Paper Review & Sharing : 3) knowledge Audits


Knowledge Audits

เป็นเครื่องมือตัวที่ 2   ที่อยู่ในกลุ่ม Strategy Development  ของเอกสารเล่มนี้    ซึ่งแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังเครื่องมือตัวนี้  อ่านแล้วผมตีความเอาเองว่าเป็นเรื่อง   "ความคิดเชิงระบบ"  เป็น concept หลักของการออกแบบตัวนี้   เพราะเขาอาจจะต้องการเห็นวิธีการได้มาซึ่งกลยุทธ์ในเชิงระบบ   อันนี้เข้าใจว่าฝรั่งจะมีอารมณ์นี้คล้ายๆกัน

กลยุทธ์ที่พูดถึงนี้  ย้ำอีกทีนะครับว่าเป็นกลยุทธ์  ที่มุ่งพัฒนา knowledge & learning ภายในองค์กร  อันเป็นหนทางที่จะไปสู่ Humanitarian Organisation   เครื่องมือนี้มีกระบวนการที่สำคัญที่กล่าวไว้ในเอกสารแบ่งเป็น 4 stages

Stage 1st  กระบวนการค้นหา  "ความรู้ที่จำเป็น"  และ "เงื่อนไขบริบทแวดล้อม" ที่เป็นปัจจัยประกอบ
ขั้นตอนนี้  เขาออกแบบให้มีการค้นหาผ่านกระบวนการ  workshop  หรือทำ focus group  มีการสัมภาษณ์  การพูดคุยกับคนในแต่ละฝ่าย  ซึ่งจะมีแนวทางใหญ่ๆ ที่พูดคุยในเรื่องเหล่านี้
 1. ความรู้ที่จำเป็น   - ค้นหาว่ามีพันธกิจสำคัญหลักๆอะไรบ้างในแต่ละงานภายในองค์กร  ความรู้ที่ใช้ในการทำงานนั้น  ได้มาอย่างไร  สร้างขึ้นเองแค่ไหน  มีการประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไหม  มีการจัดเก็บหรือไม่อย่างไร    และเห็นแนวทางในการพัฒนาหรือได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆ และทำให้เกิดการไหลเวียนในองค์กร  ได้หรือไม่อย่างไร
 2. บรรยากาศมิตรภาพ และกระบวนการ -  เกิดแผนจัดการระบบและกระบวนการที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ หรือเรียนรู้แค่ไหนอย่างไร   จุดเริ่มต้นของการผลักดันให้เกิดการสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้ลื่นไหลได้นั้นมาจากไหน  อย่างไร   ลักษณะความสัมพันธ์ที่เด่นชัดเกิดขึ้นได้อย่างไร  เป็นแบบทางการ หรือ ไม่เป็นทางการ  และมีผลต่อการเรียนรู้ของคนแค่ไหนอย่างไร
 3. บริบทจำเพาะในองค์กร - ระบบ HR, IT, Information managemrnt  และอื่นๆ ผสมผสานและเอื้อต่อการเรียนรู้ของคนในองค์กรอย่างไร  ดีแค่ไหน  และการเรียนรู้เหล่านั้น  สัมพันธ์กับ  "วิสัยทัศน์"  ขององค์กรอย่างไรบ้าง   โครงสร้างการบริหาร   ภาวะการนำ และการบริหารองค์กร  เอื้อต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้หรือไม่  อย่างไร    การลงทุน และกำไรที่มาจากการจัดการความรู้ และการเรียนรู้ของคนนั้น  มากน้อยแค่ไหน
 4. ปัจจัยภายนอกที่มีผล - (ในเอกสารกล่าวถึงเฉพาะการส่งผ่านความรู้ไปยังองค์กรสมาชิกระหว่างประเทศ)

Stage 2nd  เป็นช่วงที่ต้องเสนอแนะ  knowledge & learning ควรจะผสานเข้าไปในงานที่ทำอยู่ในรูปแบบไหนจึงจะเกิดผลดีทั้งในแง่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้นได้อีก   และแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อภายในองค์กร

Stage 3rd  ระยะนี้เป็นช่วงที่เน้นให้ความสำคัญกับ  ตกผลึกกลยุทธ์  และขายแนวคิดต่อผู้ปฏิบัติที่จะต้องรับช่วงต่อ

Stage 4th   เข้าสู่การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติจริง  ผ่านทีม หรือ คณะทำงานในแต่ละฝ่าย   ตีคู่ขนานไปกับการติดตามอย่างไม่คลาดสายตา  และปรับกระบวน  ขยายผลดีไปยังส่วนอื่นขององค์กรที่ยังเหลืออยู่

อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นระบบดี   แต่เสียงในหัวผม  มันบอกว่า  อย่าเอามาใช้แข็งๆ  ตามตำราบอกนะ   ต้องทำไป แต่งไป  คิดไป  ออกแบบไปอีกเยอะเลย...

 

 

หมายเลขบันทึก: 224040เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาทักทายคนบ้านเดียวกัน

มาได้ถูกจังหวะเวลาดีจังเลย :) เหมือนจะช่วยตอบโจทย์ที่ได้พูดคุยกับคุณหมอฉายศรีฯไว้เมื่อวานนี้เลย

บ่ายวันนี้ นัดคุยกับคุณหมอฉายศรีฯ อีกครั้งเรื่องการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสำนักฯ Stage 1st และ Stage 2nd เป็นแนวทางที่น่าจะนำมาปรับใช้ได้เหมาะสมกับจังหวะและเวลาช่วงนี้ของสำนักฯ มากๆ...ขอบคุณหลายๆ ค่ะ

ดีใจที่มีคนบอกว่า "กำลังมองหา..จะเอาไปใช้พอดี

ใช้แล้ว เล่าให้ฟังด้วยนะครับ ว่าเกิดอะไรดีๆ modify อะไรบ้าง เพราะอะไร อย่างไร จะขอเป็นนักเรียนด้วยครับ ขอบคุณครับ

วาอาลัยกุมสลาม สะตอดอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท