บันทึกข้อสงสัยของคนขี้สงสัย


ผมคิดเอาเองว่า "ถ้าอาจารย์ทำวิจัยมากๆนี่น่าจะดีไม่น้อย เพราะด้วยความเป็นนักวิจัย หรือกระบวนการวิจัยได้ซึมซับเข้าไปในชีวิต จะทำให้อาจารย์ที่ทำวิจัย หยิบเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวันโดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อทำไปก็จะคลี่คลายทีละปัญหา ทีละเรื่อง ทีละประเด็น ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาจะได้ประโยชน์ตรงนี้รวมถึงสถาบันที่อาจารย์ท่านนั้นๆสังกัดอยู่ด้วย"

ช่วงนี้มักได้ยินได้ฟังการพูดคุยกันถึงเรื่องวิจัยกันหนาหูมากขึ้น ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง และยื่งตัวบ่งชี้มาตรฐานคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายใน (สกอ) และภายนอก (สมศ) ก็เรียกร้องต้องการผลงานวิจัยด้วยแล้วก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในระดับหนึ่ง

ทั้งหลายทั้งปวงก็เป็นแนวโน้มที่น่าสนใจมากๆครับ ถ้าว่ากันตามแนวคิดทฤษฎีแล้วจะส่งผลดีอย่างมากต่อการจัดการศึกษาไม่เฉพาะในระดับอุดมศึกษาเท่านั้นแต่จะขยายวงลงไปยังการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานรวมถึงการศึกษาอื่นๆ และรวมถึงมิติด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้อง

แต่...ความเป็นจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? นี่อาจจะเป็นโจทย์ที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ไม่แน่ใจว่าได้มีท่านใดได้ทำวิจัย (วิจัยการทำวิจัย) สำรวจ ตรวจสอบ ผลที่เกิดขึ้นจากการที่อาจารย์ทำวิจัยหรือไม่? ว่า นักศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน สาขาวิชา คณะที่สาขาวิชานั้นๆสังกัด มหาวิทยาลัย และหรือสังคมที่ผลงานวิจัยนั้นเกี่ยวข้องได้รับอานิสงค์จากการวิจัยมากน้อยเพียงไร? แค่ใหน? อย่างไร?

และรวมถึงปัญหาที่เกิดมีขึ้นตลอดเวลาในมิติต่างๆทั้งในห้องเรียน ในกระบวนการทั้งหมดของการหล่อหลอมนักศึกษา เครื่องไม้เครื่องมือที่ประสิทธิประสาทให้กับนักศึกษาเพื่อนำออกไปใช้ในสนามของการทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแค่ใหน?เพียงไร? และรวมถึง นักศึกษาในฐานะที่เป็นผลิตผลของมหาวิทยาลัย เป็นProducts ที่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่? อย่างไร? แค่ใหน?

และในระดับหน่วยงานที่มีอาจารย์ทำวิจัยได้ก่อให้เกิดผลดี ได้ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา และได้ช่วยพัฒนากระบวนการทำงานต่างๆอย่างไร?

เหล่านี้เป็นบันทึกข้อสงสัยของตัวเองครับ

ผมคิดเอาเองว่า "ถ้าอาจารย์ทำวิจัยมากๆนี่น่าจะดีไม่น้อย เพราะด้วยความเป็นนักวิจัย หรือกระบวนการวิจัยได้ซึมซับเข้าไปในชีวิต จะทำให้อาจารย์ที่ทำวิจัย หยิบเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวันโดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อทำไปก็จะคลี่คลายทีละปัญหา ทีละเรื่อง ทีละประเด็น ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาจะได้ประโยชน์ตรงนี้รวมถึงสถาบันที่อาจารย์ท่านนั้นๆสังกัดอยู่ด้วย"

แต่ไม่รู้ว่าผมคิดถูกหรือเปล่า???

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 224616เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เรียกว่า...สังเคราะห์งานวิจัย..ใช่ไหมคะ
  • คิดที่จะทำค่ะ  ว่า....ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ นักเรียน ครู โรงเรียน ชุมชน  เป็นอย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ที่ช่วยเพิ่ม เชื้อฟืนให้

ทำวิจัยคิดว่าจะทำให้ครูอาจารย์มีความรู้แน่นหนายิ่งขึ้น

แต่ก็กลัวเหมือนกัน..

..กลัวว่า.. ที่ทำวิจัยเพราะต้องการสร้างผลงาน เพื่อผล..ง

แล้วเนื้อหาวิจัย ไม่ค่อยสนใจเท่าไรหลังจากนั้น

..งานวิจัยที่ทำกัน ยากมากที่จะตายตัว.. เมื่อกาลเวลาผ่านใหม่ ต้องทำวิจัยใหม่

ส่วนวิจัยที่มุ่งสู่สิ่งที่สามารถอ้างอิงได้ตลอดนั้น พักนี้ไม่ค่อยนิยม..(ว่ากันว่าไม่ค่อยมีคนให้เงิน) เช่น วิจัยสืบค้นความรู้ ความเข้าใจ และปฎิบัติจา อัลกุรอานและอัลหะดีษ...

  • สวัสดีครับครูอ้อย
  • ที่ครูอ้อยถามว่า สิ่งที่ผมบันทึกนั้นหมายถึง "การสังเคราะห์งานวิจัยใช่ไหม" เพื่อตอบคำถามนี้ก็ลองปรึกษากับชีค google ดูก็ได้คำตอบของ ดร.ศิษย์ก้นหม้อครุศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งบันทึกไว้ที่ http://www.research48.ob.tc/-View.php?N=22 ว่า "การสังเคราะห์งานวิจัย (research synthesis) เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่จากการนำงานวิจัยใหม่หลายๆเรื่องมาทำการสังเคราะห์..."
  • แต่ที่ผมเขียนบันทึกไว้นั้น "...ทำวิจัย (วิจัยการทำวิจัย) สำรวจ ตรวจสอบ ผลที่เกิดขึ้นจากการที่อาจารย์ทำวิจัยหรือไม่? ว่า นักศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน สาขาวิชา คณะที่สาขาวิชานั้นๆสังกัด มหาวิทยาลัย และหรือสังคมที่ผลงานวิจัยนั้นเกี่ยวข้องได้รับอานิสงค์จากการวิจัยมากน้อยเพียงไร? แค่ใหน? อย่างไร?

    และรวมถึงปัญหาที่เกิดมีขึ้นตลอดเวลาในมิติต่างๆทั้งในห้องเรียน ในกระบวนการทั้งหมดของการหล่อหลอมนักศึกษา เครื่องไม้เครื่องมือที่ประสิทธิประสาทให้กับนักศึกษาเพื่อนำออกไปใช้ในสนามของการทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแค่ใหน?เพียงไร? และรวมถึง นักศึกษาในฐานะที่เป็นผลิตผลของมหาวิทยาลัย เป็นProducts ที่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่? อย่างไร? แค่ใหน?

    และในระดับหน่วยงานที่มีอาจารย์ทำวิจัยได้ก่อให้เกิดผลดี ได้ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา และได้ช่วยพัฒนากระบวนการทำงานต่างๆอย่างไร?"

  • เพราะกลัวอย่างที่อาจารย์Ibm ครูปอเนาะ ได้ให้ข้อสังเกตไว้คือ "..กลัวว่า.. ที่ทำวิจัยเพราะต้องการสร้างผลงาน เพื่อผล..งานแล้วเนื้อหาวิจัย ไม่ค่อยสนใจเท่าไรหลังจากนั้น"

  • เพราะเท่าที่ทราบก็คือ สำหรับนักวิจัยเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วก็คือเสร็จ ส่วนการนำผลวิจัยไปใช้นั้นเป็นอีกส่วน หรือเป็นคนอื่น

  • ซึ่งก็น่าเสียดายมากครับ

     

       

  • ครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจมากครับ
  • ที่อาจารย์พูดถึงงานวิจัยที่ใช้สำหรับอ้างอิงนั้น น่าสนใจทีเดียวครับ โดยเฉพาะในวงการอิสลามศึกษาบ้านเรา จะว่าไปแล้วอิมามนักบันทึกหะดิษทั้งหลายนั้นก็เป็นนักวิจัย(อย่างน้อยในทัศนะของผม) ที่ช่วยคัดกรอง และแยกแยะสิ่งที่ไม่ใช่ หะดิษ ออกจากหะดิษ ซึ่งอุมมะฮฺอิสลามได้รับประโยชน์อย่างมากในการอ้างอิงสืบเนื่องต่อมาจนถึงยุคสมัยของเราในปัจจุบัน และผลงานวิจัยของท่านเหล่านั้น เหมือนมีชีวิตที่อุลามะอฺในแต่ละสมัยได้เข้าไปใช้ประโยชน์อย่างมหาศาล ซึ่งผิดจากงานวิจัยทั่วๆไปปัจจุบันที่ตายตั้งแต่งานวิจัยสำเร็จเป็นรูปเล่มแล้ว
  • วัลลอฮฺฮูอะอฺลัม
  • ลองค้นจากgoogle เกี่ยวกับ การสังเคราะห์งานวิจัย พบชิ้นหนึ่งครับเรื่อง การสังเคราะห์งานวิจัยและทิศทางการวิจัยในอนาคต(A Synthesis of Education Research and Trends of Future Research) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญณี แนรอท และคณะ เข้าไปอ่านได้ที่ลิงค์  http://www.onec.go.th/publication/synthesis_4701/index_synthesis4701.htm

              สวัสดีครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจอิสลามศึกษา เทอมที่แล้วผมสอนเรื่องของการจัดการศึกษาโดยศาสนา พุทธ คริสตร์ อิสลาม เพิ่งเข้ามาในเว็บนี้มีความรู้เรื่องอิสลามน่าสนใจหลายเรื่อง

  • สวัสดีครับ  อ.หนึ่ง 
  • ยินดีตอนรับครับ ดีใจมากเลยครับที่ทราบว่า  อ.หนึ่ง  สนใจด้านอิสลามศึกษา แสดงว่า ณ ขณะนี้นั้น อิสลามศึกษา มิได้มีการเรียนการสอนเฉพาะในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่เติมหน้าหรือต่อท้ายด้วยคำว่า "อิสลาม" นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ อัลหัมดุลิลละฮฺ
  • เท่าที่ทราบที่ ม.รังสิตฯก็มีสอน ที่ ม.เกษมบัณฑิตและ ม.ราชภัฏยะลาก็ได้ข่าวแว่วๆ (แต่อันนี้ไม่ยืนยันนะครับ)
  • ขอบคุณ  อ.หนึ่ง  ที่แวะมาเยี่ยมครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

สลาม อ. อาลัม

  • แวะมาเยี่ยม  เข้ามาอ่านบันทึกท่านบ่อยครั้ง
  • งานวิจัยทั่วๆไปปัจจุบัน(ส่วนใหญ่)  ทำเสร็จแล้วก็คือเสร็จ น่าเสียดายมากๆค่ะ

 

  • สลามครับ
  • ใช่ครับ น่าเสียดายจริงๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท