“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ข้อความนี้ดังก้องอยู่ในความคิดของผมตลอดเวลา เมื่อต้องดำรงชีวิตอยู่คนเดียว ซึ่งใช้เวลาเสียส่วนใหญ่ในแต่ละวัน อารมณ์เหงา เบื่อ และท้อแท้ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เมื่อนึกถึงบุคคลที่เรารักที่กำลังอยู่ในประเทศไทยที่แสนน่าอยู่
การเดินทางมาแสวงหาความรู้ ณ เมืองนอก
กำลังสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตใจของคนแต่ละคน
ที่มีประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกัน นั่นคือ กิจกรรมการดำรงชีวิต
จึงมีบทบาทต่อระดับการใช้ชีวิตแบบตัวคนเดียว (Solitary
activity) เช่น การนั่งคิดเรื่องราวต่างๆ อยู่คนเดียว
การอ่านหนังสืออย่างตั้งใจอยู่คนเดียว
ให้พัฒนาขึ้นเป็นระดับการใช้ชีวิตแบบสังคม (Social
activity) เช่น
การนั่งคิดเรื่องราวเดียวกับผู้เข้าร่วมสัมมนาอื่น
การอ่านหนังสือร่วมกับผู้อื่นในห้องสมุดประชาชน
ระบบการดูแลสุขภาพของตนเอง ก็เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง นอกเหนือจากการรับผิดชอบต่อการเรียนหรือหน้าที่การงานในปัจจุบัน จริงอยู่ที่ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” อาจจะเป็นแก่นแท้ของการดำรงชีวิตของคนบางคน แต่คนเราทุกคนยังคงต้องมีการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีการทำกิจกรรมร่วมกันทางสังคม มีการพัฒนาความรู้สึกที่ดีในการใช้เวลาว่างมาทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่สังคม ผมจึงขอยกประเด็นใหม่คือ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งสุขภาพของตน…และเพื่อสุขภาวะทางสังคม”
ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เมื่อเรารู้จักศึกษาและค้นคว้าหนทางแห่งการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่า เลือกกิจกรรมยามว่างที่มีประโยชน์ ทั้งแก่สภาพร่างกายและจิตใจของตนเอง เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกหลักการดำเนินชีวิตในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นเมื่อเรามีประสบการณ์ชีวิตที่ดีมีความหมาย ก็ถึงเวลาถ่ายทอดแก่บุคคลอื่น ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น คุยเรื่องการดูแลสุขภาพแก่ญาติที่ทำงานหนักจนเกินไป ร่วมชักชวนเพื่อนเข้าฟังบรรยายวิชาการทางสุขภาพ เป็นต้น จะเห็นว่า การเข้าร่วมทำกิจกรรมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างระบบการดูแลสุขภาพของตนเองกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
และ "ตนก็เป็นที่พึ่งแห่งตน"
อืม..."คิด"
"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
Thank you krab Dr. Ka-poom.
it seems like looking after your own health as well as your community health...