การตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม


ครูสมัยก่อนใช้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ขาดองค์ความรู้เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน แต่ครูสมัยนี้งานวิจัยในชั้นเรียนถือเป็น Routine แล้ว

              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (จะขอกล่าวเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณเท่านั้น)

               เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ที่สำคัญๆ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กับนวัตกรรม  2) นวัตกรรม (ซึ่งมีการจำแนกได้หลายแบบ อาทิ นวัตกรรมสำหรับครู  นวัตกรรมสำหรับผู้เรียน เป็นต้น)

               จะขอกล่าวถึงเฉพาะนวัตกรรม ที่ครูจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นวัตกรรมจะต้องสร้างขึ้นอย่างถูกต้องตามแนวคิด ทฤษฎี  และมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หลักสูตร สถานศึกษา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง........

               เมื่อครูสร้างนวัตกรรมขึ้นมาแล้ว ก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพหรือไม่?  จำเป็นต้องขอคำปรึกษาจากผู้รู้ ที่ปรึกษา ให้ช่วยเสนอแนะ ปรับปรุง.......

               จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม เพื่อตรวจสอบความเที่ยง (Validity) (ตำราบางเล่ม ใช้คำว่า ความเที่ยงตรง) โดยเฉพาะความเที่ยงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)  โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านขึ้นไป ทำการตรวจสอบความเที่ยง ซึ่งที่นิยมกันมีดังนี้

                วิธีแรก เป็นวิธีที่ครูอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบพร้อมชี้แนะแก้ไข โดยใช้การตรวจสอบความเที่ยงเชิงประจักษ์ หรือเชิงพินิจ (Face Validity) เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว ครูก็นำกลับมาแก้ไขตามการชี้แนะแก้ไขของผู้เชี่ยวชาญ  (ผู้เชี่ยวชาญทำงานหนัก  ครูเจ้าของนวัตกรรมทำงานเบาไม่ต้องหนักสมอง)

                วิธีที่สอง เป็นวิธีให้ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนน โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ โดยใช้ค่า Index of Item-Objective Congruence หรือค่า IOC  หรืออาจจะดูรวมๆ โดยใช้ค่าดัชนีความเที่ยงตามเนื้อหา (Centent Validity Index หรือ CVI)  หรือครูสร้างแบบประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพื่อดูค่าเฉลี่ยว่าได้ตามเกณฑ์หรือไม่? (วิธีนี้ผู้เชี่ยวชาญสบาย  แต่ครูทำงานหนักหน่อย)

                 ภายหลังจากการแก้ไขนวัตกรรมในประเด็นที่มีความเที่ยงไม่ได้มาตรฐานแล้ว ทำการปรับปรุงให้ได้นวัตกรรมที่สมบูรณ์  และพร้อมที่จะนำไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง.....ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป.......

หมายเลขบันทึก: 222259เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ดีสำหรับคนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบนวัตกรรม

ขอบพระคุณครับ เป็นแนวทางที่ครูควรรับรู้ จะนำไปบอกต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท