กิจวัตรของนักคอมพิวเตอร์ยุคไอที


นักคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลายระดับ หลายอาชีพ ถ้าถามว่าพฤติกรรมของนักคอมพิวเตอร์ที่คล้ายคลึงกันมีอะไรบ้าง หรือลักษณะของกลุ่มคนประเภทนี้เป็นอย่างไร ถึงมาเป็นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักพัฒนาเว็บ อาจารย์สอนคอมฯ หรือนักเขียนบทความด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      นักคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลายระดับ หลายอาชีพ ถ้าถามว่าพฤติกรรมของนักคอมพิวเตอร์ที่คล้ายคลึงกันมีอะไรบ้าง หรือลักษณะของกลุ่มคนประเภทนี้เป็นอย่างไร ถึงมาเป็นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักพัฒนาเว็บ อาจารย์สอนคอมฯ หรือนักเขียนบทความด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
      ใช้อีเมลเป็นประจำ เพราะเป็นการแสดงตัวตน ช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างนักคอมพิวเตอร์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งก็ส่งถึงผู้รับได้ เมื่อผู้รับเข้าตรวจสอบก็จะได้รับข่าวสารอย่างถูกต้อง อาจแนบแฟ้มโปรแกรม ภาพถ่าย เพลง หรือวีดีโอ ไปถึงผู้รับ มีความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวในระดับที่น่าเชื่อถือ และสามารถทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงมีคำกล่าวว่าผู้ใดไม่มีอีเมล ย่อมไม่มีตัวตนในโลกเสมือนจริง

ความรู้ได้จากการอ่าน นักคอมพิวเตอร์ก็หนีไม่พ้นกฎข้อนี้ การแสวงหาความรู้ใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะนิตยสารด้านคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือ ข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ ที่นำเสนอเรื่องราวทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบริการใหม่ของบริษัทต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยี ได้รับประโยชน์ และนำองค์กรให้ก้าวทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ศึกษาการเขียนโปรแกรมอย่างน้อย 1 ภาษา น่าจะช่วยให้นักคอมพิวเตอร์คนนั้นมองการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเข้าใจ ว่าคอมพิวเตอร์สามารถทำอะไร และทำอะไรไม่ได้บ้าง เพื่อน ๆ ผู้เขียนมักพูดติดตลกว่า “ถ้าคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็ได้ ไหนลองใช้ไปซื้อข้าวหน้าปากซอยให้หน่อยสิ” และก็ต้องเข้าใจว่าไม่มีภาษาใดตอบสนองความต้องการได้ทุกอย่าง เช่น ภาษาที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) ก็มี Java หรือ Symbian เป็นต้น จะใช้ VB หรือ Delphi ไม่ได้
ศึกษาโปรแกรมเพิ่มเติมอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องปกติที่นักคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ของตนด้วยตนเอง เมื่อหาโปรแกรมใหม่มาทดสอบ อาจทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาถึงขั้นกู้คืนไม่ได้ เช่น การติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสใหม่ เพื่อป้องกันไวรัสใหม่ อาจมีผลกระทบทำให้โปรแกรมอื่นใช้งานไม่ได้ หรือการ Upgrade ระบบปฏิบัติการ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าเจาะระบบ เป็นต้น คำคมติดปากนักคอมพิวเตอร์เสมอ คือ “ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน” และ “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ”
ปัจจุบันครูสอนเด็กอนุบาล ในโรงเรียนประถม อาจเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่เก่ง และดีได้ ถ้ามีความสนใจหาความรู้ และศึกษาอย่างต่อเนื่อง นักคอมพิวเตอร์ที่ดีต้องเริ่มต้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น การรู้จักใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่เป็นแค่เครื่องพิมพ์ดีด ทีวี วิทยุ เครื่องเล่นเกม หรือเครื่องประดับโต๊ะทำงานเท่านั้น มีครูโรงเรียนประถมไม่น้อยที่ผู้เขียนรู้สึกชื่นชม เพราะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเยาวชนของเรา
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22188เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอขอบพระคุณ คุณบุรินทร์์ รุจจนพันธุ์ ที่ให้ความกรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน

ขอบคุณเช่นกันที่เชิญผมเข้า ชุมชน

ปกติผมไม่ค่อยมีสังคมครับ ..

หมกมุ่นแต่เรื่องของตนเอง และเรื่องวิชาการ ไม่สุงสิงกับใคร
ก็คงมี blog ที่นี่หละครับ ที่ผมจะให้เวลาได้
เพราะเห็นว่าเป็น blog วิชาการ

ก็หวังว่า gotoknow.org จะอยู่คู่คนไทยตลอดไป

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท