ แจ้งข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ให้แก่นานาชาติ และเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือการพัฒนาให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชมมีทัศนคติที่เป็นสากล      เท่าที่เข้ามาสัมผัสกับงานครั้งนี้ถึง 2 วัน เห็นว่า บรรจุภัณฑ์ที่มานำเสนอ ไม่ใช่มีแต่งานบรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น   บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ เช่นพลาสติก ก็มีบทบาทในการช่วยโดยใช้การสร้างสรรค์การออกแบบ ในด้านของการออกแบบที่ใช้เติม (Refill) ไม่ใช่แค่เติมอย่างเดียว  แต่ยังคิดไปถึงการใช้เติมให้คุ้มค่าปราศจากการ    ไหลเปื้อน   ย้อนออกมาเวลาเติม มีคอภาชนะรับพอดีกับภาชนะที่ถูกเติม   การฉีก ตัดปากซองและพับเก็บไว้ในตัวได้ ไม่ต้องฉีกและมีเศษทิ้ง ให้สะสมเป็นมลภาวะ    บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจะสามารถพับย่อให้เป็นขนาดเล็กลงเรื่อยๆ   ในการ ประหยัดพื้นที่       โดยเฉพาะเมื่อเป็นปริมาณขยะ     การคิดออกแบบให้ลังพลาสติกสามารถทับซ้อนได้ในแบบ   มิติต่างๆ   เพื่อประหยัดพื้นที่ และไม่สิ้นเปลืองปริมาณในการใช้ลังต่อหน่วย       นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่ห่อกันกระแทกภายในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เคยใช้แผ่นโฟม Sheet  (EPE)   / แผ่นพลาสติกอัดอากาศป้องกันการกระแทก (air –bubble )  /  แผ่นโฟมฟองน้ำที่ใช้   PE, PU และ PE   SHEET      ก็ได้มีการคิดค้นให้ใช้กระดาษที่ใช้แล้ว    หรือแผ่นกระดาษคราฟท์  ต่างๆ มาขึ้นรูป แปรรูป ให้เป็นรูปทรงต่างๆ ที่สามารถกันกระแทกได้ แทนการใช้พลาสติก      วัสดุทางธรรมชาติบางอย่างที่มาจากพืช ก็มีการค้นคิดการแปรรูปมาใช้กับการบรรจุเป็นตัวซับ ลดแรงกระแทก  หรือตัวหลักที่เป็นกระดาษ      ภาชนะบรรจุอาหารจานด่วน ไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า   ไส้กรอก แฮมเบอร์เกอร์  แม้กระทั้งผลไม้  ก็สามารถใช้กระดาษเข้ามาออกแบบเป็นถาด  กระบะ  ในรูปของการแปรรูปแบบพับ  เป็นรูปทรงตามแบบที่ต้องการ  หรือการขึ้นรูปจาก เยื่อกระดาษขึ้นรูป (molded pulp products) คือแสดงในเห็นถึงการคิดในการแก้ปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ   ส่วนบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง ก็มีการออกแบบลังกระดาษลูกฟูก ให้สามารถบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เช่นพวกเครื่องจักร แทนลังไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้พลาสติกเป่าลมทำเป็นแพยาง มีหน้าที่เป็นตัวคั่น ซับแรงกระแทก 

 

สรุป

หากจะย้อน และเปรียบเทียบงาน Exhibition ในระดับต่างๆ   งานที่จัดมาแล้วถึง 42 ปี นั้นหายากมาก  เรียกว่าระยะเวลา ที่ผ่านมาคือเกือบครึ่งศตวรรษแสดงให้เห็นว่า   Packaging  นั้นมีอะไรที่ลึกซึ้งมาก   และมีอะไรที่ละเอียดอ่อน  ไม่ใช่เป็นเพียง ตัวบรรจุภัณฑ์สินค้าใช้เสร็จก็ทิ้งไป เท่านั้น   แต่เขาต้องการแสดงให้เห็นว่า  Packaging นั้นเป็น  Packaging Technology   หล่อหลอมหลายศาสตร์วิชาไว้ด้วยกัน   เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์   Packaging   เป็นการเชื่อมต่อ ระหว่างชีวิตผู้คน ทั้งอดีต  เรื่อยมาถึงปัจจุบัน อย่างไม่มีที่สิ้นสุด     Packaging  ช่วยเหลือการพัฒนาให้แก่ชุมชนสังคม   ดังเช่นวัตถุประสงค์การจัดงาน การจัด Tokyo Pack  2008 ส่วนหนึ่งที่กล่าวว่า เพื่อให้ชุมชมมีทัศนคติที่เป็นสากล  แสดงถึงความห่วงใย   เจตนาที่ดีต่อโลกใบนี้    เป็นคุณค่าอันหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทางด้าน Packaging  ทั้งหลายไม่ว่าผู้ประกอบการ  ผู้ผลิต   นักวิทยาศาสตร์     วิศวกรเครื่องจักกล      นักออกแบบ        ครู อาจารย์   นักศึกษา   ทั้งหมดถือเป็น    ผู้ร่วมกระบวนการของ Packaging Technology  ที่จะต้องรักษาบทบาทที่สำคัญ    และภาคภูมิใจในการที่ได้เป็นทั้งผู้สร้างสรรค์     และผู้อนุรักษ์ปกป้อง สังคม  ร่วมกัน ดังคำที่ว่า  ………   “ Packaging  to  Create Good  Environment and Clean Earth   

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 228165เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2008 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

                             น่าสน

ตุลาคม 2010 น่าติดตามความก้าวหน้า และความน่าสนใจในนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ อีกครั้งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท