การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์(ตอนที่ ๒)


กระบวนการและเทคนิคการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์

การพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ (ตอนที่ ๒)

4.การบวนการของความคิดสร้างสรรค์

4.1.ช่วงเตรียมการ  คือช่วงสะสมประสบการณ์ ทักษะและเทคนิคในการคิด

4.2.ช่วงการคบคิด คือช่วงที่พยายามคิดแก้ไขปัญหา  ซึ่งต้องอาศัยเวลา สมาธิ  ความตั้งใจ  และความพยายาม

4.3.ช่วงการถอนตัวชั่วคราว  คือ ช่วงที่ผิดหวังในการคิดแก้ไขปัญหา  หรือยังไม่สามารถประสบผลสำเร็จ  จะก่อให้เกิดช่วงของการถอนตัว เพื่อคลายความเครียด  ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดโปร่งขึ้น

4.4.ช่วงการเกิดปัญหา คือช่วงที่เกิดความคิดราบรื่นในสมอง เปรียบเสมือนแสงสว่างแวบขึ้น  พบคำตอบในการแก้ไขปัญหา  ซึ่งเป็นขั้นตอนของควาสำเร็จ

4.5.ช่วงการคิดให้สมบูรณ์ คือ ช่วงนำความคิดมาขยายความ  แจกแจงรายละเอียด พิสูจน์ตรวจสอบและประเมินผล  ตลอดจนสรุปความคิดให้ครบถ้วนสมบูรณ์

5.เทคนิคการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์

5.1.ฝึกใช้ความคิดตลอดเวลา  โดยวิธีตั้งคำถามใหม่ ๆ เสมอ และพยายามคิดหาเหตุผลว่า  ทำไม (Why) และ  ทำไมไม่ (Why not)  เป็นเช่นนั้น

5.2.ฝึกการคิดอย่างรอบด้าน  โดยไม่ติดกับแนวคิดในแนวใดแนวหนึ่งเพียงด้านเดียว หรืออาจเรียกว่าเป็นการคิดในแนวนอน ซึ่งตรงข้ามกับความคิดในแนวดิ่ง  ที่คับแคบแต่เพียงด้านเดียว

5.3.พยายามสลัดความคิดครอบงำ  หรือการแหวกแนวออกไปจากกฎเกณฑ์เดิม  อย่าจำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้กับความเคยชินเก่า ๆ

5.4.จัดระบบความคิด  โดยการหาเหตุผล  จัดกรุ่มเปรียบเทียบ  มองให้หลายมิติ  และค้นหาสัจจะ 

5.5.ฝึกตนเองให้มีหัวใจนักปราชญ์  คือ  สุ  จิ  ปุ  ลิ (ฟัง คิด ถาม เขียน)  ซึ่งอาจใช้เทคนิคระดมสมองเป็นตัวกระตุ้นเร้าความคิด

5.6.ฝึกตนเองให้เป็นนักอ่านและเป็นคนช่างสังเกต   ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมประสบการณ์ทางอ้อม  และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดประกายความคิดใหม่ ๆ

5.7.ฝึกระดมสมอง  การระดมสมองเป็นเทคนิคหนึ่งที่รวบรวมความคิดเชิงสร้างสรรค์จากบุคคลหลาย ๆฝ่ายที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง

5.8.พยายามสร้างโอกาสแห่งความบังเอิญ  หมายถึง  สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้  หรือไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย  อาจจะประสานกันเกิดเป็นสิ่งใหม่ที่ให้คำตอบต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้

5.9.ไม่กลัวการเสียหน้า  หรือความล้มเหลว  และกลัวที่จะเสี่ยงต่อความผิดผลาด  เพราะกลัวเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์

5.10.ยึดมั่นในทัศนคติที่ว่า  สิ่งที่ดีมีมากกว่าหนึ่ง  ไม่ย้ำรอยอยู่แต่ความสำเร็จเดิม  เมื่อประสบความสำเร็จ  หรือได้คำตอบที่ถูกต้องอย่างหนึ่งแล้ว  ความสำเร็จหรือความถูกต้องอย่างที่สองมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้

(ต่อคราวหน้านะค่ะแสบตาแล้วอ่ะ)

 

หมายเลขบันทึก: 221386เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับน้าตุ๊ก น้าตุ๊กครับ วิธีการคิดเชิงสร้างสรรค์ที่น้าตุ๊กว่ามาทั้งหมดนี้ เหมือนกับที่ป๋าบอกอั๋นเลยครับ เค้าบอกอั๋นว่าฝึกคิดอะไรใหม่ๆ มั่งดิ แต่อั๋นก็ชอบเถียงเขาว่า ของเดิมดีอยู่แล้ว เค้าก็บอกว่า พวกคอนเซอร์เวย์ทีฟอย่างอั๋นนี่ ต่อไปจะมีปัญหาในการทำงาน เพราะคนรุ่นใหม่จะชอบคิดโน่นคิดนี่ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา แล้วถ้ามาเจอพวกอนุรักษ์อย่างอั๋นแล้ว คนรุ่นใหม่เขาจะไม่ยอมรับเรา แล้วต่อไปเราก็จะเป็นคนไม่มีเพื่อนเลย ตอนนี้ยังไม่เท่าไหร่ แต่พอไปทำงานจริงๆ แล้วจะลำบาก พูดอะไรไปก็ไม่มีใครฟัง เพราะความคิดเรามันโบราณ ไม่ทันยุกสมัย คนรุ่นใหม่ยอมรับไม่ได้ เขารำคาญกันน่ะครับ หรือน้าตุ๊กว่าไงครับ เห็นด้วยกับป๋ามั้ยครับ

สวัสดีครับน้าตุ๊ก ขอพูดเรื่องการชอบความเปลี่ยนแปลงนิดนึงนะครับ คือว่า อั๋นเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบความเปลี่ยนแปลง อย่างที่บอกว่า ชอบพูดว่า ของเดิมดีอยู่แล้ว ก็จะโดนป๋าสอนอยู่เรื่อยๆ อย่างที่บอก แล้วพออั๋นบ่นกับเค้าว่า อั๋นไม่ค่อยชอบความเปลี่ยนแปลง เค้าก็จะหาว่าอั๋นเป็นพวกยึดติดหรืออนุรักษ์ แล้วเค้าก็จะถามอั๋นทุกครั้ง ซึ่งเป็นคำถามที่อั๋นตอบเค้าไม่ได้ซักทีเลยครับ คำถามของเค้าก็คือ ถ้าอั๋นไม่ชอบควานเปลี่ยนแปลงประเภทของเดิมดีอยู่แล้วเนี่ย ทำไมอั๋นถึงชอบที่จะแต่งรถ แต่งเครื่องเสียง หรือแม้แต่เปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ ทำไมไม่คิดให้เหมือนกับเรื่องอื่นล่ะ ว่า ของเดิมดีอยู่แล้ว ซึ่งอั๋นอึ้งกับคำถามทุกทีครับผม

ใช่แล้วป๋าพูดถูกต้องมาก ๆ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงอะไรก็จะอยู่ในสังคมลำบอก เพราะขณะนี้ราชการยังต้องเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ ยังต้องมีการเรียนเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงเลยน้องอั๋น  ถ้าทำงานไม่มีเพื่อนไม่มีพวกก็จะอยู่ลำบาก

  • สวัสดีครับคุณ tukky  รู้สึกเป็นเกียรติครับที่มาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจกัน
  • ขอให้สดใส  สุขสันต์ทุก ๆ วันนะครับ  สดใสเหมือนความสดใสของดอกไม้ยามเช้าเด๊อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท