43.เรื่องเต่าล้านปี...เห็นแล้วเจ็บแทน


เมื่อวานนี้ เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551
 ฉันถึงบ้านเวลา 17.50น.ก็ต้องรีบกลับออกจากบ้านไปอีก เพราะลือไปเอาหนังสือร้านถ่ายเอกสาร ที่จ้างเขาถ่าย และเย็บเล่ม ตรงสี่แยกบ้านเช่า ขณะที่รถของฉันมาถึงบริเวณ สี่แยก พลันสายตาฉันเหลือบไปเห็น

เด็กนักเรียนหญิงแต่งกายด้วยเครื่องแบบนักเรียน มัธยมปลาย ของโรงเรียนชื่อดังในใจกลางเมืองสมุทรสาคร เธอยืนตรงหัวมุมร้านเบอเกอรี่หนึ่ง  เธอมีน่าตา น่ารัก สูงโปร่ง ยืน สนทนากับกลุ่มนักเรียน

นักเรียนกลุ่มนี้อยู่ในชุดกีฬาของโรงเรียน เสื้อโปโลสีน้ำเงิน เป็นนักเรียนของโรงเรียนมีชื่อในเมือง แต่ตั้งอยู่คนละถนน

ทั้งสองโรงเรียนจัดว่าเป็นโรงเรียนมีมาตราฐานใกล้เคียงกันมาก เพราะต่างก็ผลิตนักเรียน ดี เก่ง มามากเช่นกัน

แต่ท่าทางเธอทั้งสองไม่ได้คุยกันอย่างธรรมดา  เมื่อมองไปอีกด้าน พบกลุ่มนักเรียน ทั้งสองโรงเรียน ยืนอยู่แน่นทางฟุตบาท  แต่ดูว่าฝ่ายเสื้อน้ำเงินจะเยอะกว่า

และมีคิวมอเตอร์ไซด์จอดอยู่ 4-5 คัน ต่างยืนเท้าเอวมอง ลูกสาวฉันพูดขี้นด้วยเสียงดังว่า "เขาตบกันแน่เลย " ฉันบอกสามีว่าดูท่าแล้วเด็กนักเรียนในชุดกระโปรงจะถูกรุมแน่ " สามีฉันพูดว่า ปล่อยไปเถอะ เดี๋ยวครูเขาก็มากันเองที่นี่เขาไม่ต้องการให้คนนอกช่วย จริงซิ  ระยะทางทีเกิดเหตุ อยู่ไม่ห่างจากโรงเรียน มากนัก แค่เดินข้ามถนน 2 เลน ผ่านร้านค้า เพียงแค่ 5 ห้อง ทำไมไม่เห็นวี่แววครู อาจารย์เลย

 ก็พอดีรถของฉันเคลื่อนผ่านร้านเบอเกอรี่มาจอดหน้าร้านถ่ายเอกสาร ฉันรีบลงจากรถ ไม่รู้เหมือนกัน ว่าจะรีบลงไปทำไม ลูกสาวกระโดดตามลงมาจับแขนไว้ อย่าแม่ ปล่อยมัน ฉันร้องอ้าว... สงสารเขานะลูก ลูกสาวบอก ไม่หนักหนาหรอกแม่เห็นไม๊ เขายังไม่กลัวเลย ไม่หนีด้วย..เขาไม่ฟังใครเลย

ลูกสาวฉันพูดแบบบ่นว่ามันน่าโดนจริงเด็กหวกนี้ พ่อแม่ให้มาเรียนหนังสือ อย่างนี้ต้องโดนมั่งจะได้เข็ด อ้าว ...ลูกฉันพูดแบบไม่มีความรู้สึกเลยหรือ  แถมยังบ่นต่อ ว่า นี่ถ้ามันกลับบ้านก็ไม่โดน แสดงว่าพอกัน ฉันถามทำไมล่ะ ลูกสาวฉันพูดว่า นี่มันเวลาเท่าไหร่แล้วคะคุณแม่..แทนที่เด็กคนนั้นจะกลับบ้าน..กลับมายืนอยู่ทำไม (เวลาประมาณ เกือบหกโมงเย็น) ฉันรู้สึกไม่พอใจ  ใจหนึ่งเห็นด้วยกับคำพูดของลูก ใช่ซิถึงเวลากลับบ้านตั้งนานแล้ว ทำไมไม่กลับ  แต่ใจหนึ่งก็สงสารจับใจ ในสถานการณ์เช่นนี้

ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเยาวชน และถ้าฉันเดินเข้าไป ขอร้องเขา อะไรจะเกิดขึ้น สถานการณ์ไม่ยอมให้ฉันคิดนาน  ฉันมองเด็กทั้งคู่แล้วบอกได้เลย ว่าชุดกระโปรงนักเรียนเสร็จแหงๆ เพราะฝ่ายชุดกีฬาเริ่มหนาตาขึ้น ทันใดนั้นฉันก็เห็น เด็กในชุดกีฬาสีน้ำเงิน ใช้มือขวาบีบไหล่ฝ่ายตรงข้าม แล้วกดให้ต่ำลง ดีงตัวออกมา โอ้ เด็กสาวล้มลงคุกเข่า และพับเพียบ จังหวะที่ฉันตัดสินใจก้าวเท้าไป มีเด็กผู้ชาย สวมเสื้อผ้าชุดกีฬาสีเหลืองวิ่งตัดหน้า ลูกสาวดึงแขนฉันถอยหลัง เสียงดัง เปี๊ยะๆๆพะๆๆๆๆ เอาแล้ว..ฉันร้องในใจ ห่างกันไม่ถึง20ก้าว

ฉันก้าวต่อไปพร้อมภาวนาให้ตำรวจมาเร็วๆ เสียงนกหวีดดังปี๊ดๆๆๆๆ พรึบเดียว ถนนโล่ง เด็กๆหายไปหมด แม้แต่คนที่ถูกรุม ฉันใจเต้นตุบตุบๆๆ โอ้ลูกเอย น่าสงสารเขานะ ทำไมเป็นเช่นนี้  เจ้าของร้านที่ฉันไปถ่ายเอกสาร พูดขึ้นว่า เป็นอย่างนี้ ประจำเลยครับอาจารย์  มันเป็นเรื่องปกติ

ฉันถามต่อว่า  เขาตบตีกันทำไม ได้รับคำตอบว่า เรื่องเดิมแหละอาจารย์ ...ก็เรื่องอะไรเล่า พูดให้มันชัดเจน  เอ้า..อาจารย์ไม่รู้เหรอ เรื่องเต่าล้านปีแล้ว ..ฉันมองตาเจ้าของร้าน เขายิ้มๆ แล้วพูดว่า เขาแย่งผัวกันครับอาจารย์   ฉันไม่พอใจคำตอบ ถามออกไปว่า เฮีย...รู้ได้ไง  เขาตอบว่า อาจารย์ไม่ได้ยินเหรอ ไอ้เด็กใส่ชุดกีฬามันเอาเด็กผู้ชายมาคนหนี่ง ไอ้ตัวมอมอ นั่นแหละ มันบอกว่า นี่ผัวกู...อย่ามาซ่า

ไม่ใช่เรื่องของฉันจริงๆด้วย คุณพระช่วย...เรื่องในครอบครัวเขา ?

เมื่อฉันจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว คุณลูกพูดขึ้น เห็นไม๊หนูบอกแม่แล้ว ไม่เชื่อหนู เด็กสมัยนี้ มันไม่ใช่สมัยของแม่พอดีขึ้นนั่งบนรถ คุณสามีบอก แม่เขาดื้อ    เอ้า...เป็นงั๊นไป  ฉันยิงคำถามว่า ทำไมผู้ใหญ่แถวนี้เขายืนดูเฉยๆ หละพ่อ    สามีบอกว่า เขาไม่อยากเดือดร้อนนะซิ  เพราะเด็ก..........พวกนี้ ต่างมีที่มาที่ไม่ธรรมดา ปล่อยใหเด็กๆเขาจัดการเรียนรู้กันไปเอง

เคยมีที่ผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้อง ปรากฎว่าโดน โดนผู้ใหญ่ที่ใหญ๋กว่ามาเล่น ทีนี้เรื่องใหญ่เลย ผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่เล่นกันมันไม่เล่นกันแบบธรรมดา มันเอากัน..ถ้าไม่ขึ้นโรงพัก ก็ต้องมีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไปเฝ้ายมบาล.... ฉันนึกในใจว่า งั้นฉันไปเฝ้าพระอินทร์ดีกว่า

ขอสารภาพ ที่จริงฉันเคยเห็นเรื่องแบบนี้ จากเยาวชนของ ทั้งสองโรงเรียนนี้มา 3 ครั้งแล้ว แต่มาเห็นตอนคุณตำรวจจับไปนั่งบนรถแล้ว  ไม่ทันเห็นเด็กตบกัน จังๆแบบครั้งนี้เลย ซึ่งไม่ต่างจากที่มีดูตามจอแก้ว

ท่านอ่านแล้วคิดเห็นอย่างไร บอกเล่า เก้าสิบ  เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้น่าอยู่ต่อไปเถิด พี่น้อง...

ขอบคุณค่ะ

   
หมายเลขบันทึก: 224386เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • สวัสดีครับ krutoi
  • ไม่ทราบว่าจะอยู่ที่ 2 หรือเปล่า
  • เป็นปัญหาสังคมอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่แพ้ผู้ชายตีกันเลยครับ
  • นักเรียนพวกนี้ถ้าเป็นมัธยมส่วนใหญ่เจอผม อิอิ กระเจิงครับ
  • เพราะผมจะจับไปส่งโรงพักหมด ไปเคลียร์กันเอาเอง
  • ทะเลาะกันจัง
  • พอเช้าต่อมาต้องทำโทษครับ
  • ก็แอบรู้อีกว่า
  • พวกเจ้าหล่อน สนุกครับกับการทำโทษ
  • หุหุ ด้วยความที่ผมเป็นคนใจดี จากนั้นก็ทำทุกวันครับ
  • เอาล่ะสิหลายวันเข้า ใครจะทนไหว
  • เด็กพวกนั้นมาขอร้อง ต่อไปหนูจะไม่ตบกันอีกแว้ว ค่า คุณครู
  • อิอิ เล่นซะให้เข็ดครับ
  • อ้อ ที่ทำโทษก็วิธีง่ายๆครับ
  • เช็ดกระดานทุกวัน กวาดห้อง เก็บขยะ ปิดประตูช่วยภารโรง(ทุกบานครับ) หุหุ
  • โหดไปไหมไม่รู้ครับ
  • แต่เพื่อเด็กครับ
  • สวัสดีครับ พี่ครูต้อย
  • สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

  • รู้สึกเจ็บนะคะ
  • เจ็บแทนคนในสังคม
  • เจ็บแทนลูกสาวของครูต้อยด้วยนะคะ
  • ที่น้องเขาเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง
  • แสดงความคิดเห็นไม่ถูกแล้วค่ะ

มันเป็นปัญหาสังคมที่รัฐบาลควรหันหน้าเข้ามาช่วย

สวัสดีครับ

คนในชุมชน ควรให้ความสนใจ

เรื่องไม่ใช่ ไม่ใช่ธุระ ความใส่ใจ ความช่วยเหลือ น้ำใจ สังคมไทยเปลี่ยนไป

P 

-ขอบคุณความคิดเห็น

-น้องพลัดถิ่นสบายดีนะคะ

-เห็นด้วยนะคะ เป็นการลงโทษที่ไม่แรงมาก หากเราลงโทษเขา แล้วอยู่กับเขา ดูเขาทำงาน ถามทุกข์สุขไปในตัว พี่ว่าได้ใจเด็กด้วย

ยังมีเด็กอีกกลุ่มที่เห็นการลงโทษเป็นของสนุก ความคิดแบบนี้คือไม่ละอาย เป็นเรื่องที่สังคมชาวพุทธเราต้องตระหนัก ไม่แพ้ปัญหาทางเพศ ผิดศีลธรรม

-ในโรงเรียนสตรีบางโรงเรียน (ที่นี่) ครูต้อยเคยได้ยิน เขาทำโทษด้วยการให้นุ่งผ้าคล้ายผ้าถุงสกปรกเก่าๆแทนกระโปรงนักเรียน เป็นการทำให้อายเด็กนะ 

-ความรู้สึกละอายใจน่าจะก่อเกิดในใจผู้กระทำผิดเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้กำหนด บังคับให้อาย อย่างนี้ เด็กต่อต้านในใจแน่ เพราะสิ่งที่เด็กทำในความคิดของเด็ก เขาอาจคิดว่ามันถูกก็ได้

-ปัญหาเกิดจากความอบอุ่นในบ้าน ทำให้เด็กหาความรักนอกบ้าน

P น้องหนุ่ม

-พี่ว่าเราเสนอให้ผูบริหารบล็อก

-เปิดช่องสำหรับที่ 1 เยอะๆดีไหมค่ะ 555+

P

-ขอบคุณ น้องคิมค่ะ

-เจ็บแทนกันได้ด้วยเหรอ เขาไม่ใช่คู่กรณี

-อิอิ งงละซิ

P

-แสดงว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ใช่ไหมคะ

-ขอบคุณค่ะ

P

-ยังมีตัวแปรอีกที่ไม่ได้เรียนรายละเอียดให้ทราบ
-สังคมในเมืองที่ไม่มีวเลาหลับ
-การแก้ปัญหาแบบไล่ตามนโยบาย
-ความจริงใจต่อสังคม
-การแก้ปัญหาโดยไม่พึงพากฏหมาย

-ที่นี่ ปะเหมาะเคราะห์ร้าย อาจเจอตอ เด็กมีสี

-บุ่มบ่ามเข้าไปช่วย ไม่รู้มวยค่ายไหน ต่อค่ายไหน แย่เลย

-ขอบคุณค่ะ

 

กอด

          แวะมาแต๊ะอั๋งครูต้อยแต่เช้า ด้วยความคิดถึงค่ะ (^__^)

         ปัญหานี้ที่ตราดก็มีมากครับ  เมื่อก่อนผู้ชายชกกันแย่งผู้หญิง เดี๋ยวนี้ผู้หญิงตบกันแย่งผู้ชาย

         เป็นปัญหาที่มีต้นตอมากจากเราทันสมัยกันมากเกินไป จนการพัฒนาตามไม่ทันครับ

         และการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมาจากการพัฒนา "ความมั่นคงด้านจิตใจ"ครับ

         สถาบันหลัก คือ ครอบครัว   จะต้องให้เวลา ให้ความรัก ความอบอุ่นลูกให้มากๆ 

         ไม่ใช้เลี้ยงลูกด้วย "เงิน" เพียงอย่างเดียว 

         ให้ต้องขึ้นชื่อว่า เป็น "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยเงิน"

P  

-อิอิให้เป็นตัวไหนดีค่ะ 555+

สวัสดีค่ะพี่ต้อย

อ่านเรื่องนี้แล้ว หงอย ๆ ยังไงก็ไม่ทราบค่ะ เรากลายเป็น เต่าล้านปี ไปแล้ว รับไม่ค่อยได้เลยค่ะ ...

เพราะรู้สึกว่าน้อง ๆ เขาก็ยังเป็นนักเรียน อยู่ในชุดนักเรียนด้วย แต่มาทะเลาะ ตบตีกันด้วยเรื่อง....เช่นนี้...

โอ...รู้สึกตัวว่า เราคงตามโลกไม่ค่อยทันแล้วค่ะ...

อยากให้เด็ก ๆ รู้สึกถึงคุณค่าของตัวเอง วัยรุ่นเช่นนี้เป็นวัยที่ควรเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตต่อไป แต่น่าเสียดายที่มาใช้เวลาไปในเรื่องแบบนี้  สงสารเด็กและพ่อแม่ สังคม และสงสารโลก....

บ่นยาวค่ะ ยังคิดไม่ออกว่าควรจะทำอย่างไร

(^__^)

 Psmall man~natadee

-ขอบคุณค่ะ

-ครูต้อยเอาเด็กๆไปแข่งขันความสามารถมา

-ได้พบเห็นครูทำงานร่วมกัน ก่อให้เกิดการขับเคื่อนทางความคิดค่ะ

-ทุกๆงานมีอุปสรรค์พอเป็นน้ำจิ้ม

-ปัญหาทุกปัญหามีไว้แก้

-โอกาสเป็นของทุกคนหาก ระบบการจัดวางตัวบุคคลวางแผนให้ดี

ครูต้อยถอดแนวคิดของน้อง small man~natadee ได้ดังนี้นะคะ

-การพัฒนาที่ยั่งยืน มาจากการพัฒนา "ความมั่นคงด้านจิตใจ"

-ความรู้สึกนึกคิดที่ควบคุมด้วยจิตใจที่ดีงาม ส่งผลให้เกิดการกระทำที่มีคุณประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง และสังคม

-สถาบันหลัก ก็เป็นแหล่งเพาะบ่มความคิด ความรัก และความอบอุ่น        

-การเลี้ยงลูกต้องเลี้ยงด้วยความรัก และสมองของความเป็นมนุษย์

P 

บ่นแล้วได้ข้อคิดค่ะ

-สังคมมันล้ำหน้า คุณธรรมตามไม่ทัน

-สังคมกำลังป่วยคนดีก็อยู่ไม่มีความสุข

-ปากท้องของประชาชนคือข้ออ้าง ไม่มีเวลาทำความดี

-ขอบคุณนะคะ ที่มากระตุ้นให้เกิดความคิด

-ปัญหาต่อไปคือจะปฏิบัติอย่างไร ให้สังคมหายป่วย เยาวชนเข้มแข็ง

-คงต้องรอผู้จัดเจนเวทีนี้มาชี้แนะ นำพา

-คิดว่าบันทึกนี้ น่าจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในสังคมได้เห็นความสำคัญของปัญหา และนำไปสู่การจัดการแก้ปัญหาสังคมวัยรุ่น

  • ธุค่ะ..

ต้อมตามโลกของเด็กสมัยใหม่ไม่ทันค่ะ  ^^  จริงๆ แล้วต้อมก็เด็กก็ควรทำหน้าที่ของเขาให้ดี  ไม่ใช่เอาเวลามาทำอะไรแบบนี้ที่มันไม่ดีและไม่งาม

โชคดีจัง ที่ต้อมไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน   แต่ก็เคยเจอบ้างกับสถานการณ์ที่คล้ายๆ กัน   เป็นเพียงผู้ดูค่ะ..เพราะทำอะไรไม่ได้จริงๆ   แม้ว่าใจอยากจะออกไปช่วยฝ่ายเพลี่ยงพล้ำเหลือเกิน

P

-น้องเนปาลี  น้องต้อมดีใจที่หนูตามไม่ทัน

-ครูต้อยขี้กลัวนะลูก เลยไม่อยากเห็น ไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้เลย แม้เด็กเหล่านั้นจะไม่ใช่ลูกหลานก็ตาม

-เคยสัมภาษณ์ เด็กๆที่ล้มเหลว ไม่มีใครดีใจกับการกระทำที่ผิดพลาดเลย  ต่างเสียใจกับการกระทำของตนเองทั้งสิ้น

-ต่างบอกว่า ณ เวลานั้น ไม่ทันคิด ไม่รู้อะไรทำให้มีพฤติกรรมเช่นนั้น

-ครูต้อยมองว่าเป็นเรื่องการขาดสติ การยับยั้งชั่งใจ การละอายต่อการทำชั่ว และการเกรง กลัวต่อบาปค่ะ

-ขอบคุณน้องมดค่ะ

ปล.อยากให้น้องๆในบ้านเมืองเรา รู้จักคุณค่าของตัวเองเหมือนที่น้องต้อม และน้องชายได้แสดงออกซึ่งคุณค่าในตนเองมาแล้ว

 

เป็นปัญหาสังคมที่ยังแก้ไม่ได้

เห็นแบบนี้บ่อยตามข่าว

สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก

ขอบคุณครับ

P

-สวัสดีค่ะ คุณ วัชรา ทองหยอด

-ขอบคุณความคิดเห็นค่ะ

-ใช่เลยค่ะ ครูต้อยเห็นบ่อยตามข่าว จนมันทำให้หัวใจเราชาชิน นะคะ

-มันเกิดแล้วมันก็ดับไป 

- ทิ้งรอยเปื้อนให้กับสังคม รอคนรุ่นใหม่มาเลียนแบบ

-เป็นวังวน ห่างบ้างถึ่บ้าง ช่วงไหนถี่ ข่าวก็ประโคมอย่างเมามัน

-ผู้เกี่ยวข้องวิ่งกันหัวขวิด ไม่นาน พอมีนโยบายลงภาคปฏิบัติ ผู้ใหญ่จึงนั่งสบายใจ นึกว่าแก้ไขได้แล้ว

-วันดีคืนดี พอร้างลาไปนาน เรื่องเก่า หน้าใหม่ก็เกิดอีก เป็นเช่นนี้ อย่างที่เรารู้กัน

 

ได้อ่านแล้วเศร้าคะ

เด็กสมัยใหม่

ไม่เหมือนตอนที่เราเป็นสาวใหม่ ๆ

แม้แต่มองผู้ชายยังถูกไม้เรียวตี

กลับบ้านผิดเวลาไม่ได้

-น้องประกายพูดถูก

-สมัยเราเป็นสาวต้องแอบมองอิอิ

-อย่าไปเศร้านานเลย

-เพราะอีกไม่นาน

- เรื่องแบบนี้ก็มีอีก

-ตราบใดที่ยังไม่มีความจริงใจที่จะแก้ไข

-พี่ได้ยินเด็กรุ่นม.ต้นพูดว่าเรื่องของคนแก่เขาตีกัน จ๊ากกก...

-งั้นเราก็ยายเฒ่าและซิ อิอิ

สวัสดีค่ะ

  • เจ็บแทน..ความรู้สึก
  • ที่น้องเขารู้สึกว่า...ไม่น่าจะเกิดขึ้น..แบบนี้ค่ะ
  • ตามปกติเราก็ไม่ชอบ ไม่อยากจะให้ลูก ๆ ของเราได้เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดา..ที่ไม่ธรรมดานี่คะ
  • จะโทษใครดี..ที่ทำให้เกิดแบบนี้

สวัสดีครับ KRUTOI ผมขอแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดจากการสะสมบ่มเพาะความรุนแรงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมไทยที่อนุมานว่าน่าจะเกิดจาก 1.การสะสมซึมซับความรุนแรงจากสื่อต่างๆที่แวดล้อมเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ อาทิ การ์ตูนจากต่างประเทศ ระยะหลังๆ เช่น ทอมแอนเจอร์รี่ ตีกันตลอดแต่ไม่ตายสักที การตูน์ญี่ปุ่น การแข่งขัน ท้าทายไต่เต้าเพื่อแย่งชิงความเป็นหนึ่งแม้จะแลกมาด้วยความตาย ต่อมาก็สื่อโทรทัศน์เวลาเงินเวลาทองกระตุ้นให้คนเห็นว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปรกติ ตบตีกันเพื่อแย่งผู้ชาย แย่งสมบัติ อิจฉาริษยา คนไทยชอบมากๆ ตัวแบบความดีดี..มักไม่ค่อยสื่อออกมาให้เห็นส่วนใหญ่ตอนตี 5 หรือดึกมากๆ

2 สิทธิความเท่าเทียมเสมอภาค การแสดงออกของสตรีมีมาก ขึ้นเช่น คุณระเบียบรัตน์ น้องแบม สตรีทางการเมือง ทางสังคม เป็นตัวแบบที่แสดงออกทางสังคมแสดงอีโก้ที่ถูกกดทับมานานตั้งแต่ บรรพกาลว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง มักแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ว่าเท่าเทียมชาย มีความรู้ความสามารถ จากผู้ถุกเลือกเป็นผู้เลือกเสียเอง..สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง ปรกติ เกิดมาตั้งอยู่ดับไป นานเข้าเมื่อสตรีมีบทบาทจะเห็นการเป็นผู้นำทางสังคมมากขึ้นๆ แต่เมื่อวันหนึ่งผู้ 3. เพศชายมีน้อยกว่าเพศหญิง เพราะติดยาเสพติด ไปอยู่ในคุกตาราง ไปตายในสยามรบ ตายเพราะโรคเอดส์ เบี่ยงเบนทางเพศ เป็นเกย์ กระเทย หรือมิฉะนั้นก็ไม่หล่อโดนใจสาวๆ

วิธีแก้ไขปัญหาทางสังคมคือการบ่มเพาะความดี จากครอบครัว พ่อต้องเป็นต้นแบบความเป็นสุภาพบุรุษ แม่ต้องอ่อนหวานอ่อนโยนจะมามุ่งแต่งานงาน แล้วลูกละมีชีวิตมีความรู้สึกเหมือนเรา..ต้องใกล้ชิด ต้องใกล้ใจ ต้องใกล้ตัว และต้องใกล้ความจริงให้มาก ผมไม่โทษสังคมเพราะสังคมคือพวกเราทุกๆคน ถ้าโทษสังคมคือโทษตนเอง

P น้องคิมเราคงไม่คิดจะโทษใครดีกว่านะคะ

-ครูต้อยว่าสังคมเราอย่างนี้ต้องหันหน้ามาคุยกัน

-ปัญหามันใหญ่เกินโทษกัน

-วัยรุ่นมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง

-พลังในวัยรุ่นหากนำมาใช้อย่างที่ควร คิดว่ามันมหาศาล

-หากศึกษาให้ลึกลงไป พ่อแม่มีส่วนเลี้ยงดูเขามาอย่างไร

-คุณครูให้โอกาสเขาอย่างไร

-สังคมรู้สึกอย่างไร ช่วยกันได้ไหม

-คุณภาพชีวิต ที่เติบโตมาเป็นอย่างไร

-น้องคิทรู้ไหมทุกครั้งที่พี่รับรู้ว่าเกี่ยวกับศิษย์ในทางลบ

-พี่รู้สึกอาย

-ที่ทำไมเราไม่รู้ว่าอนาคตเขาจะเป็นอย่างนี้

-กรณีนี้เกิดขึ้นกับลูกศิษย์คนอื่น

-ขึ้นชื่อว่าครูสะกดตัวเดียวกัน เราก็ห่วงใยเหมือนกันนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท