หลักสูตรใหม่ ตอนที่ 3


วิเคราะห์ความต่างความเหมือนหลักสูตร 2551 กับ หลักสูตร 2544

วิเคราะห์เปรียบเทียบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544

กับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช   2551  โดยนายยืนยง  ราชวงษ์

หลักสูตร  2544

หลักสูตร  2551

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ

-ถ้านักเรียนบกพร่องเล็กน้อยให้สอนซ่อมเสริม

-ถ้านักเรียนไม่ผ่านรายวิชาเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาสถานศึกษา อาจตั้งคณะกรรมการ  พิจารณา ให้เรียนซ้ำชั้นได้

1.2 การให้ระดับผลการเรียน

-ระดับประถมศึกษา

  -  การตัดสินผลการเรียนรายวิชา  สถานศึกษา

สามารถให้ระดับคุณภาพผู้เรียน เป็นตัวเลข ตัวอักษร

ร้อยละ  หรือระบบที่ใช้คำสำคัญ  สะท้อนมาตรฐาน

  -  การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้ระดับผลการประเมินเป็น ดีเยี่ยม   ดี ผ่าน และไม่ผ่าน

   - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องพิจารณาการเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการเข้าร่วมกิจกรรม ตัดสินเป็น  ผ่าน  และ ไม่ผ่าน

 -ระดับมัธยมศึกษา

  -  การตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา โดยใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน  เป็น  8  ระดับ

  -  ประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียน  รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นั้น ให้ระดับผลเป็นดีเยี่ยม  ดี  ผ่านและไม่ผ่าน

    -  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการเข้าร่วมกิจกรรมตัดสินเป็น ผ่าน และ  ไม่ผ่าน

  1.3 การรายงานผลการเรียน

    -  รายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบทุกระยะอย่างน้อยภาคเรียนละ  1  ครั้ง

2. เกณฑ์การจบการศึกษา

    แบ่งเป็น  3   ระดับ  คือ

หลักสูตร  2544

หลักสูตร  2551

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

21. เอกสารหลักฐานการศึกษา

1. เอกสารแบบ ปพ. 1 - 3  สถานศึกษาใช้รูปแบบตามที่กระทรวงกำหนด

2. เอกสารแบบ  ปพ. อื่น    สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาตามที่เห็นสมควร

 

   2.1  เกณฑ์การจบระดับประถมศึกษา

- เรียนรายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติม/กิจกรรม มีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน  การอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

   2.2 เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

-  รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน  81หน่วยกิต

เป็นรายวิชาพื้นฐาน  63  หน่วยกิต  รายวิชาเพิ่มเติมสถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนได้หน่วยกิต  ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

77  หน่วยกิต  รายวิชาพื้นฐาน 63  หน่วยกิต  รายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า  14  หน่วยกิต

- การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์  การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

    2.3  เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

-  รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า  81หน่วยกิต เป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต รายวิชาเพิ่มเติมสถานศึกษากำหนด

- ผู้เรียนได้หน่วยกิต  ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

77  หน่วยกิต รายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต รายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

- การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านเกณฑ์  การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

21.  เอกสารหลักฐานการศึกษา

แบ่งเป็น  2  ประเภท

1.  เอกสารที่กระทรวงกำหนด

 1.1  ระเบียนแสดงผลการเรียน

  1.2  ประกาศนียบัตร  ให้ผู้จบการ  ม.3 และ ม.6

  1.3  แบบรายงานผู้สำเร็จผลการศึกษาเป็นเอกสาร

หลักสูตร  2544

หลักสูตร  2551

 

 

 

 

22. การเทียบโอนผลการเรียน

 -มีข้อพิจารณา อยู่ 3 ข้อ และทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

 

 

 

23.  การพัฒนาศักยภาพครู

-  ได้กล่าวถึงการพัฒนาครู  โดยสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาพัฒนาครูสู่มืออาชีพ

24. การจัดหลักสูตรสถานศึกษา

-ได้กล่าวถึงการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีขั้นตอน/ส่วนประกอบอะไรบ้าง

 

อนุมัติการจบ  มี ป.6,  ม.3, ม.6

2. เอกสารที่สถานศึกษากำหนด

- เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นตามความเหมาะสม

22. การเทียบโอนผลการเรียน

    -มีข้อพิจารณาอยู่  3  ข้อ  เช่นเดียวกัน แต่มีข้อเพิ่มเติมคือ  ควรเทียบโอนช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรกหรือ  ต้นภาคเรียนแรก  และการเทียบโอนควรเทียบอย่างน้อย  1 ภาคเรียน  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

23.  การพัฒนาศักยภาพครู

  -  ไม่ได้กล่าวถึง

 

24.  การบริหารจัดหลักสูตร

  แบ่งเป็น  2  ระดับ

1. ระดับท้องถิ่น  หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หน่วยงานต้นสังกัดอื่น    มีหน้าที่

  -  ขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

-  เป็นตัวกลางเชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา

- ส่งเสริมการใช้และพัฒนาหลักสูตรในระดับสถานศึกษา

-กำหนดเป้าหมายและจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพ

-พัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

- ประเมินคุณภาพการศึกษา

- วิจัย  และพัฒนา

- พัฒนาบุคลากร

2.  สถานศึกษา  มีหน้าที่

  - จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง

   - วางแผนการใช้หลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพ

หลักสูตร  2544

หลักสูตร  2551

 

 

 

 

 

 

 

25.การกำกับ  ติดตาม  ประเมินและรายงาน

-  ได้เสนอแนะวิธีกำกับ ติดตามประเมินและรายงานการใช้

26.  การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

-  ปรับได้ตามความเหมาะสม

27.  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

   -มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับแต่ละสาระ แต่ไม่มีว่าแต่ละทุกกลุ่มสาระ ทำไมต้องเรียน/เรียนรู้อะไร คุณภาพผู้เรียน/ รายละเอียดตัวชี้วัด 8กลุ่มสาระ

  - วิจัยและพัฒนาหลักสูตร

   -ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

   - จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผล

   - สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติม  ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่นความต้องการของผู้เรียน

   - ให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วมในการพัฒนา

25.  การกำกับ  ติดตาม  ประเมินและรายงาน

   - ไม่ได้กล่าวถึง

26. การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

    - ปรับได้ตามความเหมาะสม

27.  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

   -โดยกำหนดไว้ทุกกลุ่มสาระ ว่าทำไมต้องเรียน/เรียนรู้อะไร คุณภาพผู้เรียน/ รายละเอียดตัวชี้วัด 8กลุ่มสาระ

 

โดยสรุปแล้วจุดเด่นของหลักสูตรทั้ง 2 ฉบับ ก็คือการยึดมาตรฐานการเรียนรู้ ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพการเรียนรู้ผู้เรียนขั้นต่ำของผู้เรียนทุกคนในประเทศไทย จะต้องพัฒนาไปให้ถึง โดยมีครูเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน ผู้บริหารโรงเรียนให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม มีศึกษานิเทศก์เป็นเพื่อนคู่คิด ที่คอยคำแนะนำ  ชี้แนะ ให้กำลังใจ และหน่วยงานต้นสังกัดทำหน้าที่ กำกับ ติดตามและตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

เอกสารอ้างอิง

ระทรวงศึ

หมายเลขบันทึก: 226792เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2008 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณครับที่ท่านศึกษานิเทศน์ได้นำแนวการจัดการหลักสูตรทั้ง 2หลักสูตรมาเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนและความแตกต่าง

กระผมมีข้อเรียนหารือครับ ตามที่การศึกษาของประเทศไทยพัฒนามาเป็นเวลาหลายสิบปี มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรมากพอสมควร ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับกับการปรับเปลี่ยนและผลผลิตที่จบการศึกษาออกมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน รวมถึงอนาคตซึ่งกระผมคิดว่าการจัดการศึกษาคงจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วเช่นกันหรือเปล่าครับ แล้วหลักสูตรที่เหมาะสมควรจะเป็นเช่นไรครับ เราควรเตรียมการรองรับการพัฒนาดังกล่าวหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณครับ

เรียนว่าที่ ร.ต.วุฒิชัย สังข์พงษ์

เห็นด้วยกับแนวคิดของท่านว่าการศึกษาประเทศไทยพัฒนามาหลายสิบปี และมีการปรับหลักสูตรมาต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถแข่งขั้นกับนานาชาติได้

เรียนว่าร้อยตรีวุฒิชัย สังข์พงษ์

ประเทศไทยมีการปรับหลักสูตรมาตลอด จาก ๒๕๐๓ มาเป็น ๒๕๒๑ , ๒๕๒๔ ,๒๕๓๓ ,๒๕๔๐ และปัจจุบัน ๒๕๕๑ โดยพยายามที่ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีที่สุดในแต่ละยุค ปัญหาก็คือ ประเทศไทยพยายามลอกแนวคิดของต่างประเทศมาเป็นหลัก เนื่องจากนักการศึกษาเมืองไทยยังไม่สามารถที่จะพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้ก็พยายามใช้ของเขา เมื่อใช้ของเขาก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ผู้ใช้หลักสูตร(สถานศึกษา) ตามไม่ทัน เมื่อตามไม่ทัน นักวิชาการก็มากล่าวโทษสถานศึกษาว่าล้มเหลวในการใช้หลักสูตร จริง ๆ แล้วไม่ล้มเหลวหลอกถ้าคนเรามีความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ กลัวรู้ไม่ถ่องแท้ รู้แต่ผิวเผิน รู้ไม่จริง

หลักสูตรทุกฉบับมีจุดดีทั้งหมดและทันต่อเหตุการณ์ในแต่ละยุค ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตรไม่ทันต่อเทคโนโลยี จึงต้องปรับให้ทัน (ตามหลัง) ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของหลักสูตร คือ ผลผลิตของหลักสูตร ก็คือ คุณภาพของคน ถ้าคนมีคุณภาพ คือ ดี มีคุณธรรม มีความสุข และสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องมาร่วมมือกันช่วยให้หลักสูตรไปสู่ความสำเร็จ ไม่ใช่อยู่ที่สถานศึกษาอย่างเดียว ต้องรวมทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม ทุกส่วนต้องร่วมกัน ครับ

ยืนยง ราชวงษ์

จะพยายามพาหลักสูตรไปให้ถึงดวงดาวด้วยความเต็มใจค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท