ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ กับ สังคมในยุคแห่งความแปรปรวน


สิ่งที่เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ หรือ Globalization และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ก็คือ การปฏิวัติระบบข้อมูลข่าวสาร ด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นลูกที่ 3 ต่อจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติเกษตรกรรม ในยุคก่อนหน้านี้

พูดถึงความกระแสแห่งความแปรปรวนของสังคมโลกเกิดจากปัจจัยหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆที่ช่วยขยายผลของปัจจัยต่างๆเหล่านั้นให้ทวีความรุนแรงและกระทบต่อคนทั้งโลก คือสิ่งที่เรียกว่าโลกาภิวัฒน์ หรือ Globalization และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ก็คือ การปฏิวัติระบบข้อมูลข่าวสาร ด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นลูกที่ 3 ต่อจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติเกษตรกรรม ในยุคก่อนหน้านี้

          เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบ อะไรบ้าง ต่อสังคมโลก เราสามารถจำแนกผลเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1.   เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็น เศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์

2.      เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนวิธีการทำงานของมนุษย์ไปสู่สภาพการทำงานแบบทุกที่ทุกเวลา

3.   เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกต่างที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในแบบต่างๆได้ละเอียดขึ้น

4.   เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

โลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลต่อสังคม และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์มากขึ้น ก่อให้เกิดการบิดตัวของสังคมมนุษย์และสังคมโลกอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่นกัน ปัญหาแรกก็คือ ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย หรือ ระหว่างประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวยก็จะมีมากขึ้น คนร่ำรวยก็จะรวยมากขึ้น คนยากจนก็จะจนมากขึ้น ส่วนชนชั้นกลาง หรือมนุษย์เงินเดือนก็จะมีพฤติกรรมทางด้านการเงินที่ และการบริโภคที่เปลี่ยนไป วัยรุ่นก็จะก้าวเข้าไปสู่สังคมวัตถุนิยม ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสังคมอันเนื่องมาจากวัตถุนิยม และทุนนิยม รวมถึงอาชญากรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในปีที่ผ่านมาแนวโน้มของการก่ออาชญากรรมโดยใช้เทคโนโลยีมีสูงขึ้นมาก เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อการหลอกลวง ล่วงละเมิด การขโมยข้อมูล ฯลฯ ซึ่งผู้ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัยทำงาน และวัยรุ่น ที่เข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งผมมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ซึ่งปัจจุบันการหลอกลวงลักษณะนี้อาจกระทำผิดได้จากที่ใดๆก็ได้ในโลกเพียงแค่มิจฉาชีพและเหยื่อสามารถเข้าถึงและใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น

          จากประเด็นดังกล่าวประเทศไทยก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ย่อมได้รับผลกระทบดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงได้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 : มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2550 นั้น มีผลทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffic Data) ไว้อย่างน้อย 90 วัน ปรากฏว่าหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเจตนารมณ์ของกฎหมาย และวิธีการจัดเก็บข้อมูลทางจราจรคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง และครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนด

          ศูนย์นวัตกรรมการฝึกอบรมเพื่อความเป็นเลิศ ร่วมกับ ทีมงานเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา  โดยที่นักเทคโนโลยี และนักวิชาการของวิทยาลัยฯ ได้ทำการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ และระบบระบุตัวตน (Authentication System) ขึ้นมาเพื่อใช้งานเอง โดยระบบสามารถรองรับการเติบโตของผู้ใช้งานได้มากกว่าหมื่นผู้ใช้ และได้ดำเนินโครงการขยายผลออกมาในเชิงพาณิชย์ ในนาม Great wall: Cyber Security System.

โดยที่วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมีจุดมุ่งหมายที่พัฒนาเทคโนโลยี นี้ขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นให้หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชนที่สนใจได้เข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีที่มีความมั่นคงปลอดภัย เทียบเท่ากับสากลในราคาถูก และที่สำคัญคือได้ช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักวิจัยไทยได้สรรสร้างผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

หน่วยงานราชการ และเอกชน สนใจติดต่อ

หน่วยงานในกรุงเทพ :

อาจารย์พลวัฒน์ จินตนาภรณ์

ศูนย์นวัตกรรมการฝึกอบรมเพื่อความเป็นเลิศ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา โทร.02-325-9068 โทรสาร.02-325-9069 e-mail : [email protected]

หน่วยงานในภาคตะวันออก :

คุณเขมพัชร์ จำนงค์วงษ์

หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

โทร.038-745-851-2 โทรสาร.038-745-851-2 ต่อ 120

 

หมายเลขบันทึก: 224472เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท