ภาษาพม่าสบายๆ สไตล์เรา (ตอน 6 - โยเดีย หลู่เมียว คนไทยครับ)


...

 

ภาพที่ 1: แผนที่พม่าจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • คนไทยมักจะคิดว่า พม่าอยู่ทางทิศตะวันตกของไทย ทว่า... จริงๆ แล้วพม่าอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไทยดังภาพที่ 2

... 

ภาพที่ 2: แผนที่พม่า (Google map) จาก www.nationsonline.org > [ Click ]

...

ภาพที่ 3: แผนที่พม่า (Google map) จาก www.nationsonline.org > [ Click ]

  • โปรดสังเกตว่า เมืองหลวงของพม่า (ย่างกุ้ง / Yangon) อยู่ระดับใกล้เคียงกับเมืองเมาะละแหม่ง (Moulmein) เขตมอญ จังหวัดตาก และพิษณุโลก

...

ภาพที่ 4: แผนที่พม่า (Google map) จาก www.nationsonline.org > [ Click ]

  • โปรดสังเกตว่า เมืองหลวงของพม่า (ย่างกุ้ง / Yangon) อยู่ระดับใกล้เคียงกับจังหวัดตาก และพิษณุโลก
  • ถ้ามีการสร้างทางหลวงเชื่อมจากแม่สอด ("แม-เซ่า" ในภาษาพม่า) ไปย่างกุ้งได้... การค้าขาย การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างพม่ากับไทยจะก้าวไปไกลมากๆ เลย

...

ทบทวนศัพท์ตอนที่ 5 > [ Click ]

  • เมียนม่าร์ = ชาวพม่าทุกกลุ่มรวมกัน
  • บะหม่า = ชาวพม่ากลุ่มใหญ่
  • ชาน = ไทยใหญ่ รัฐฉาน (ออกเสียง "ชาน")
  • ม็อน = ชาวพม่าเชื้อสายมอญ
  • กยิน = กะเหรี่ยง

...

  • โยเดีย = ไทย (คนไทย ประเทศไทย) 
  • ไท้ = ไทย (ประเทศ)
  • ไหน่หงั่ง = ประเทศ

...

  • ดานะ = ทาน
  • ซีวิต๊ะ = ชีวิต
  • ซีวิต๊ะ ดานะ = ทานที่ช่วยชีวิตคน ชาวพม่ามักจะใช้เรียกการบริจาคเลือด

...

  • ต้วย = เลือด
  • ลู่ = ให้
  • ต้วย ลู่ = บริจาคเลือด

...

ทีนี้ถ้าเราจะพูดว่า "ผมเป็นคนไทย" จะกล่าวอย่างไร เราจะเริ่มตรงคำว่า "คนไทย" ก่อน ภาษาพม่านิยมเติมคำ "พลเมือง (หลู่ = คน; เมียว = เมือง)" เข้าไป

ภาษาไทยเรานิยมใส่คำขยายไว้ด้านหลัง เช่น คนไทย ฯลฯ คำขยายคือ "ไทย" ใส่ไว้ด้านหลัง ภาษาพม่าส่วนใหญ่จะทำอะไรตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือ นิยมใส่คำขยายไว้ด้านหน้า

...

เพราะฉะนั้นคำว่า "คนไทย" ในภาษาพม่าคือ "ไทย (โยเดีย)" + "พลเมือง (หลู่ เมียว)" รวมกันเป็น "ไทย + คน + เมือง" = "โยเดีย หลู่เมียว" ดังต่อไปนี้

ภาษาพม่า ภาษาไทย
โยเดีย ไทย
หลู่ คน
เมียว เมือง
โยเดีย หลู่เมียว คนไทย

...

ถ้าจะกล่าวถึงประเทศไทยนิยมผสมคำว่า "ไทย (ไท้)" + "ประเทศ (ไหน่หงั่ง)" รวมกันเป็น "ไทย + ประเทศ" = "ไท้ ไหน่หงั่ง" ดังต่อไปนี้

ภาษาพม่า ภาษาไทย
ไท้ ไทย
ไหน่หงั่ง ประเทศ
ไท้ ไหน่หงั่ง ประเทศไทย

...

ภาพที่ 5: เด็กหญิงคนนี้รอความช่วยเหลือเมื่อครั้งพายุนาร์กิส (มิถุนายน 2551)

  • ชาวพม่าเชื่อว่า ถ้าได้ทำบุญร่วมกัน... ชาติต่อๆ ไปจะมีโอกาสพบกัน และได้ "ช่วยเหลือเกื้อกูล" กันอีก จึงนิยมรวมตัวกันทำบุญเป็นกลุ่มๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นญาติสนิทมิตรสหายจะนิยมทำบุญร่วมกันมาก เมื่อเกิดวิกฤตการณ์พายุนาร์กิสจึงช่วยเหลือกันเต็มที่

...

  • ชาวพม่าที่เป็นกรรมการสมาคมผู้บริจาคเลือดพุกาม (Pagan เมืองตอนกลางค่อนไปทางเหนือของพม่า) เล่าว่า หลังพายุนาร์กิสเข้า... สมาคมผู้บริจาคเลือดพุกามระดมคนได้นับพันผลัดกันไปช่วยผู้ประสบภัย

...

ภาพที่ 6: เด็กกลุ่มนี้รอความช่วยเหลือเมื่อครั้งพายุนาร์กิส (มิถุนายน 2551)

  • ชาวพม่ามีความอดทนและความเข้มแข็งมากทั้งๆ ที่วิกฤตการณ์พายุนาร์กิสทำความเสียหายอย่างรุนแรง บางหมู่บ้านมีคนก่อนพายุเข้า 300 คน หลังพายุเข้ามีคนเหลืออยู่เพียง 30 คน

...

ภาพที่ 7: เด็กคนนี้กำลังได้รับความช่วยเหลือเมื่อครั้งพายุนาร์กิส (มิถุนายน 2551)

  • อาหารเช้ามื้อนี้ของเด็กๆ เป็นข้าวต้ม... ต้มแบบเจือจาง และใส่นมไปอีกนิดหน่อย เนื่องจากผู้บริจาคไปเรือลำเดียว คนรอรับบริจาคมีเป็นหมู่บ้าน

...

  • แบบนี้ก็อร่อยมากๆ แล้วครับ (ดูจากหน้าเด็ก) เพราะความหิวเป็นเครื่องเจริญอาหารได้ในตัว
  • ขอเรียนขอบพระคุณและขอบคุณคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือชาวพม่า พร้อมทั้งขอเรียนให้พวกเราทราบว่า เจ้าภาพมื้อนี้เป็นชาวพม่าด้วยคนไทยด้วย เข้าไปแบบ "ร่วมด้วยช่วยกัน"

...

ภาพที่ 8: สมาคมบริจาคเลือดพุกาม (มิถุนายน 2548)

  • โปรดสังเกตรถที่พร้อมนำผู้บริจาคเลือดไปยังโรงพยาบาลพุกามเป็นรถสีขาว... ชาวญี่ปุ่นชอบใช้รถสีขาว แน่นอนว่า รถที่รอบริการรับส่งเป็นรถบริจาคของญี่ปุ่น ชาติที่รู้จักลงทุนเจาะจงเรื่องบริจาคเลือด เพื่อชนะใจชาวพม่า
  • โรงพยาบาลพุกามยังไม่มีตู้เย็นสำหรับเก็บเลือด (มิถุนายน 2551) จึงใช้วิธีลงทะเบียนสมาชิกผู้บริจาคเลือดไว้ ต้องการกลุ่มใดก็หาสมาชิกมาเจาะเลือดใส่ถุง แล้วให้กันวันนั้นเลย

...

ภาพที่ 8: สมาคมบริจาคเลือดพุกาม (มิถุนายน 2548)

  • คนที่จดข้อมูลทางซ้ายคือ อาจารย์วิเชียรที่เกษียณจากคณะมนุษยศาสตร์ มช. (นุ่งโสร่งเข้ากับบรรยากาศเสียด้วย) คนที่จดข้อมูลทางขวาคือ ผู้การฐนัส

...

  • โปรดสังเกตชาวญี่ปุ่นอาสาสมัครที่เข้าไปช่วยกิจการคลังเลือด และการบริจาคเลือดในพม่า (คนที่ยืนด้านซ้ายมือ) ทำให้ "ได้ใจ" ชาวพม่ามากๆ เนื่องจากชาวพม่าถือกันว่า การบริจาคเลือดเป็นทานประเภทช่วยชีวิตมนุษย์ (ซีวิต๊ะ ดานะ = ชีวิตะ ทาน)
  • ถ้าเมืองไทยเรามีตู้เย็นคลังเลือดใช้แล้ว... ซ่อมให้ดี นำไปบริจาคจะช่วยเหลือชาวพม่าได้มาก กรรมการท่านหนึ่งของสมาคมฯ บอกว่า ยินดีจะมารับที่เมียววดี (เมืองที่อยู่ตรงข้ามสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แม่สอด ตาก)

...

ประเทศบางประเทศหรือเมืองบางเมืองที่มีมาแต่โบราณใช้คำว่า "ปี" เช่น รัฐฉาน (เขียน "สยาม") ฯลฯ เรียกว่า "ฉาน + รัฐ" = "ชาน + ปี = ชานปี" 

ประเทศไทยเดิมชื่อ "สยาม" เพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "ไทย" มาไม่นาน ประเทศที่เปลี่ยนชื่อใหม่หรือเกิดใหม่ นิยมใช้คำว่า "ไหน่หงั่ง" คนพม่าไม่นิยมเรียกเมืองไทยว่า "ไท้ปี" ทว่า... นิยมเรียกว่า "ไท้ไหน่หงั่ง"

...

เคล็ดไม่ลับ         

  • ภาษาพม่าส่วนใหญ่จะทำอะไร "ตรงกันข้าม" กับภาษาไทย เช่น คำขยายมักจะขยายไว้ด้านหน้ามากกว่าด้านหลัง เช่น ภาษาไทยพูด "คนไทย" ภาษาพม่าจะพูดว่า "ไทยคน (ไทย + พลเมือง = โยเดีย หลู่เมียว)" ฯลฯ
  • แน่นอนว่า ภาษามักจะมี "ข้อยกเว้น (exception)" เสมอ ซึ่งภาษาพม่าก็มีข้อยกเว้นทำนองนี้เช่นกัน

...

ศัพท์ในตอนนี้     

  • หลู่ = คน
  • เมียว = เมือง
  • หลู่เมียว = พลเมือง

...

  • ไหน่หงั่ง = ประเทศเกิดใหม่ หรือเปลี่ยนชื่อใหม่
  • ปี = ประเทศ หรือรัฐที่มีมาแต่โบราณ

...

แบบฝึกหัด          

จงแปลภาษาไทยเป็นภาษาพม่า

  • คนไทย
  • คนไทยใหญ่ (รัฐฉาน)
  • คนกะเหรี่ยง
  • คนมอญ (พม่าเชื้อสายมอญ)
  • คนพม่า (ทุกกลุ่มรวมกัน)
  • ประเทศไทย

เฉลย                 

  • คนไทย = โยเดีย หลู่เมียว
  • คนไทยใหญ่ (รัฐฉาน) = ชาน หลู่เมียว
  • คนกะเหรี่ยง = กยิน หลู่เมียว
  • คนมอญ (พม่าเชื้อสายมอญ) = ม็อน หลู่เมียว
  • คนพม่า (ทุกกลุ่มรวมกัน) = เมียนหม่า หลู่เมียว
  • ประเทศไทย = ไท้ ไหน่หงั่ง

...

ขอแนะนำ                                               

  • ขอแนะนำให้อ่านตอนต่อไป (ตอนที่ 7)
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "มอญศึกษา"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำหนังสือ "เรียนรู้ภาษาพม่าด้วยตนเอง" พิมพ์ครั้งที่ 11. ราคา 55 บาท เขียนโดยท่านอาจารย์วินมิตร โยสาละวิน โทรศัพท์ 055-545.257 ตู้ ปณ.62 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110.

...

  • ขอแนะนำให้อ่านตั้งแต่ตอนที่ 1
  • [ Click ]

...

ที่มา                                                                 

  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (สมณศักดิ์พม่า) และท่านพระอาจารย์ชนกะ วัดท่ามะโอ ลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ นักเรียนภาษาพม่า > 27 พฤศจิกายน 2551.

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ"
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

...

คำสำคัญ (Tags): #burmese#myanmar#ภาษาพม่า
หมายเลขบันทึก: 225908เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากๆเลยคะเพราะทำงานที่โรงพยาบาลด้านต่ออายุบัตรสุขภาพเวลาคุยกันเมื่อยมือมากๆไม่รู้จะใบ้ยังไงแต่ไม่ค่อยเก่งด้านการใช้คอมพิวเตอร์เท่าไหร่ต้องขออภัยนะคะ

ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท