การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน


โรงเรียนเป็นฐาน

อุทัย   บุญประเสริฐ  (2543 : 154 )   สรุปหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้  5  ประการ  ได้แก่

                1. หลักการกระจายอำนาจ ( Decentralization )  ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด  โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก

                2. หลักการมีส่วนร่วม ( Participation  or Collaboration  or Involvement)  เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการบริหาร  ตัดสินใจ  และร่วมจัดการศึกษา 

                3. หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ( Return  Power  to  People )  มีการรวมจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้เกิดเอกภาพ และมาตรฐานทางการศึกษา  เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น  ความเจริญก้าวหน้าต่างๆ  เป็นไปอย่างรวดเร็ว  การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด  เกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนอง  ความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง

                4. หลักการบริหารตนเอง (( Self – Management)  ในระบบการศึกษาทั่วไปมักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง  โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง  โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน 

                5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ( Check  and  Balance )  ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน  มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบ  คุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตาม ที่กำหนดและเป็นไปตามนโยบายของชาติ

 

หมายเลขบันทึก: 223217เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท