โรคหลอดเลือดแข็ง: กลไกการเกื้อหนุนการเกิดพยาธิสภาพ


โรคหลอดเลือดแข็ง : กลไกการเืกื้อหนุนการเกิดพยาธิสภาพ

สนใจ

"หนังสือ หลอดเลือดแข็ง ตีบตันป้องกันได้"

ของ

นายแพทย์ เฉลียว ปิยะชน

ติดต่อผมได้นะครับ ,เก่ง

(รู้สู้โรค : นายแพทย์ เฉลียว ปิยะชน)

โรคหัวใจเป็นโรคที่คนไทยเป็นกันมากขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน

โรคหัวใจในที่นี้ หรือที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปคือ โรคที่มาจากหลอดเลือดแข็งตีบ และมีการอุดตันตามมา

หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจมีชื่อว่า โคโรนารี

โรคนี้จึงเรียกอีกชื่อว่า โรคหัวใจโคโรนารี

โรคหัวใจเป้นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของคนไทย

และน่าจะเป็นสาเหตุเสียชีวิตอย่างฉับพลัน ไม่ทันได้ตั้งตัวเป็นอันดับ  1

การเสียชีวิตเ่ช่นนี้ เป็นสิ่งที่น่าตระหนกอย่างยิ่ง ทั้งตัวเอง และผู้ใกล้เคียง

โอกาสที่จะเกิด เช่นนี้มีบ่อยพอสมควร

     - 1 ใน 3 ถึง 40 % ของผู้ป่วยโรคหัวใจโคโรนารีนั้น อาการแรกคือ การเสียชีวิตทันที โดยไม่รู้ตัวมาก่อน เป็นครั้งแรก และ ครั้งสุดท้าย

     - 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เกิดหัวใจถูกจู่โจม ครั้งแรกนั้นไม่มีอาการมาก่อน

โรคหลอดเลือดแข็ง เป็นภาวะที่เกิดได้กับหลอดเลือดแดงทุกเส้น

เมื่อเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือ สมอง ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญก็ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ง่าย

หรือเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ตามมา

สถิติที่น่าสนใจ

โรคนี้เป็นตั้งแต่เด็ก  แต่ใช้เวลาเป็นสิบ ๆ ปีกว่าจะมีอาการหรือ ไม่มีอาการ

แต่ปรากฏตัวก็ทำให้เสียชีวิตเลยดังกล่าวแล้ว

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องป้องกันด้วยทุกวิถึทาง เพราะเป็นโรคที่ป้องกันได้

และเมื่อเป็นแล้วก็บำบัดให้ฟื้นคืนสภาพได้ทุกระยะของโรค

เนื่องจากมีข้อมูลทางพยาธิวิทยาว่า เป็นโรคที่เกิดมากขึ้นกับคนในทุกภูมิภาคของโลก

ดังเป็นที่ประจักษ์แก่หลาย  ๆ ท่าน ว่า มีคนรู้จักต้องเสียชีวิตด้วยโรคนี้อยู่บ่อย ๆ

การเรียนรู้ถึงพยาธิิสภาพกลไกการเกิดโรคและบริบทอื่น ๆเช่น ระบาดวิทยาของโรค

เรื่องราวความเป็นไปนั้น ทำให้เราเข้าใจโรคนั้น ๆได้ดีขึ้น

ที่สำคัญ พยาธิสภาพที่เป็นผลจากสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบนั้น ผู้เขียนขอนำเสนอให้ง่ายที่จะเข้าใจ และเห็นว่า ถ้าผู้อ่านได้เรียนรู้ข้อมูลทางวิชาการเหล่านี้บ้าง

จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะเข้าใจเรื่องราวของหลอดเลือดได้กว้างขึ้น

ปัจจุบันยอมรับกันว่า การอักเสบเป็นขบวนการที่ทำให้ หลอดเลือดแข็งไม่ใช่จากความชราภาพ

สาเหตุที่ำทำให้หลอดเลือดอักเสบนั้น มีมากมาย 

บ้างก็เป็นที่ยอมรับและเข้าใจกลไกอย่างดี

แต่บางสาหตุกลับไม่ค่อยมีผู้สนใจ แม้แ่ต่ แพทย์เอง

ขอนำเสนอ สาเหตุต่าง ๆ ที่สามารถค้นมาได้

เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องทั้งหมดได้ดีขึ้น

ซึ่งเป็นกลไกเกี่ยวเนื่องทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกัน สรีรวิทยา และอืน ๆ

เป็นระบบที่ธรรมชาติมีไว้ให้ร่างกายปรับแต่งให้เกิดสมดุล

หรือ เรียกตามศัพท์วิชาการว่า homeostasis

ขบวนการเหล่านี้ ประกอบด้วยกลไกทางชีวเคมี เกิดขึ้นเป็นร้อยเป็นพัน ปฏิกิริยาที่เป้นไปตามแนวทางที่ธรรมชาติได้กำหนดไว้แล้ว

การย่อยปรับแต่ง metabolic pathway

การรักษาดุลยภาพในภาวะหลอดเลือดอักเสบ ก็คือการซ่อมแซม

การซ่อมแซมกลับเป็นผลเสีย

เพราะทำให้ผนังหลอดเลือดส่วนนั้น ขรุขระ หนาขึ้น ความอ่อนนุ่มลดลง และรูแคบตีบ

การที่ร่างกายพยายามจะรักษาสมดุล กลับกลายเป็นว่าทำให้เสียสมดุลเอง

ทั้งนี้ น่าจะเกิดจากข้อบกพร่อง อื่น ๆ ที่เกือหนุนให้เป็นไปเช่นนั้น

เช่น ขาดสารอาหาร หรือ วิตามินที่จำเป็น

หรือ ต้นเหตุแห่งปัญหารุนแรงมาก และ ยังไม่ถูกขจัดออกไป

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด

1.การติดเชื้อ ไวรัส หรือ แบคทีเรีย

2.LDL chloresterol สูง

3.Triglyceride สูง

4.น้ำตาลในเลือดสูง

5.Homocystein สูง

อื่น ๆ

ปัจจัยเกื้อหนุน

:พันธุกรรม

พันธุกรรมเป็นปัจจยกำหนด ความเป็นไปที่สำคัญของแต่ละบุคคล

ที่เกี่ยวกับหลอดเลือดคือ  เป็นตัวกำหนดการย่อยปรับแต่ง ไขมันชนิดต่า่ง ๆ จากอาหารที่รับประทาน

บางคนจึุงมีคอเลสเตอรอลดี HDL สูงกว่าอีกคนหนึ่ง

ขณะที่รับประทานอาหารเหมือนกัน

ยีนทำหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กำกับตัวเรากับสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมอาหารด้วย

พันธุกรรมจึงมีผลต่อ หรือเ็ป็นปัจจัยเสี่ยงถึง 45 %

ส่วนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หรือภาวะแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยง 15 %

และ อีก 40 % นั้นไม่ทราบชัด

เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้

แต่เราปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้แม้เป็นปัจจัยเพียง 15 % ก็ตามสู่ผลสำเร็จได้


ปัจจุบัน แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่เชื่อว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งนั้น

มาจากการอักเสบ

สมมุติฐานการอักเสบ

1. สมมุติฐาน คอเลสเตอรอล :ระดับ LDL ในเลือดสูง ,LDL ถูก ออกซิไดซ์ เกิด oxidized LDL

2. สมมุึติฐาน ผนังหลอดเลือดทำหน้าที่บกพร่อง : การที่หลอดเลือดอักเสบได้นั้น เป็นเพราะผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ชั้น เยื่อบุ ซึ่งสัมผัสกับเลือดตลอดเวลา

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 224402เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-(เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตอย่างฉับพลัน ไม่ทันได้ตั้งตัว)

-น่ากลัวมากๆ

-อยากให้คุณหมอนำเสนอ เกี่ยวกับกับ "ภาวะเลือดจาง"/"ทาลัสซีเมีย"ด้วยค่ะ

-ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท