ความดันเลือดของเรา เท่ากันทั้งวันหรือไม่


...

พวกเรามักจะได้ยินได้ฟังข่าวคนตายตอนเช้ามาแล้วไม่มากก็น้อย มีคำกล่าวกันว่า ถ้ามีโทรศัพท์เข้ามาหาเรา... ตอนเช้าเป็นช่วงที่มักจะมีข่าวร้ายมากกว่าเวลาอื่นๆ

ผู้เขียนขอนำข้อมูลจากจดหมายข่าวเว็บไซต์อาจารย์หมอเมียคินมาเล่าสู่กันฟังครับ

...

ภาพเครื่องวัดความดันเลือดอัตโนมัติ > [ Wikipedia ]

  • น่าเสียดายมากๆ ที่โลกเรายังไม่มีเครื่องวัดความ "ดันทุรัง" อัตโนมัติ

...

ความดันเลือดของคนเรามักจะลดต่ำลงเวลาหลับ ไม่ว่าจะเป็นการหลับแบบ "ซีเอสทา (siesta)" หรือหลับกลางวัน (ถ้าหลับเป็นประจำ เช่น ผู้เขียน ฯลฯ) หรือหลับตอนกลางคืน

ความดันเลือดของคนทั่วไปจะลดลงต่ำสุดในช่วงเย็น (ก่อนค่ำ) และเพิ่มขึ้นตอนเช้า คนที่มีความดันเลือดสูงมากๆ ตอนเช้ามีความเสี่ยง หรือโอกาสที่จะเกิดโรค เช่น หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ฯลฯ สูงกว่าคนทั่วไป

...

ปกติความดันเลือดของคนเราในช่วงเย็นจะลดลงมากกว่าช่วงอื่นๆ โดยความดันเลือดตัวบนอาจลดลงต่ำกว่า 100

อาจารย์หมอเมียคินแนะนำว่า ถ้ามีเครื่องวัดความดันเลือดไว้ที่บ้าน... ควรลองวัดตอนเย็น (ก่อนค่ำ) ถ้าความดันเลือดตัวบนสูงตั้งแต่ 120 ขึ้นไป ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน

...

ภาพเครื่องวัดความดันเลือดอัตโนมัติ > [ Wikipedia ]

...

ความดันเลือดของคนเราอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้ เมื่อคนเราทำกิจกรรม กินอาหารที่มีเกลือสูง กินกาเฟอีน เช่น ดื่มกาแฟ ดื่มชา กินชอคโกแลต ดื่มน้ำอัดลมที่มีกาเฟอีน ดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ฯลฯ

นอกจากนั้นยังอาจสูงขึ้นได้ถ้ากลั้นหายใจเบ่งอะไรแรงๆ เช่น เบ่งอุจจาระ ยกของหนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นพวกเราจึงควรออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ กินเส้นใยหรือไฟเบอร์ และดื่มน้ำให้พอทุกวัน เพื่อป้องกันโรคท้องผูก

...

และถ้าออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวทในโรงยิม ดึงยางยืด ดึงสปริง ฯลฯ ไม่ควรกลั้นหายใจระหว่างฝึก เนื่องจากความดันเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นได้มาก ให้หายใจเข้าออกช้าๆ แทน

ความดันเลือดสูงเป็นโรคที่ไม่มีอาการชัดเจนจนเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงควรตรวจวัดความดันเลือดอย่างน้อยทุกปีตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป หรือวัดก่อนหน้านั้นถ้าอ้วน

...

ที่มา                                                     

...

 

  • Thank drmirkin.com > Dr. Gabe Mirkin's Fitness and Health e-Zine > [ Click ] > November 9, 2008.

...

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.   
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 20 พฤศจิกายน 2551.  

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ" > ยินดีให้นำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า. 

...

หมายเลขบันทึก: 224381เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นเวลาพาคุณแม่ไปวัดความดัน..บางทีวัดครั้งแรกความดันสูง

คุณพยาบาลก็จะบอกให้นั่งก่อนประมาณ 15 นาทีเรียกไปวัดใหม่

คราวนี้ค่อยโอเค..คงจะเป็นเหมือนที่คุณหมอกล่าวมานะคะ

ขอบคุณกับความรู้ดีๆค่ะ

ขอแสดงความชื่นชมอาจารย์ add ในความเป็นแบบอย่างลูกกตัญญูครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

เรียนถามคุณหมอเกี่ยวกับเครื่องวัดความดันครับ เห็นเดี่ยวนี้มีเครื่องที่เป็นแบบอิเลคทรอนิคส์ใส่ถ่าน กับแบบดั้งเดิมที่ใช้ลูกยางบีบๆ สิ่งที่อยากทราบคือความถูกต้องแม่นยำระหว่างสองแบบนี้ว่าแบบไหนมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่ากันครับ

ปล. เห็นภาพประกอบบอกว่าเป็นแบบอัตโนมัติทั้งสองแบบ น่าจะเป็นเฉพาะแบบแรกมากกว่าหรือเปล่าครับ

ขอขอบคุณ... คุณนริศ

  • ความแม่นยำในการวัดความดันของแบบอัตโนมัติกับแบบใช้ลูกยางบีบใกล้เคียงกันมาก และอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
  • แบบลูกยางบีบๆ จำเป็นต้องฝึกการวัด และหูคนวัดต้องดีด้วย จึงจะวัดได้แม่นยำ

ทุกวันนี้...

  • โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะใช้แบบอัตโนมัติประมาณ 80% ขึ้นไป 
  • เครื่องมือบีบมีไว้เทียบวัด (calibration) เท่านั้น เนื่องจากช้า งุ่มงาม และมีสารปรอทที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 
  • แบบเครื่องบีบที่ใช้ฝาแรงดัน (solenoid) ไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท