ยูบิควิตัส


ยูบิควิตัส

ความหมาย Ubiquitous Learning

Ubiquitous ( ยูบิควิตัส ) เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง Mark Weiser (มาร์ค ไวเซอร์) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม Ubiquitous Computing (ยูบิควิตัสคอมพิวติง) ไว้ว่า  หมายถึงกระบวนการบูรณาการ (integrating) คอมพิวเตอร์เข้ากับ Physical World อย่างไร้ของเขต (seamlessly) การพัฒนาสิ่งเหล่านี้ทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน Ubiquitous Computing รวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภท microprocessors โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phones) กล้องดิจิตอล และอุปกรณ์อื่นๆ  หมายความว่าเราสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ทุกหนทุกแห่งสภาพแวดล้อมที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด

Ubiquitous Learning  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย รวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา  ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย

 

ลักษณะที่สำคัญ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง

นับตั้งแต่การคิดค้นอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ กระบวนการเรียน (Education Process) พัฒนาการในวงการการศึกษาได้พัฒนาควบคู่ไปกับวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Ubiquitous Learning)   ในลักษณะทุกที่ ทุกเวลา การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน เพราะข้อมูลสารสนเทศได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน   โดยเรียกความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า เป็นแบบ Many to one relationship (Weiser, 1993) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามัญและเกี่ยวพันธ์กับ Ubiquitous Computing

ข้อดี และข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning

                ข้อดีของ Ubiquitous Learning

Ø    Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ประสิทธิภาพสูงและเข้าใจได้มากกว่า เช่น การติดตามกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน การแปรผล และใช้ข้อมูลใหม่ๆ เสริมกระบวนการเรียน (Paramythis and Loidl-Reisinger, 2004)

Ø    Ubiquitous Learning Environment (ULE) เป็นสถานการณ์การเรียนรู้แบบ pervasive (omnipresent education or learning) การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวนักเรียนโดยนักเรียนอาจไม่รู้ตัว ข้อมูลได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงนักเรียนพร้อมที่จะเรียน ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย

Ø    การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ

Ø    การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่  อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ

Ø    การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้งได้แก่ ในสวน ศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการ หรือที่บ้าน

UK Equator Interdisciplinary Research Collaboration ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษา Digital Augmentation เพื่อเชื่อมกระบวนการเรียนรู้ในสถานที่จริงและการเรียนในห้องเรียน โดยเลือกวิชานิเวศวิทยาสำหรับนักเรียนระดับประถมปลาย ศึกษานิเวศวิทยาองป่า เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เช่น PDA กล้องส่องทางไกล การถ่ายภาพทางอากาศ คอมพิวเตอร์ เครื่องอัดเสียงและกระจายเสียง เครื่องมือติดตามนักเรียนขณะทำการทดลอง นักเรียนเก็บข้อมูลจริง โดยส่งข้อมูลที่ได้ผ่าน PDA และกลับมานำเสนอสิ่งที่ค้นพบเทียบกับข้อมูลในห้องเรียน และพบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนสามารถทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น และเชื่อมการเรียนในห้องเรียนกับชิวิตจริงได้

                       

                       

ข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning

Ø    ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous  ต้องใช้การลงทุนสูงมาก

Ø    จำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว ยังน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน

 

 

อ้างอิง

[1] Jones, V and Jo J.H.; “Ubiquitous lear arning system learning using ubiquitous technology”, www.ascilite.org.au/conferences/perth04/procs/

[2] Roger, Y, Price, S., Randell, C, Fraser D.S., Weal, M, and Fitzpatrick G.; “Communications of the ACM”, Jan 2005, Vol.48, Issue 1, p 55-59. 

 

หมายเลขบันทึก: 221675เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2008 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ข้อมูลเราเหมือนกัน

ไม่มาเรียน ตามให้ทันนะ

เรียนเรื่อง การสร้างแพลนเน็ต นะ

ข้อมูลให้ความรู้ได้ดีเลยค่ะ

ยูบิควิตัส เรื่องนี้น่าสนใจค่ะ

เพิ่มภาพประกอบเนื้อหาด้วยครับ

*******************

คุณคิดอย่างไรกับยูบิควิตัสที่เข้ามามีความสำคัญต่อสังคม

หากให้นำยูบิควิตัส มาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คุณมีแนวคิดอย่างไร

ข้อมูลน่าสนใจดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท