ผู้สูงอายุไทย 2551 แข็งแรงแค่ไหน


เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อสังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ... โรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็จะมีคนไข้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ที่หนักหนาสาหัสคือ แต่ละท่านจะมาด้วยโรคหลายๆ โรค หูตึงและฟังอะไรไม่ค่อยเข้าใจอีกต่างหาก แถมยังมาด้วยอาการที่ยาช่วยอะไรไม่ค่อยได้ เช่นปวดไปทั้งตัวจากหัวจรดเท้า ฯลฯ

ท่านอาจารย์วิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข ประธานคณะกรรมการอำนวยการงานผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าสังคมทไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2554 จะมีสัดส่วนผุ้สูงอายุมากถึงร้อยละ 11

...

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • โฆษณาให้คุณแม่คุณพ่อหรือผู้ปกครองนำเด็กๆ ไปรับการหยอดวัคซีนโปลิโอ (ทางปาก) ในปี 1963 หรือ พ.ศ. 2506
  • ทุกวันนี้มีคนไข้โปลิโอในไทยน้อยมากๆ ขณะที่ยังพบโรคนี้มากในอินเดีย

...

ทุกวันนี้คนไทยมีคนสูงอายุร้อยละ 10 หรือประมาณ 7 ล้านคน ร้อยละ 80 มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว อีกร้อยละ 25 มีภาวะทุพพลภาพ

เตียงในโรงพยาบาลของรัฐมีคนสูงอายุนอนเฉลี่ยร้อยละ 28 (โปรดสังเกตว่า คนสูงอายุ 10% กินพื้นที่เตียงคนไข้ในมากถึง 28%

...

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • ภาพแผนที่คนสูงอายุโลกในปี 2005 หรือ พ.ศ. 2548
  • จุดเขียวคือ มหาอำนาจด้านปริมาณคนสูงอายุได้แก่ ประเทศจีน
  • จุดเหลืองคือ มหาอำนาจรองลงไปได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่ม "นิวอิงแลนด์ / New England" หรือบริเวณที่คนสหราชอาณาจักร / หมู่เกาะอังกฤษอพยพไปสหรัฐฯ ช่วงแรก) และบราซิลตอนใต้สุด
  • จุดแดงคือ มหาอำนาจที่กำลังจะเกิดใหม่ ซึ่งกระจายไปทั่วโลกรวมทั้งบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล (จังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ)

...

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • ภาพขยายแผนที่ซีกโลกตะวันออก
  • โปรดสังเกตว่า กลุ่มคนรวยในอาเซียนกระจุกอยู่ที่เมืองหลวงกับรอบๆ เมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่
  • ขอให้สังเกตมหาอำนาจคนสูงอายุอันดับหนึ่งคือจีน
  • รองลงไปเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย

...

แน่นอนว่า โรคเรื้อรัง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง(โคเลสเตอรอลสูง) ข้ออักเสบเกาต์(เกาท์) โรคอ้วน อ้วนลงพุง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตเสื่อมสภาพ ไตวาย ต้อกระจก ต้อหิน ตาบอด(จากอายุมากขึ้น)ฯลฯ จะเพิ่มขึ้น

เรื่องนี้ตามมาด้วยปัญหามากมาย เช่น

  • ปริมาณคนไข้นอก (OPD) และคนไข้ใน (IPD) จะเพิ่มขึ้น
  • สัดส่วนครองเตียงของคนสูงอายุเพิ่มขึ้น ใช้เวลานอน (LOS / length of stay) เฉลี่ยมากขึ้น

...

ทุกวันนี้ระบบประกันสุขภาพไทย ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือสปสช.(สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ) จะเน้นการรักษาพยาบาลมากกว่าการป้องกันโรค ทำให้ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่มีฐานะการเงินแย่ลงไปเรื่อยๆ

เรื่องที่น่ากลัวสำหรับงานประกันสังคมคือ มีคนที่ไม่ใช่คนงานจริง เป็นโรคไตวายเรื้อรัง แอบไปใช้สิทธิ์ฟอกไตของประกันสังคมมากมาย ผู้เขียนเองเห็นมาแล้วหลายราย ซึ่งถ้าทางประกันสังคมไม่ระวังเรื่องค่าใช้จ่ายสุขภาพให้ดี... ต่อไประบบประกันสังคมอาจจะล้มละลายได้ภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า(เป็นอย่างช้า)

...

ทุกวันนี้เรามีปัญหาการขาดบุคลากรทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะถ้ามีคนสูงอายุเข้ามากดดันระบบสุขภาพมากขึ้น คนที่มีทางเลือกเช่น หมอรุ่นใหม่ ฯลฯ คงจะลาออกไปสู่ภาคเอกชนมากขึ้น เนื่องจากต้องทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องมากขึ้นเรื่อยๆ

ชีวิตคนเรา... ถ้าทำดีแล้วเสมอตัว เวลาพลาดก็เสี่ยงถูกฟ้อง สภาพแบบนี้... ถ้าใครมีทางเลือกได้จะแสวงหาทางเลือกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

...

เรามองแต่เรื่องขาดหมอ ทว่า... เรื่องที่ขาดกำลังคนมากๆ คือ พยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลเฉพาะทาง หรือพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติม เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิสัญญี(ดมยา) พยาบาลห้องผ่าตัด พยาบาลห้องฟอกไต ฯลฯ พยาบาล "เฉพาะทาง (nurse specialist)" แบบนี้เมืองไทยขาดมากๆ เช่นกัน

การมีคนสูงอายุมากขึ้นจะทำให้ความต้องการผู้ช่วยพยาบาล (nurse aids) เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน น่าเสียดายที่สถาบันของรัฐไม่ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมผู้ช่วยพยาบาลเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่งานสาขานี้จบมาแล้ว มีงานรอให้ทำ ไม่เหมือนการศึกษาสายสังคมที่จบแล้วมีโอกาสว่างงานสูง

...

ช่วงนี้เช่นกัน... สถาบันพระบรมราชชนกในส่วนของวิทยาลัยพยาบาลรับนักศึกษาจาก 3 จังหวัดภาคใต้มาเรียนพยาบาลปริญญาประมาณ 3,000 คนใน 4 ปี เรื่องนี้ดี

ทว่า... ไม่ควรเจาะจงลงไปว่า จะต้องเป็น 3 จังหวัดภาคใต้อย่างเดียว เพราะประเทศไทยยังขาดแคลนพยาบาลปริญญาอีกทุกจังหวัดที่เหลือ น่าจะมีโครงการแบบนี้ต่อเนื่องให้พยาบาลภาครัฐมากพอในทุกส่วน โดยเฉพาะควรเตรียมการให้มีพยาบาลปริญญามากพอที่จะฝึกอบรมต่อไปเป็นพยาบาลเฉพาะทาง คือ พยาบาลเวชปฏิบัติ (ต้องเรียนต่อหลังปริญญา) ไปประจำให้ได้ทุกสถานีอนามัย จึงจะรองรับคนไข้สูงอายุได้มากพอ

...

เมืองไทยเราตั้งเป้าหมายที่จะเป็น "ฮับ (hub)" หรือศูนย์กลางด้านสุขภาพในภูมิภาค แน่นอนว่า ฮับในอนาคตจำเป็นต้องมีบริการการแพทย์เฉพาะทาง (เช่น โรคหัวใจ ฯลฯ) ทันตแพทย์เฉพาะทาง (เช่น การดัดฟัน ฯลฯ) การแพทย์ทางเลือก (เช่น ฝังเข็ม แพทย์แผนไทย ฯลฯ และรองรับโฮมสเตย์ของคนสูงอายุด้วย

บริการเหล่านี้จำเป็นต้องมีพยาบาลเฉพาะทางจำนวนมากรองรับเช่นกัน นอกจากนั้นเมืองไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านสุขภาพในอาเซียน เช่น หลักสูตรพยาบาลภาษาอังกฤษ หลักสูตรทันตแพทย์หรือแพทย์ภาษาอังกฤษ หลักสูตรการฝังเข็มภาษาอังกฤษ (หรือจีน) ฯลฯ ซึ่งเราน่าจะหาทางพัฒนาไปควบคู่กัน

...

หลักสูตรพยาบาลนั้น... ถ้าเราพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขและพยาบาล "ข้ามชาติ (transnational curriculums)" บริเวณจังหวัดชายแดน เน้นเรียนภาษาอังกฤษด้วย เรียนภาษาเพื่อนบ้านด้วย เช่น ทำเป็นวิทยาลัยนานาชาติพม่า-ไทย ลาว-ไทย กัมพูชา-ไทย มาเลเซีย-ไทย (ควรใช้ชื่อไทยไว้ข้างหลัง เพื่อให้เกียรติประเทศเพื่อนบ้านหน่อย) ฯลฯ

หลักสูตรแบบนี้ถ้ามีนักศึกษาเพื่อนบ้านมาเรียนร่วมกับนักศึกษาไทย จัดให้นักศึกษาเพื่อนบ้านเรียนภาษาไทย ให้นักศึกษาไทยเรียนภาษาเพื่อนบ้านด้วย แบบนี้จะทำให้เกิดมิตรภาพด้วย เกิดองค์ความรู้ข้ามวัฒนธรรมด้วย ช่วยลดโรคระบาดจากประเทศเพื่อนบ้านได้ และสร้างรายได้เข้าประเทศได้ด้วย เนื่องจากสถาบันการศึกษาภาควิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่ที่ไหน เศรษฐกิจตรงนั้นมักจะโตเร็ว

...

เรื่องที่น่าดีใจมากๆ สำหรับสังคมไทยคือ คนไทยยุคใหม่ตื่นตัวเรื่องสุขภาพมากขึ้น ป้องกันโรคมากขึ้น มีกระแสรณรงค์สุขภาพมากขึ้น เช่น กระบวนการชีวจิต ทีมงานต้านบุหรี่ ฯลฯ โดยเฉพาะกรมอนามัยมีการรณรงค์ต้านโรคอ้วนอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเรามุ่งไปทางป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพให้มาก... คนไทยจะแข็งแรง และเมืองไทยมีโอกาสจะก้าวไปสู่ความเป็นชาติที่มีสุขภาพดี (healthy nation) ซึ่งจะทำให้คนไทยแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมั่นใจต่อไป

...

 

 

ที่มา                                       

  • ขอขอบพระคุณ > ชงยุทธศาสตร์ "ผู้สูงอายุ" วาระชาติ > ไทยรัฐ. 5 พฤศจิกายน 2551. หน้า 15.
  • Thank Wikipedia > Elderly > [ Click ] > November 5, 2008.

...

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค 
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.  
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 3 พฤศจิกายน 2551.

...

 

 

หมายเลขบันทึก: 220870เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • เดี๋ยวมาอ่านใหม่นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

อนาคตเราก็จะเป็นผู้สูงอายุคนหนึ่ง เราจะเตรียมตัวอย่างไรให้มีคุณภาพ ไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวใครตัวมันแล้ว เพราะทุกคนก็จะต้องประสพภาวะเช่นนี้ทุกคน คุณหมอคงต้องทำงานหนักขึ้น แต่สิ่งที่คุณหมอทุกคนจะได้รับก็คือสิ่งที่คนไข้จะให้หมอได้คือคำอวยพรต่างๆเพื่อให้คุณหมอมีกำลังใจต่อสู้กับการเจ็บไข้ได้ป่วย ผมคนหนึ่งที่ให้กำลังใจคุณหมอทุกๆท่าน

ขอขอบคุณอาจารย์วรางค์ภรณ์...

  • ขออภัยครับ... หาช่วงว่างสั้นๆ มาพิมพ์

 

ขอขอบคุณ... คุณสมเกียรติ

  • ขอให้พวกเราได้รับความปรารถนาดีจากคุณสมเกียรติทุกท่านทุกคนเทอญ... ขอขอบพระคุณ

การที่พวกเราตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นคนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ... ทำได้แน่นอนครับ

  • เริ่มจากการศึกษาหาความรู้ต่อเนื่อง นำไปปฏิบัติ ไม่นานจะมีสุขภาพดีขึ้นได้ และจะทำให้เมืองไทยเราแข่งขันกับนานาชาติได้ด้วย

ดีไม่ดี...

  • เมืองไทยอาจจะเป็นศูนย์กลางด้านบริการสุขภาพของเอเชีย + ศูนย์กลางด้านการศึกษาสุขภาพได้เลยในคราวเดียวกัน
  • นั่นหมายถึงรายได้ของประเทศในระยะยาว

เรื่องนี้อาจารย์โรงพยาบาลเอกชนท่านบ่นเหมือนกันคือ

  • การขอวีซ่าเข้ามารักษาโรคในไทยทำยากกว่าสิงคโปร์ บริการสนามบินของเรายังไปไม่ไกล
  • และที่สำคัญ... รถหรือบริการขนส่งมวลชนระหว่างสนามบินกับเมืองต้องดีกว่านี้ด้วย

เห็นด้วยกับเรื่อง nurse specialist และ aide มากๆค่ะ

แวะมาเยี่ยมชมเรื่องราวดีๆ ค่ะคุณหมอ ^^

หลายท่านก็กำลังตื่นตัวในเรื่องของการดูแลสุขภาพ !

แต่ยังมีอีกเยอะเลยล่ะค่ะ..ที่การศึกษายังเข้าไปไม่ถึง การประชาสัมพันธ์ในเรื่องการดูแลสุขภาพยังไม่ดีพอ และชาวบ้านบางส่วนก็ไม่เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ค่ะ...

เห็นด้วยนะคะกับการพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขและพยาบาล "ข้ามชาติ"  ...ดิฉันเป็นพยาบาลวิชาชีพอยู่ที่ตึกเด็ก รพร.ธาตุพนม จ.นครพนม ค่ะ(สุดเขตชายแดนไทย) ...มีคนไข้ต่างชาติมารักษาที่นี่เยอะมากเลยค่ะ ที่เจอบ่อยก็คือคนไข้เด็ก ที่ถูกป้อนข้าวมาตั้งแต่แรกเกิด! แล้วก็หายใจหอบมา...และที่เจอบ่อยก็ ไข้เลือดออก แต่มาเมื่อเข้าสู่ระยะ Shock แล้ว..หรือไม่ก็ Load IV มาตั้งแต่ระยะไข้..เห็นแล้วก็รู้สึกหดหู่ บอกไม่ถูกค่ะ ;((  แต่ปัญหาหลักของเค้าก็คือทางด้านเศรษฐกิจ สุดท้ายก็เป็นภาระของทาง รพ. เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย!

และที่นี่ก็มีเด็ก CP (ต่างชาติ)ถูกแม่ทิ้งอยู่ 1คน .. ก็ต้องรับภาระเลี้ยงดูไปเรื่อยๆ (สงสาร..มนุษย์ด้วยกัน) แต่เป็นภาระของ รพ. !

ที่สำคัญ..ที่เป็นปัญหาของเรา ก็คือขาดแคลนแพทย์ค่ะ ..ไม่มีกุมารแพทย์เลย...

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • Nurse specialist & Nurse aides / พยาบาลเฉพาะทางและผู้ช่วยพยาบาลมีความสำคัญต่อระบบสุขภาพมากๆ ครับ
  • Nurse specialist ช่วยให้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ มากมายทำงานได้เต็มความสามารถในรูปทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

Nurse specialist ในรูปแบบพยาบาลเวชปฏิบัติมีส่วนช่วยให้ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลชุมชน ตลอดจนสถานีอนามัยพัฒนาไปไกลมากๆ และลดความแออัด คับคั่งของโรงพยาบาลได้อย่างมากมายเช่นกัน

  • ส่วนผู้ช่วยพยาบาลนั้น... เดิมขอมาช่วยในโรงพยาบาลกับเลี้ยงเด็ก
ทุกวันนี้... 
  • คงต้่องขอมาช่วยงานธุรการหอผู้ป่วยในด้วย ช่วยงานเลี้ยงเด็กด้วย ช่วยงานบริการทีมแพทย์เฉพาะทางด้วย ช่วยงานดูแลคนสูงอายุ และช่วยงานดูแลคนไข้เรื้อรัง
  • ความต้องการผู้ช่วยพยาบาลเพิ่มขึ้นทั่วโลกเลยครับ

ขอขอบคุณ... คุณ Oh-Ho มากๆ ครับ

  • ชื่อคุณนี่.. คงจะมาจากภาษาบาลี "อโห (ออกเสียงว่า "อะ-โฮ") ครับ
  • เป็นชื่อที่เท่มากๆ

น่าทึ่งมากๆ ครับ

  • เรื่องราวที่มาจากประสบการณ์ตรงของคุณทำให้ได้ข้อคิด และข้อมูลมากมาย
  • ทำให้รู้ว่า รพ.นครพนมใกล้ลาวนิดเดียว ไม่มีหมอเด็ก

และถ้ามีวิทยาลัยพยาบาล "ข้ามชาติ (transnational health & nurse college)" ได้...

  • ทั้งลาว-พม่า-กัมพูชา-มาเลเซ๊ย-ไทยจะได้ประโยชน์ ไ้ด้มิตรภาพด้วย
ถ้าเริ่มที่ลาวก่อน ต่อด้วยพม่าได้น่าจะดี
  • เพราะลาวเป็นพี่เป็นน้องของคนไทยโดยตรงเลย
  • นอกจากนั้นสารคดีที่ออกมาในปี 2551 พบว่า เมืองลาวขาดพยาบาลวิชาชีพแบบสุดๆ เลย
รองลงไปอาจจะเป็นพม่า...
  • เพราะชาวไทยใหญ่ (ฉาน / ชาน) เป็นพี่เป็นน้องของคนไทยโดยตรงเช่นกัน เช่นเดียวกับชาวมอญที่เป็นพี่เป็นน้องของคนไทยมาหลายร้อยปี (นับตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์)

นอกจากนั้นไทยเรามีแรงงานต่างชาติประมาณ 2 ล้านคน

  • ถ้ามีวิทยาลัยข้ามชาติ 2 ภาษา (ควรมีอังกฤษด้วย) คือ ภาษาเพื่อนบ้านกับอังกฤษ... 
  • ต่อไปคนไทยจะมีเครือข่ายมิตรภาพ (connection) และจะมีล่ามชั้นเยี่ยม ทำให้โรงพยาบาลไทยรองรับนักท่องเที่ยว หรือฮับด้านสุขภาพได้

ตัวอย่างเช่

  • พยาบาลน่าจะเรียนสัก 5 ปี ปีแรกเรียนภาษาอังกฤษ ให้นักศึกษาเพื่อนบ้านเรียนภาษาไทย ให้นักศึกษาไทยเรียนภาษาเพื่อนบ้าน วัยรุ่นเขารู้จักกันแล้วจะเรียนได้เร็วสุดๆ
ขอเชียร์ทีมงานนครพนมที่ทำเพื่อมิตรภาพลาว-ไทย และทำเพื่อความกรุณาครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ต้องขอโทษด้วยค่ะ คุณหมอ ที่ลืมแนะนำตัว..อิอิ

ที่จริงดิฉันชื่อ โอ๋ ค่ะ แต่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Oh แต่ดิฉันเอามาเขียนเป็นตา การ์ตูน ก็เลยออกมาเป็น (Oh_hO)  55555+

คุณหมอคะ..อันที่จริงดิฉันอยู่ รพร.ธาตุพนม ค่ะ ไม่ใช่ รพ.นครพนม เดิมทีก็มีหมอเด็กอยู่หรอกค่ะ แต่ท่านลาออกไปแล้วค่ะ...ส่วน รพ.ประจำจังหวัดก็มีหมอเด็กนะคะ...

Case ที่อาการหนักหน่อย คุณหมอที่นี่ก็ Refer ซะส่วนใหญ่ค่ะ...มี  รพ.นครพนม, รพ.มุกดาหาร , รพ.สกลนคร แต่ถ้าแถวๆนี้เครื่องช่วยหายใจไม่ว่าง ก็ไปถึง รพ.อำนาจเจริญ ไม่ก็ รพ.สรรพสิทธิประสงค์อุบลฯ ค่ะ

ส่วนเรื่องเรียนภาษาเพื่อนบ้าน..ถ้าเป็นคนอีสาน ก็อาจไม่ต้องเรียนค่ะ เพราะภาษาคล้ายๆกัน ฟังพอรู้เรื่อง ;-))

แต่ก็มีบ้าง บางครั้งที่งงๆ.. อย่างเช่น "น้ำเกลือ" คนฝั่งโน้น เรียกว่า "ชะโลม"  , "กระดาษชำระ" เค้าก็เรียกกันว่า "กระดาษเช็ดสบ" หรือแปลว่า "กระดาษเช็ดปาก"

ส่วนภาษาอังกฤษ..ตั้งแต่เรียนจบมา ก็แทบไม่ได้ใช้เลยค่ะ คุณหมอ..

นานๆ เจอคนต่างชาติที ต้องใช้เวลาคิดนานหน่อย ;-))

 

ขอขอบคุณ... คุณ Oh_Ho

  • ถ้าโรงพยาบาลธาตุพนมไม่มีหมอเด็กก็คงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ 

ลองเทียบกับลำปางดู...

  • โรงพยาบาลอำเภอ / รพช. ทั้งหมด มีหมอเด็กที่เดียว คือ ที่โรงพยาบาลเถิน ดูเหมือนจะมีหมอสูติฯ + หมออายุรกรรม + เภสัชกรนัก IT ปริญญาโทด้วย
  • เข้าใจว่า ที่โรงพยาบาลเถินคงจะมีอะไรดี จึงดึงดูดคนเก่งๆ ไว้ได้
ถ้าเมืองไทยเราช่วยประเทศเพื่อนบ้าน...
  • ช่วยเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาว + พม่า + กัมพูชา ให้มีโอกาสเรียนพยาบาล 2 ภาษา (กับเพื่อนบ้าน - ควรเน้นอังกฤษด้วย) น่าจะดี

ไม่จำเป็นต้องให้ฟรี

  • เพราะมีคนยินดีจะจ่ายค่าเล่าเรียนแพงๆ มากมาย (ดูที่ ABAC ก็ได้ มีนักศึกษาพม่าเข้ามาเรียนพยาบาลแพงๆ) 
  • สิ่งที่เพื่อนบ้านอยากได้ น่าจะเป็นโอกาสเข้ามาเรียน (opportunity) มากกว่า
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท