การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา


ชื่องานวิจัย           : วิจัยการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา 

   ของนักศึกษาระดับชั้น  ปวส.เร่งรัด2   สาขา  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

   โรงเรียนขอนแก่นเทคโนโลยีพณิชยการ

 

ชื่อผู้ทำงานวิจัย   :  อาจารย์นงลักษณ์  ไชยเณร

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                จากพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

...ขณะนี้รู้สึกกันทั่วไปว่า มีปัญหาเยาวชนในบ้านเมืองมากขึ้น เนื่องจาก เหตุหลายกระแส ความจริงเยาวชนมิได้ต้องการที่จะทำตัวยุ่งยากแต่อย่างใด แต่โดยเหตุที่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร และขาดที่พึ่ง ขาดผู้ที่จะให้ ความรู้ ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม เขาจึงต้องกลายเป็นบุคคลที่เป็น ปัญหาแก่สังคม  เป็นหน้าที่ของท่านทั้งหลาย ผู้เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้บริหาร การศึกษาที่จะต้องช่วยเหลือเขาด้วยหลักวิชาและความสามารถ ทุกคนได้เรียน วิชาการแนะแนวมาแล้ว ควรจะได้นำหลักการมาปฏิบัติเพื่อให้เยาวชนได้รับ ประโยชน์อันแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะแนวทางความประพฤติและ จิตใจซึ่งสำคัญมาก ขอให้เพียรพยายามปลูกฝังความรู้ ความคิดที่ปราศจากโทษ ให้แก่เขาโดยเสมอหน้า แนะนำอบรมด้วยเหตุผลและความจริงใจ ประกอบด้วย ความเมตตาปราณี สงเคราะห์อนุเคราะห์และนำพาไปสู่ทางที่ถูกที่เจริญ เยาวชน ก็จะเกิดความมั่นใจและมีกำลังใจที่จะทำความดี เพื่อจักได้มีอนาคตที่มั่นคง แจ่มใสในวันข้างหน้า...

ความจำเป็นที่ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา  เนื่องจาก

1.             นักเรียนนักศึกษาอยู่ในระยะวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่มีความคิดอ่านรุนแรง เปลี่ยนแปรได้ง่าย อยากสร้างอุดมคติของตนเอง แสวงหาแบบอย่างที่จะยึดถือ จึงทำให้เกิดปัญหา เกี่ยวกับความกังวลในรูปร่าง บุคลิกภาพ การตามสมัยนิยม และมีปัญหาที่เกิดกับคนอื่นในการเข้า กับเพื่อน ครู-อาจารย์ บิดามารดา ฯลฯ จึงจำเป็นต้องมีผู้แนะนำให้คำปรึกษา

2.             สภาพเศรษฐกิจสังคมปัจจุบัน ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จะเห็นได้จากข่าวการ ประพฤติผิดของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งด้านการทะเลาะวิวาท อบายมุข ยาเสพติด การ ประพฤติผิดศีลธรรม การขาดคุณธรรม จริยธรรม และอื่น ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความอบอุ่นในคอรบครัว การเลียนแบบในคอรบครัว  การเลียนแบบ การเลือกประพฤติในทางที่ผิด การทำตามเพื่อน และผู้ชักจูงที่ไม่มีมนุษยธรรม มนุษยธรรมดังนั้นการมีผู้ที่เข้าใจในจิตวิทยาวัยรุ่น เห็นอกเห็นใจ ให้คำแนะนำเสนอแนะแนวทาง สร้างความอบอุ่น ฯลฯ จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง

3.             หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีดโครงสร้าง ระบบ แผนการเรียน วิธีการเรียนที่ หลากหลาย แตกต่างกันในแต่ละประเภทวิชาและสาขา ทั้งเรื่องการทั้งเรื่องการกำหนดสัดส่วนของวิชาที่ ต้องเรียนในหมวดวิชาต่าง ๆ ข้อกำหนดในเรื่องการเรียนการวัดประเมินผล การจบหลักสูตร ซึ่ง อาจารย์ที่ปรึกษาต้องคอยดูแลตักเตือน ประคับประคองให้สามารถเรียนไปได้จนจบหลักสูตร

4.             ระบบการเรียนเป็นรายวิชา ทำให้ครูประจะชั้นเลิกไป นักเรียนนักศึกษาต้องรับผิดชอบ ในการลงทะในรายวิชาด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถจบ หลักสูตรได้ในระยะเวลาที่กำหนด

5.             การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการเชื่อมโยงการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ นักเรียน นักศึกษาสามารถเลือกวิธีการเรียน สถานที่เรียนได้ตามความถนัด ความสนใจ ศักยภาพ และ โอกาสของตน สามารถสมหน่วยกิจ โอนผลการเรียน สอบเทียบความรู้หรือประสบการณ์ หรือ ขอเทียบประสบการณ์งานหรือขอเทียบประสบการณ์งานอาชีพ เลือกที่จะฝึกงาน ทำโครงงาน หรือทำโครงการวิชาชีพก็ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ให้คำแนะนำในการจัดแผนการเรียนและตารางเรียนส่วนบุคคล ติดตามการเรียน อย่างใกล้ชิด

6.             สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนด้านอาชีวศึกษา บางส่วนมีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกล จำเป็นต้องเช่าหอพักหรืออาศัยอยู่กับบุคคลอื่น ทำให้ขาดผู้ดูแล ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด อาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี

อาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียน ตักเตือน และดูแลความประพฤติ (ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาฯ)
ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษา มีหน้าที่ดูแลนักเรียนนักศึกษาจำนวนหนึ่งอย่างใกล้ชิด โดยเป็นเหมือน   พ่อแม่คนที่ 2 ซึ่งต้องให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นที่ปรึกษาและให้กำลังใจเพื่อให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข คนเก่ง คนดี และมีความสุข   ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้เก่ง ให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาตนเอง และการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างเป็นสุข เพื่อพัฒนาตนเอง และการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นอย่างเป็นสุข   เป็นญาติ พี่น้อง คอยดูแลทุกข์สุข ให้ความช่วยเหลือ   และเป็นเพื่อน คอยรับฟัง ร่วมทุกข์ สนับสนุนให้มีความสุข แนะนำตักเตือน มีน้ำใจให้กัน   ทำให้งานอาจารย์ที่ปรึกษาถือเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง 

ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร  เรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย  มีความสุข  จึงควรมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี  ตระหนักต่อหน้าที่ของตนและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

1.             เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษา

2.             เพื่อพัฒนาการทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

ขอบเขตการวิจัย

ประชากร

                นักศึกษาระดับชั้น ปวส.เร่งรัด2 สาขา  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน  28 คน

กลุ่มตัวอย่าง

นักศึกษาระดับชั้น  ปวส.เร่งรัด2 สาขา  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน  28  คน

 

ระยะเวลาในการวิจัย

เดือน  มิถุนายน  ถึง  กันยายน  ปีการศึกษา 2550

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.             ได้แนวทางในการดูแลนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.             อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นที่รัก ศรัทธา ไว้วางใจของนักศึกษา

3.             ช่วยลดจำนวนนักศึกษาลาออกกลางเทอม

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ใช้แบบสอบถามแบบสำรวจความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเครื่องมือในการ

วิจัยโดยสร้างขึ้นจากการระดมความคิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา  ฝ่ายวิชาการและการค้นหาข้อมูลจากวิจัยที่เกี่ยวข้องทางอินเตอร์เน็ท  โดยแบบสอบถามประกอบด้วยการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาใน  5  ด้าน  ทั้งหมด  50  ข้อ  ได้แก่ 

ด้านบุคลิกภาพ                                                                    จำนวน    4  ข้อ

ด้านมนุษยสัมพันธ์                                                              จำนวน    8  ข้อ

ด้านคุณธรรมและความประพฤติ                                       จำนวน    9  ข้อ

ด้านความรู้ความสามารถและการปฏิบัติหน้าที่                 จำนวน  21  ข้อ

ด้านจรรยาบรรณ                                                                จำนวน    8  ข้อ

 

วิธีการรวบรวมข้อมูล

1.             ทำการสร้างแบบสำรวจความคิดเห็นในการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา  โดยการระดมความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่าน  และอาจารย์ฝ่ายวิชาการ

2.             ฝ่ายวิชาการมอบหมายให้ตัวแทนนำแบบสำรวจให้นักศึกษาทำการตอบแบบสำรวจ

3.             ผู้สำรวจทำการอธิบายและชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามให้นักศึกษาทราบ

4.             ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  SPSS  โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

5.             ทำการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

สรุป 

จากกลุ่มเป้าหมายของนักศึกษาระดับ  ปวส.เร่งรัด2  สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ    โรงเรียนขอนแก่นเทคโนโลยีพณิชยการ  ทำให้ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและแนวทางการพัฒนาการทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

ข้อเสนอแนะ

        ควรมีการจัดทำวิจัย  เช่นนี้ในทุกๆภาคเพื่อให้ได้ทราบข้อมูลความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและนำมาพัฒนาการทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษาในคราวๆต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 228141เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2008 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

งง ว่าทำไมเป็นอย่างนนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท