ฤดูหนาว : แก้ปัญหามะลิไม่ออกดอกแบบปลอดสารพิษ


มะลิไม่ออกดอก มะลิปลอดสารพิษ

มะลิจัดเป็นไม้ดอกที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและอยู่คู่คนไทยมาช้านาน แถมยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ จึงยังคงทำให้มีผู้ปลูกมะลิออกจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความนิยมและประโยชน์ของดอกมะลิที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมปลูกมะลิไว้คอยตอบรับกับความต้องการของตลาดกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานเกือบตลอดทั้งปี

ปัญหาของผู้ที่ปลูกมะลิพบกันส่วนมากจะเป็นปัญหาการออกดอกที่น้อยลงในฤดูหนาว ทั้งที่ความต้องการของดอกมะลิยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดกลับน้อยเกินไปส่งผลให้ราคาแพง นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสทองเช่นนี้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในส่วนของการแตกใบอ่อนและการออกดอกน้อยลง โดยมะลิจัดได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนที่จำเป็นดังกล่าวคือ จิบเบอเรลลิค แอซิด, แนพธิล อะซิติค แอซิด ซึ่งถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาให้อาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกปัญหานี้ก็จะน้อยลง เพราะมะลิสามารถที่จะผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้เองและเพียงพอต่อความต้องการใช้

อีกหนึ่งปัญหาคือหนอนเจาะดอกซึ่งจะส่งผลให้ดอกของมะลิเป็นสีม่วง และเป็นปัญหาที่ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ดอกของมะลิเกิดสีเช่นนี้ได้ การที่หนอนเข้าไปกัด เจาะ ทำลายท่อน้ำท่ออาหารจากกิ่งและก้านดอกที่โดยปรกติทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและการสร้างสีขึ้นไปเลี้ยงยังกลีบและช่อดอก ทำให้เกิดการตัดขาดสารอาหารที่จำเป็นในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่าง ๆ ไป ส่งผลทำให้ดอกอยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหารและฮอร์โมนจนเกิดความผิดปรกติและฟ้องผู้ปลูกมะลิโดยการเปลี่ยนสีแทน (เพราะมะลิเข้าพูดไม่ได้ จึงต้องฟ้องเจ้าของด้วยการเปลี่ยนสีให้เห็น)

วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางปลอดสารพิษและประหยัดต้นทุน จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโดยตรงเพราะถ้าฉีดบ่อยก็ยุ่งยากและสิ้นเปลือง หรือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล การฉีดพ่นในอัตราส่วนที่เข้มข้นมาก ๆ พืชเขาก็ไม่สามารถที่จะรับได้ทันทีทั้งหมด จะพยายามสลายฮอร์โมนให้ลดเหลือตามปรกติที่เคยดูดซึมได้เท่านั้น ทำให้วิธีการนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล ควรใช้วิธีการฉีดพ่นสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุเพื่อให้เขาผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง ซึ่งจะส่งผลที่ดีกว่าการนำฮอร์โมนมาฉีดพ่นโดยตรงเป็นอย่างมาก คือให้นำ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม หรือ          ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ร่วมกับปุ๋ยทีมีตัวกลางสูง ๆเช่น 0-52-34, 10-52-17

ส่วนปัญหาในเรื่องของหนอนเจาะดอก ให้ใช้สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืนและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ที่จะเข้ามาอาศัยวางไข่ และให้ใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักสูตรไข่ไก่ 5 ฟอง, สเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง, น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง กับน้ำ 20 ลิตร อัดอากาศให้ออกซิเจน 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำ 80 ลิตร หรือจะใช้สูตร เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมร่วมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือนมยุเฮชที, นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ในเวลาที่เท่ากับผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน เพื่อทำลายหนอนเจาะดอกในแปลงปลูกมะลิ ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ปลูกมะลิให้หมดไปได้

สนใจและต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโทร.ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 0-2986-1680-2

มนตรี  บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 227367เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2008 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท