มาตรฐานที่ 7


รายงานการประเมินตนเอง

มาตรฐานที่  7  มาตรฐานด้านระบบการประกันคุณภาพ

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1

ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

             ค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ของกลุ่มสาขา: 10

             ค่าเป้าหมายของสถาบัน:  ระดับ 3

           ผลการดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2550:  ระดับ 4

                1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

                กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ ได้ดำเนินตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 โดยกำหนดให้ มี  7 มาตรฐาน   และ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นไปตามนโยบายประกันคุณภาพของกลุ่มสาขาฯ  อีกทั้งควบคุมตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานภายใน แต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตลอดจนกำกับดูแลการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน เพื่อรองรับการตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง จะมีหน้าที่ในการดำเนินตามนโยบาย พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ อีกทั้งควบคุมตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานภายใน กลุ่มสาขาวิชา ในแต่ละมาตรฐาน ตาม   ตัวบ่งชี้ที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด ตลอดจนกำกับดูแลการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของกลุ่มสาขาวิชา (SAR) และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ และมาตรฐานการศึกษามากน้อยเพียงใด เพื่อรองรับการตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก โดย กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีบุคลากรประจำที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยจะมีหน้าที่หลัก คือ รวบรวมข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ภายใต้การดูแลของ คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม   (7.1-1.1)

             2.  มีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสถาบันที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเอกลักษณ์ของสถาบันครอบคลุมปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอย่างครบถ้วน ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการจัดการศึกษา และผลผลิต สามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก และเทียบระดับ (Benchmarking)

                กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยมีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการประกันคุณภาพภายในและภายนอกที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินที่ตอบสนองความต้องการจากภายในและภายนอกทั้งของ สกอ. สมศ. และ ก... ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยได้ดำเนินการตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพจากภายนอก โดยจะมี 9  องค์ประกอบตามแนวทาง สกอ. ตัวบ่งชี้จำนวน 63  ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นตัวบ่งชี้ตามมาตรฐาน สกอ. 40 ตัวบ่งชี้  มาตรฐานของสมศ. 44  ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ  อีก 3 ตัวบ่งชี้    โดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย   เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากคู่มือเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  (SAR)  และการจัดเก็บเอกสารประกอบ และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้คุณภาพให้แต่ละกลุ่มสาขาตามลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง โดยบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม และดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งในส่วนของ การจัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR)  การรวบรวมเอกสารหลักฐานตามองค์ประกอบคุณภาพ  มาตรฐาน และตัวบ่งชี้  (7.1-2.1)

                 3.    มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่สมบูรณ์ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

                กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งการควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทุกหน่วยงานดำเนินงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน และดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพและประเมินคุณภาพภายในหน่วยงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำรายงานประกันคุณภาพประจำปี และรายงานการประเมินตนเองของกลุ่มสาขาฯ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับประเมินคุณภาพภายในและภายนอก   ตามผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2550 (1 มิถุนายน 2550 – 31 พฤษภาคม 2551) ซึ่งได้มีการประชุมชี้แจงให้ผู้บริหารและบุคลากร ได้รับทราบแนวทางการประเมินคุณภาพภายในประจำปี 2550 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและแนวทางการตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายใน เพื่อให้การตรวจประเมินคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน คณะกรรมการสามารถเทียบเคียงผลการประเมิน ตามภารกิจหลักในกลุ่มสาขาได้  ซึ่งผู้บริหารในทุกระดับสามารถนำรายงานผลการประเมินฯ มาปรับใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการ การเรียนการสอน ให้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดให้ใช้รูปแบบการประเมินตาม คู่มือการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งเริ่มดำเนินการประเมินคุณภาพภายใน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551  และจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ไป ยังสำนักประกันคุณภาพฯ  เพื่อการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา    (7.1-3.1)

                4. มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบัน โดยได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพจากทุกภาคีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน

                กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพจากคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มสาขาฯ  ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากร โดยมีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพของกลุ่มสาขาฯ  เพื่อให้ ดำเนินการบริหารจัดการระบบงานต่างๆ ให้ตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ  สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินการภายในและมาตรฐานของ สกอ. สมศ. และ ก.พ.ร.  

                นอกจากนี้กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการการสัมมนา ฝึกอบรม และการศึกษาดูงานในด้านการประกันคุณภาพทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ก้าวทัน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น

                1.  โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย ตามมาตรฐานของ สกอ.  ของสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา และสามารถจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐานของ สกอ. รวมถึงเพื่อสร้างความมั่นใจในการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกและสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย (7.1-4.1)

                2.  โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์,วิธีการในการจัดทำรายงาน,มาตรฐานตัวบ่งชี้ของ สกอ., สมศ., ก.พ.ร. และจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย (7.1-4.2)

                3.  โครงการอภิปรายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ตัวบ่งชี้ประเมินคุณภาพ เกณฑ์มาตรฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)  6 เขตพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับผิดชอบด้านประกันคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและเขตพื้นที่ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอ ปัญหา ฯลฯ เพื่อให้การดำเนินงานในทุกระดับงานสามารถก้าวไปในทิศทางเดียวกันและเท่าเทียมกัน อันจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการด้านคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วย  (7.1-4.3)

                4. โครงการประชุมสัมมนา เรื่อง  การให้คำปรึกษาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บข้อมูลรายตัวชี้วัด  มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง  เป็นไปในทิศทางเดียวกันและ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน ด้านการจัดเก็บข้อมูลรายตัวชี้วัด  (7.1-4.4)

                5. มีการนำเอาผลจากการประเมินคุณภาพภายในมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานตามพันธกิจให้เกิดผลดี

                กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการนำผลการประกันคุณภาพมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานโดยมีการ จัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปี 2550 และมีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาปรับปรุงฯ  เพื่อเป็นการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละพันธกิจให้เกิดผลดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานตามแผนพัฒนาปรับปรุงฯ เป็นอย่างดีจากการควบคุมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายใน  ซึ่งดำเนินการเป็นประจำทุกปี รวมทั้งการดำเนินการตรวจประเมินตนเอง (Peer Review) ของ กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพกลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินคุณภาพภายใน ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น มาจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงให้สอดรับกับยุทธศาสตร์และนโยบายการพัฒนา อย่างต่อเนื่องและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสะท้อนให้ทุกส่วนเห็นความสำคัญของกระบวนการบริหารงานที่มีคุณภาพและสร้างผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนและประเทศชาติ  (7.1-5.1)

               

ระดับคุณภาพ

                1 = มีวิธีและกลไกในการประกันคุณภาพภายใน

                2 = มีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสถาบันที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเอกลักษณ์ของสถาบันครอบคลุมปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอย่างครบถ้วน ทั้งปัจจัยนำเข้า กระบวนการจัดการศึกษา และผลผลิต สามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก และเทียบระดับ (Benchmarking)

                3 = มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่สมบูรณ์ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

                4 = มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบัน โดยได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพจากทุกภาคีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน

                5 = มีการนำเอาผลจากการประเมินคุณภาพภายในมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานตามพันธกิจให้เกิดผลดี

 

ผลการดำเนินงาน :

             1.  มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาสถาบัน

             2.  มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพจากคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

             3.  มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก

             4.  มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งการควบคุมคุณภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ         

             6.  มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และใช้ร่วมกันทั้งระดับบุคคล ภาควิชา/ฝ่าย คณะ และสถาบัน

 

เกณฑ์การให้คะแนนเทียบกับเป้าหมาย(ระดับ)

1 คะแนน

2 คะแนน

3 คะแนน

1 - 2

3

³ 4

 

         ผลการประเมินเทียบเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้                                             3            คะแนน

         ผลการประเมินการบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนสถาบัน                       1                          คะแนน

         รวมระดับคะแนนผลการประเมินตัวบ่งชี้                                                             4           คะแนน        

       

ข้อมูลประกอบการรายงาน:

คู่มือการประกันคุณภาพภายใน รวมทั้งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษามีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถาบันและมีระบบและกลไก ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เช่น คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน มาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพภายใน ภาพถ่ายกิจกรรมการดำเนินงาน รายงานการตรวจติดตามภายในสถาบัน รวมทั้งงบประมาณสำหรับการดำเนินการประเมินคุณภาพภายใน รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการนำเอาผลประเมินคุณภาพภายในมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานตามพันธกิจให้เกิดผลดีเป็นต้น

      

ผลการประเมินตนเอง

                - ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ปีการศึกษา 2550 กลุ่มสาขาศิลปกรรม มีผล …4.. ข้อ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประเมินที่ระดับคะแนน …3…… คะแนน

                - ผลการดำเนินงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ที่ …3. ข้อ ถือว่าผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ ……1…. คะแนน

                สรุป ผลการประเมินตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ในปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามีผลการประเมินได้ระดับคะแนน ………4………. คะแนน

 

จุดแข็ง/แนวทางเสริม :

                -

จุดที่ควรพัฒนา :

                -

 

รายการหลักฐาน

หมายเลขบันทึก: 227309เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2008 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากครับ... นำมาตราฐานและตัวบ่งชี้ด้านการเรียนการสอน ในคณะฯ มาทยอยนำเสนอต่อก็จะดี

อ. มีเวลาขออธิบาย องค์ 8 ให้หน่อยได้ไหมคะ ช่วงนี้มึน & งง มะรู้จะเริ่มต้นตรงไหน เลยมะได้เริ่มซักทีเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท