5ส ,TPM, QC


หลักการวางแผนและพํฒนาวัสดุ อปกรณ์ เครื่องมือ

ระบบ หลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ  5ส,  TMP,  QC

 

5 คือการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการ และงานของตนด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้วิธี สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

รายละเอียดของกิจกรรม 5

1.    เพื่อจัดระบบราชการและงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเป็นการสนองความต้องการของประชาชนและงานของรัฐ ซึ่งเป็นการฟืนฟู พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการเมือง

2.    เพื่อสร้างและพัฒนาจิตสำนึกการปรับปรุงของผู้ปฏิบัติงานให้เกิดขึ้น ณ สถานที่ทำงาน

3.    เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมสร้างและพัฒนาภาวะการเป็นผู้นำ (Leadership)ของผู้บริหารและผู้บังคับบัญชา

5 มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

1.    Seiri (เซริ) = สะสาง (ทำให้เป็นระเบียบ) คือการแยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ต้องขจัดทิ้งไป กล่าวกันว่า การเพิ่มประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจาก สะสาง

2.    Seition (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบฉวยใช้งานได้ทันที กล่าวกันว่า ให้ใช้หลัก สะดวกนี้ เพื่อกำจัดความสูญเปล่าของเวลาในการ ค้นหาสิ่งของ

3.    Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือ การปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีเศษขยะ ไม่ให้สกปรกเลอะเทอะ สะอาดคือพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ

4.    Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป ก้าวแรกของความปลอดภัยเริ่มจากการรักษาความสะอาด หรือสุขลักษณะนี่เอง

5.    Shitsuke (ชิทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ 4 ส หรือสิ่งที่กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย

วิธีการทำกิจกรรม 5 ส มีหลักสำคัญ ดังนี้

                        1.    การเริ่มต้นทำ 5

                                (1) รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการจัดให้มีการบรรยาย อภิปราย ทำความเข้าใจและปรับแนวความคิดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

                                (2) วางกิจกรรม 5 ส ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับปรุงสถานที่ทำงาน โดยนำเอาวิธีการ 5 ส ที่มุ่งขจัดความสูญเปล่าไปช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น

                                        -      ขจัดอุบัติเหตุให้หมดสิ้น

                                        -      ขจัดของเคลม (Claim) ให้หมดสิ้น

                                        -      ขจัดปัญหาคุณภาพไม่ดีที่เป็นปัญหาเรื้อรัง

                                        -      เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์

                                        -      ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์

                                        -      ลดจำนวนสต๊อกจำนวนสินค้าระหว่างผลิต

                                        -      ลดเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องให้น้อยลง เป็นต้น

                                (3)  กำหนดทำกิจกรรมเรียงตามลำดับแต่ละ โดย

                                        -      เริ่มจากการขจัดของที่ไม่ต้องการออก และทำความสะอาด (พื้น) ก่อน

                                        -      เริ่มทำในหน่วยตัวอย่างเล็กๆ ของแต่ละแผนกก่อน แล้วค่อยขยายขอบข่ายให้กว้างออกไป

                                        -      เริ่มทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มในสำนักงาน และในบริเวณโต๊ะทำงานของหัวหน้าในโรงงาน

                                (4) ให้ผู้บริหารทำการตรวจเช็ค เพื่อรับรู้สถานะที่แท้จริงของการดำเนินกิจกรรม 5 ส ด้วยตนเอง

                                (5) ใช้วิธีถ่ายรูปไว้ ทั้งก่อนลงมือทำและหลังทำกิจกรรม 5 ส ในหน่วยที่ปฏิบัติ และให้มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับรูปถ่ายนั้นไว้ เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการปรับปรุงได้

                                (6) ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยสมาชิกของแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ดำเนินงานและให้กลุ่มจัดการประชุมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดหัวข้อ และรายละเอียดการดำเนินงาน นอกจากนี้ให้มีการกำหนดหัวข้อรับผิดชอบที่แยกย่อยลงไปอีก เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

                                (7) การวัดผล ในการทำกิจกรรม 5 ส นั้น ควรจะได้มีการวัดผลออกมาด้วย จะทำให้มีคุณค่ามากขึ้น เช่น การขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกนั้น มีแนวคิดดังนี้

                                        -      เอกสารที่ไม่ต้องการนั้น หนักเท่าใด หรือกี่ตู้เอกสาร

                                        -      ลองแปลงเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่าย เช่น จะเป็นเศษวัตถุดิบกี่ตัน เป็นจำนวนเงินกี่แสนบาท

                        2.    การคงรักษากิจกรรมและขยายงานกิจกรรม 5

                                มีหลักสำคัญดังนี้

(1)  มีการกำหนดหัวข้อสำคัญที่จะดำเนินการในแต่ละเดือน เช่น การขจัดของที่ไม่ต้องการ การเช็ดถูทำความสะอาด ฯลฯ

(2)    การดำเนินงานให้ดำเนินการโดยบุคคลที่อยู่ในสายงานของตนเสมอ

(3)  หัวหน้างานมีความตั้งใจจริงและมีความกระตือรือร้นโดยหัวหน้าเป็นผู้นำ และปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

(4)  มีการตรวจเช็คและการประเมินผล ทั้งโดยผู้จัดการโรงงานและหัวหน้าหน่วย เพื่อทราบจุดบกพร่อง และการบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น

(5)  มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน คือ ควรทำการรวบรวมกฎเกณฑ์ การเตรียมงานขั้นต้นไว้แล้ว กำหนดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานในโรงงาน โดยทำไว้ตั้งแต่ระยะต้นๆ แล้วให้มีการปรับปรุงไปสู่การตรวจเช็คภายในสถานที่ทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด

(6)  สนับสนุนให้ดำเนินการปรับปรุง โดยมุ่งเน้นว่างานปรับปรุงที่สามารถทำเองได้ จะต้องให้พนักงานในหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการเอง

(7)  แจ้งข้อคิดเห็นให้ทราบทั่วกัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยจัดให้มีการประชุมเป็นประจำรายสัปดาห์ หรือเดือนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ควรจัดประชุมในสถานที่ทำงานของแต่ละหน่วยจะดีกว่าจัดในที่ประชุมและมีการติดป้ายแสดงให้ทราบทั่วกัน

(8)  ให้พิจารณาลึกเข้าไปถึงสถานที่เป็นปัญหา เพื่อพบว่าจุดไหนที่มีปัญหาก็ต้องรีบแก้ไขให้กลับสู่สภาพที่ดี สำหรับบางจุดอาจจะมีปัญหาเรื้อรังยากต่อการปฏิบัตินั้น จะต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

(9)  ให้คืบหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดเล็กๆ คือ ในบางหัวข้อที่มีความสำคัญให้ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ก้าวคืบหน้าต่อไปจนถึงจุดเล็กๆ

 

 

 

 

 

 

สีเพื่อความปลอดภัยและเครื่องหมายตัด

 

 

 สีเพื่อความปลอดภัย 

ความหมาย

ตัวอย่างการใช้งาน

สีตัด

                                    
                                    
                                    
                                    
                                    

หยุด


(1)
- เครื่องหมายหยุด
- เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน
- เครื่องหมายห้าม

   สีขาว 

                                    
                                    
                                    
                                    
                                    

บังคับให้ต้องปฏิบัติ

- บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล
- เครื่องหมายบังคับ

   สีขาว

                                   
                                   
                                   
                                   
                                   

แสดงสภาวะปลอดภัย

- ทางหนี
- ทางออกฉุกเฉิน
- ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน
- หน่วยงานปฐมพยาบาล
- หน่วยกู้ภัย
- เครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับภาวะปลอดภัย

  สีขาว  

                                    
                                    
                                    
                                    
                                    

ระวังมีอันตราย


- ชี้บ่งว่ามีอันตราย(เช่น ไฟ, วัตถุระเบิด, กัมมันตภาพรังสี,
  วัตถุมีพิษ และอื่นๆ)
ชี้บ่งถึงเขตอันตราย, ทางผ่านที่มีอันตราย, เครื่องกีดขวาง (2)
- เครื่องหมายเตือน

  สีดำ

           

 

 

 

 หมายเหตุ :   1.    สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงและ

                                   ตำแหน่งที่ตั้ง อีกด้วย

2.     อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ไม่ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมาย

       เพื่อความปลอดภัย สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะ

       ที่มืดมัว 

 


ตัวอย่างการใช้สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด



หมายเหตุ :
พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

 

 

รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

1.   รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและสีที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงความหมาย

       2.     ให้แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแถบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม

       3.     ในกรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายตามที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยแต่ละประเภท ร่วมกับเครื่องหมายเสริม

 

 

ประเภท

รูปแบบ

สีที่ใช้

หมายเหตุ




เครื่องหมายห้าม

หมายเลขบันทึก: 225124เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2008 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้รายละเอียดของเนื้อหาดี แต่ยังไม่ครบ ตามหัวข้อ

หากมีเวลา ควร เพิ่มเติมให้ครบนะครับ และลองสังเคราะห์เป็นความคิดของตนเองหน่อย

หนึ่ง ว่าหลักการเหล่านี้นำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างไร หวังว่าเข้า มาชมครั้งหน้า

คงมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท