งานและหน้าที่ของหมอรักษาพืช


หมอรักษาพืช โรคและแมลง

จากประสบการณ์อันยาวนานในด้านการเป็นที่ปรึกษาและดูแลการผลิตเกษตรให้แก่พี่น้องเกษตรกรรอบ ๆ กรุงเทพฯและปริมณฑลของพี่อรรนพ  ศรีรัตน์ ทำให้เกิดการสั่งสมเพิ่มพูนประสบการณ์ค่อนข้างมากและยาวนานจนมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีเยี่ยม สามารถที่จะวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในเรื่องของการผลิตทางด้านปัจจัยการผลิต โรค แมลงและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ว่ามีความเหมาะสมต่อพืชผักไม้ผลที่ชาวบ้านเหล่านั้นได้ปลูกกันหรือไม่ จนเป็นที่ไว้ใจและเป็นที่พึ่งพาไปพร้อมกันของพี่น้องเกษตรกรในละแวกดังกล่าวเป็นอย่างดี

คุณอรรนพ  ศรีรัตน์ คนรักพืชชาว ก.ท.ม. บ้านเลขที่ 57 จัดสรรรถไฟ ทุ่งสองห้อง แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10210 ได้สรุปหลักการปลูกพืชให้ได้ผลผลิตและต้นทุนต่ำจะต้องมีปัจจัยหลัก ๆ อยู่ 2 ข้อ คือ 1. การทำให้ดินมีชีวิต 2. การทำให้พืชแข็งแรง

จากประสบการณ์ที่ได้ทำการเกษตร รวมทั้งการศึกษาและคลุกคลีเกี่ยวกับการเกษตรมาเป็นเวลานานหลายปีจึงได้พบว่าปัญหาที่ทำให้การทำการเกษตรไม่เป็นผลสำเร็จนั้น เกิดจากสาเหตุสองประการ  คือ 1. ดินไม่มีธาตุอาหารและไม่มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ช่วยในการย่อยสลายพวกซากพืชซากสัตว์ 2. พืชอ่อนแอจึงทำให้เกิดโรคและตายไป เพราะฉะนั้นก่อนอื่นใดเราจึงต้องปรับปรุงดินให้ดีหรือให้ดินมีชีวิตเสียก่อน แล้วจึงจะสามารถปลูกพืชให้ได้ผลผลิตอย่างสมบูรณ์ได้

ในส่วนของพี่อรรนพแล้วจะใช้ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่จากผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษในการที่จะนำไปแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาพดินให้แก่พี่น้องเกษตรมาโดยตลอด

การทำดินให้มีชีวิตโดยวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าหญ้า  และหันมาใช้ภูไมท์ซัลเฟตช่วยในการปรับปรุงสภาพดินให้มีความโปร่งร่วนซุย ระบายถ่ายเทน้ำดีพร้อมกันกับใช้ภูไมท์ธรรมดาคลุกผสมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือจะเป็นปุ๋ยเคมีก็ได้ เพื่อช่วยจับตรึงปุ๋ยหรือแร่ธาตุอาหารที่ละลายออกมาจากอินทรียวัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ซึ่งช่วยทำให้พืชไม่เฝือใบ หลังจากที่ดินได้ถูกปรับปรุงจนมีสภาพและเรียกระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์กลับมาความสมดุลย์ต่างๆ ก็จะกลับมาด้วยเช่นกัน นั่นก็คือกลุ่มของพวกจุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์รวมทั้งไส้เดือนดิน และสัตว์หน้าดินอื่นๆ ที่มีประโยชน์กับพื้นดินในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่มีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงมากจึงทำให้สัตว์หน้าดินและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์พวกนี้ตายหมด อีกทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลานานจนทำให้ดินแน่นแข็งและเป็นกรดไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อดินเรามีชีวิตดีขึ้นแล้วาก็สามารถปลูกพืชได้ดีและทำให้ได้ผลผลิตอย่างสมบูรณ์

               

การทำให้พืชแข็งแรง           เมื่อก่อนมีการเร่งพืชให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวหน้าสูงจนทำให้พืชไม่แข็งแรง อ่อนแอ ไม่มีความทนทานต่อโรคและแมลงที่เข้าทำลายทำให้เกิดการล้มตายบ้างหรือได้ผลผลิตที่ไม่ดีเท่าที่ควรนัก  แต่ในที่นี้เมื่อเรามีการปรับปรุงดินให้ดีแล้วจะปลูกอะไรก็งอกงามและแข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง เนื่องจากในตัวภูไมท์ซัลเฟต มีธาตุอาหารมากมายทที่จำเป็นต่อพืช

พี่อรรนพยังกล่าวอีกว่า โรคต่างๆ ที่เกิดกับพืชนั้นล้วนมีต้นสายปลายเหตุทั้งสิ้น เมื่อเรารู้สาเหตุและสามารถที่จะแก้ไขให้ทันเวลา พืชก็จะไม่เสียหายมาก เช่นโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยเข้าทำลายมากเป็นพิเศษอย่างกับ พริกและฝรั่ง ทำให้ต้นและใบหงิกงอ เหี่ยวเฉา ไม่โต ให้ผลผลิตลดน้อยลง พอขุดรากออกมาดูจะพบว่าเป็นปมอยู่ที่รากจำนวนมาก แต่สามารถที่จะป้องกันรักษาได้ทันท่วงทีโดยการใช้ กากน้ำตาล 1 ลิตร ละลายในน้ำ 20 ลิตร และใส่เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 100 กรัม หรือ 1 ขีด หมักทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง  และนำถังอีกใบใส่น้ำ 200 ลิตร จากนั้นใส่ภูไมท์ซัลเฟต 1 กระสอบ (20 กิโลกรัม) คนให้ภูไมท์ซัลเฟตละลายกับน้ำ  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปจากผงไปเป็นสารละลาย  จากนั้นก็นำเชื้อไตรโคเดอร์ม่าที่หมักไว้ 8 ชั่วโมงนั้น มาผสมกับน้ำ  ภูไมท์ซัลเฟตแล้วนำไปราดตามโคนพริกและฝรั่ง

เชื้อไตรโคเดอร์ม่าตัวนี้ เมื่อหมักกับกากน้ำตาลแล้วจากเดิมที่มีรูปเป็นเส้นแขนงก็จะแบ่งตัวออกมาเป็นแท่งสั้นๆจากนั้นก็จะม้วนตัวเหมือนรูปโดนัสเข้ารึงรัดตัวไส้เดือนฝอยกินเป็นอาหาร “ซึ่งเป็นการกินข้ามอาณาจักรเลยทีเดียว และจะกินไส้เดือนฝอยที่อยู่รอบบริเวณจนหมดส่วนพวกที่สร้างซีสอยู่ภายในรากพริกหรือฝรั่งเชื้อไตรโคเดอร์ม่าก็จะเข้ากินไม่ได้” พี่อรรนพกล่าว อีกทั้งกระบวนการออสโมซีสจะดูดกินสารละลายภูไมท์ซัลเฟตนี้ผ่านเข้าไปในผนังเซลของราก ช่วยทำให้เซลล์รากแข็งแกร่งต้านทานต่อการเข้าทำลายได้ดี รวมทั้งภูไมท์ซัลเฟตจะมีเศษผลึกของหินเขี้ยวแก้วหนุมานมีลักษณะเป็นเกล็ดแก้วแวววาวเมื่อกระทบกับแสงไฟ หรือแสงจาดดวงอาทิตย์โดยเศษผลึกของหินแก้วนี้จะเข้าไปทำลายสร้างความระคายเคืองให้แก่ไส้เดือนฝอยที่อยู่ในซีสจนตาย และในคุณสมบัติพิเศษของภูไมท์ซัลเฟตนี้เองที่ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารมากมายจะช่วยให้ทำพริกและฝรั่งฟื้นตัวเจริญเติบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น น้ำที่ได้จากการละลายของภูไมท์ซัลเฟตทำการฉีดพ่นให้ชุ่มโชกทั่วทั้งต้นและใบเมื่อผิวใบแห้งแล้วจะเป็นคราบขาวๆ ของภูไมท์ซัลเฟตติด อยู่ ซึ่งคราบขาวๆ เหล่านี้จะเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้แมลงหรือราเข้าทำลายได้

ปัญหาและการป้องกันกำจัดโรคทางใบก็เหมือนกัน แต่จะใช้พลายแก้วหมักในน้ำมะพร้าวอ่อน 24 - 48 ชั่วโมง ผสมน้ำ 20 ลิตรและนำไปฉีดพ่นทางใบเหมือนกับวิธีแรก และในเรื่องของการเกิดโรคไวรัสด่างวงแหวนในมะละกอนั้น พี่อรรนพยังบอกอีกว่าโรคนี้มีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อไวรัสซึ่งเพลี้ยจะเป็นพาหะนำโรค พอเพลี้ยมาดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบมะละกอและจะปล่อยไวรัสลงไปทำลายท่อน้ำท่ออาหารของต้นมะละกอทำให้มะละกอเหี่ยว ใบหงิก เป็นจุดเป็นวงคล้ายวงแหวน และรากเน่าตายในที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราก็แก้ปัญหากับต้นมะละกอที่ยังไม่ตายโดยการใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า หมักกับกากน้ำตาลและใช้ภูไมท์ซัลเฟตละลายน้ำเหมือนกับวิธีที่ได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ราดตามโคนต้นมะละกอเพื่อหยุดการเข้าทำลายทางดินและใช้พลายแก้วที่หมักแล้วผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดทางใบและลำต้น เพื่อหยุดการทำลายของเชื้อทางใบ จากนั้นใช้ภูไมท์ซัลเฟตผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักขุดดินกลบตามบริเวณโคนต้น เพื่อสะสมไว้เป็นอาหารของมะละกอต่อไป หลังจากนั้นไม่นานมะละกอก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวและสามารถที่จะให้ผลผลิตได้ตามเดิม

พี่อรรนพยังบอกอีกว่า การใช้สารเคมีในการรักษาโรคในพืชนั้น ใช่ว่าจะเป็นการทำลายเชื้อโรคไปได้เลยเสียทีเดียว แต่น่าจะเป็นการใช้สารในรูปของกรดเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเพียงเท่านั้น เมื่อเกษตรกรเห็นว่าเชื้อไม่ระบาดแล้วก็มีความเชื่อว่าเชื้อโรคน่าจะตายหมดจากการใช้สารเคมี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยเชื้อโรคแค่หยุดการเจริญเติบโตเท่านั้น และเมื่อสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ อากาศ ความชื้นที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตเชื้อก็จะกลับมาทำลายต้นพืชได้อีกเหมือนเดิมเพราะฉะนั้นทางที่ดีถ้าเราบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่เสมอพืชก็จะเจริญเติบโตดี มีภูมิต้านทานโรค เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า ถ้าทำให้ดินมีชีวิตพืชก็จะแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค

สนใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องโรค หรือต้องการขอคำปรึกษาเรื่องโรคพืชและการปลูกพืชปลอดสารพิษ สามารถติดต่อ คุณอรรนพ ศรีรัตน์ ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-5521801

รายงานโดย นายนิรุธ อาศัย  ตำแหน่งนักวิชาการ

มนตรี   บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 227363เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2008 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท